การวิเคราะห์บทความวิจัยด้านการเรียนการสอนเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองสำหรับผู้เรียนไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยเชิงเอกสารในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์บทความวิจัยด้านการเรียนการสอนเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองสำหรับผู้เรียนไทยในด้านระเบียบวิธีวิจัยและด้านเนื้อหา โดยเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างเจาะจงจากบทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI ในช่วงระยะเวลา 10 ปี (ระหว่างปี พ.ศ. 2555-2564) จำนวน 40 บทความ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา
ผลการวิจัย พบว่า 1) บทความวิจัยส่วนใหญ่เป็นการวิจัยประเภททดลอง (ร้อยละ 57.5) มีแบบแผนการทดลองในลักษณะ One-Group Pretest-Posttest Design (ร้อยละ 72.5) กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนมัธยมศึกษา (ร้อยละ 55.0) จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 31-50 คน (ร้อยละ 47.5) มีวิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (ร้อยละ 45.0) มีระยะเวลาที่ใช้ในการทดลองการเรียนการสอน 11-20 ชั่วโมง (ร้อยละ 42.5) ใช้แบบวัด/แบบประเมินในการเก็บรวบรวมข้อมูล (ร้อยละ 47.5) และสถิติสำหรับการทดสอบสมมติฐาน คือ dependent samples t-test (ร้อยละ 72.5) และ 2) บทความวิจัยประเภทการทดลองส่วนใหญ่มีตัวแปรอิสระ คือ การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (ร้อยละ 21.7) ส่วนบทความวิจัยประเภทการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ ส่วนใหญ่มีตัวแปรอิสระ คือ การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ (ร้อยละ 47.1) สำหรับตัวแปรตามส่วนใหญ่ คือ ความรู้/ผลสัมฤทธิ์ทางด้านพลเมือง (ร้อยละ 40.0)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
References
กมล สุดประเสริฐ และสังวรณ์ งัดกระโทก. (2562). หน่วยที่ 14 บูรณาการการวิจัย การวัด และประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน. เอกสารการสอนชุดวิชาสถิติ วิจัย และประเมินผลการศึกษา หน่วยที่ 9-15. (พิมพ์ครั้งที่ 13). นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
กมล สุดประเสริฐ และสุพักตร์ พิบูลย์. (2562). หน่วยที่ 15 การใช้ผลการวิจัยและประเมินเพื่อพัฒนาการศึกษา. เอกสารการสอนชุดวิชาสถิติ วิจัย และประเมินผลการศึกษา หน่วยที่ 9-15. (พิมพ์ครั้งที่ 13). นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
กีรติ นันทพงษ์. (2564). การสังเคราะห์งานวิจัยทางการสอนภาษาไทยเป็นภาษาที่สองสำหรับนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์. วารสารนานาชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(2), 144-172.
เชษฐภูมิ วรรณไพศาล. (2562). เครื่องมือการวิจัยทางสังคมศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). เชียงใหม่: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ทิพย์พาพร ตันติสุนทร. (2557). พลเมือง สิทธิมนุษยชน และประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: สถาบันนโยบายศึกษา ภายใต้มูลนิธิส่งเสริมนโยบายศึกษา.
ธัญธัช วิภัติภูมิประเทศ. (2556). ความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของนักศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
________. (2558). จริยธรรมการวิจัยทางสังคมศาสตร์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 34(6), 52-59.
________. (2560). แนวทางการจัดการเรียนการสอนวิชาการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองในระดับอุดมศึกษาไทย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 28(3), 13-23.
________. (2563). ประเด็นจริยธรรมในการวิจัยเชิงคุณภาพ. วารสารสหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี, 6(1), 1-11.
________. (2564). เจตคติต่อความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 9(3), 908-923.
________. (2565). การวิเคราะห์บทความวิจัยด้านสังคมวิทยาอินเทอร์เน็ตในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 10(1), 94-105.
ประสาท เนืองเฉลิม. (2564). วิจัยการเรียนการสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปราณี พิพัฒน์สถิตกุล. (2555). การสังเคราะห์งานวิจัยด้านนวัตกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน: การวิเคราะห์อภิมาน. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ปริญญา เทวานฤมิตรกุล. (2555). การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง (Civic Education). กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2554). สร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ด้วยการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มยุรา ฉลูทอง. (2563). การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมจิตสาธารณะโดยการวิเคราะห์อภิมาน. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ศิริพร ข่าขันมะลี และสาคร อัฒจักร. (2560). การสังเคราะห์งานวิจัยการจัดการเรียนการสอนวิชาเคมีที่ส่งผลต่อการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยการวิเคราะห์อภิมาน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 36(6), 1-13.
เสนีย์ คำสุข. (2564). หน่วยที่ 14 คุณธรรม จริยธรรม มารยาทและความรู้ด้านความเป็นพลเมือง. เอกสารการสอนชุดวิชาทักษะชีวิต หน่วยที่ 8-15. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เอนก เหล่าธรรมทัศน์. (2556). การเมืองของพลเมืองสู่สหัสวรรษใหม่. กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ/มูลนิธิเพื่อการศึกษาประชาธิปไตยและการพัฒนา.
เอนก เหล่าธรรมทัศน์ และวลัยพร รัตนเศรษฐ. (2557). รัฐประศาสนศาสตร์พลเมือง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Ahmed, J. U. (2010). Documentary Research Method: New Dimensions. Indus Journal of Management & Social Sciences, 4(1), 1-14.
Bramwell, D. (2020). Systematic Review of Empirical Studies on Citizenship Education in Latin America 2000 to 2017 and Research Agenda Proposal. Citizenship, Social and Economics Education, 19(2), 100-117.
Conway, J. M., Amel, E. L., & Gerwien, D. P. (2009). Teaching and Learning in the Social Context: A Meta-Analysis of Service Learning's Effects on Academic, Personal, Social, and Citizenship Outcomes. Teaching of Psychology, 36(4), 233-245.
Sel, B. (2021). A Meta-Synthesis Study for Researches on Citizenship Education within the Scope of Social Studies Course in Turkey. Journal of Theoretical Educational Science, 14(3), 323-351.