การพัฒนายุทธศาสตร์เพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนอนุบาล องค์การบริหารส่วนตำบลป่าหุ่ง จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

Kanyaluck Sopa
Prawet Wetcha

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนายุทธศาสตร์การบริหารและการจัดการเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนอนุบาลองค์การบริหารส่วนตำบลป่าหุ่ง จังหวัดเชียงราย โดยมี คำถามการวิจัย คือ การศึกษาสภาพการจัดการศึกษาและเหตุปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อคุณภาพการบริหารและการจัดการของโรงเรียนอนุบาลองค์การบริหารส่วนตำบลป่าหุ่ง จังหวัดเชียงราย โดย ใช้วิธีการวิจัยเชิงผสมผสานแบบ Explanatory Sequential Research Design โดยมีเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ โดยใช้ค่าสถิติร้อยละ และค่าเฉลี่ย ในการวิเคราะห์เนื้อหาสำคัญ และการศึกษาพัฒนายุทธศาสตร์การบริหารและการจัดการเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนอนุบาลองค์การบริหารส่วนตำบลป่าหุ่ง จังหวัดเชียงราย ใช้วิธีการสนทนากลุ่มและประชุมเชิงปฏิบัติการการระดมสมอง กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงเป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้บริหารท้องถิ่น ผู้บริหารสถานศึกษา ครู ผู้นำชุมชน คณะกรรมการสถานศึกษาและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 34 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสนทนากลุ่มและการประชุมเชิงปฏิบัติการการระดมสมองเพื่อสรุปประเด็นสำคัญและสรุปผลจากการสนทนากลุ่ม การระดมสมอง แล้วนำมาสังเคราะห์และสรุปเป็นความเรียง                                                                                                                            ผลการวิจัย พบว่า                                                                                                                                                                                1. สภาพการจัดการศึกษาและเหตุปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อคุณภาพการบริหารและการจัดการศึกษาของโรงเรียนอนุบาลองค์การบริหารส่วนตำบลป่าหุ่ง จังหวัดเชียงราย พบว่า ด้านการบริหารสถานศึกษาปฐมวัย อยู่ในระดับดีมาก ด้านครู/ผู้ดูแลเด็กให้การดูแลและจัดประสบการณ์การเรียนรู้และการเล่นเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย อยู่ในระดับดี และด้านคุณภาพของเด็ก อยู่ในระดับดีมากและปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนอนุบาลองค์การบริหารส่วนตำบลป่าหุ่ง จังหวัดเชียงราย ประกอบด้วย การบริหารงานที่ชัดเจนและเป็นระบบ มีครูเพียงพอและครบชั้นตามเกณฑ์ เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ใช้สื่อเทคโนโลยีในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่หลากหลาย มีงบประมาณพอเพียง มีวัสดุอุปกรณ์ มีแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายและชุมชนมีส่วนร่วม                                                                   2. การศึกษาพัฒนายุทธศาสตร์การบริหารและการจัดการเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนอนุบาลองค์การบริหารส่วนตำบลป่าหุ่ง จังหวัดเชียงราย พบว่า สภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารและการจัดการของโรงเรียน ประกอบด้วย การบริหารจัดการที่มีคุณภาพ ครูมีความเชี่ยวชาญในวิชาชีพ เด็กมีคุณภาพตามมาตรฐานสถานศึกษาปฐมวัยแห่งชาติและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องพึงพอใจต่อการจัดการศึกษา ส่วนยุทธศาสตร์การบริหารและการจัดการเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนอนุบาลองค์การบริหารส่วนตำบลป่าหุ่ง จังหวัดเชียงราย ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ 4 ด้าน คือ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การยกระดับคุณภาพการบริหารและจัดการสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัย และยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาด้านความพึงพอใจต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

กระทรวงมหาดไทย, กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2562). คู่มือการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ระดับการศึกษาปฐมวัย และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย. กรุงเทพฯ: กระทรวงมหาดไทย, กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น.

กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). มาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

เกศรา บัวขาว. (2561). การบริหารและการจัดการเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามมาตรฐานการศึกษาของศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ ค.ม. เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

บัญชา แสนทวี. (2560). การประกันคุณภาพการศึกษาปฐมวัย ใน การจัดการศึกษาและหลักสูตรสำหรับเด็กปฐมวัย : เอกสารการสอนชุดวิชา 21223 = Education management and curriculum for early childhood, หน้า 6-4 – 6-66. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

บุญชัย บุญโสภณ และสุวัฒน์ เงินฉ่ำ. (2559). ยุทธศาสตร์การจัดการสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 6(3), 111-118.

พชรภรณ์ สิงห์สุรี. (2558). การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดระยอง จันทบุรี ตราด. วิทยานิพนธ์ ค.ม. จันทบุรี. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

พระมหากิตติศักดิ์ สิริวฑฺฒโก (หนูสุรา). (2561). การพัฒนากระบวนการการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ พธ.ด. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พัชรี ผลโยธิน. (2555). แนวคิดในการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย. ใน ประมวลสาระชุดวิชาการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย หน่วยที่ 1, หน้า 1-1 - 1-62. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พัชสิรี ชมพูคำ. (2552). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: แมคกรอ-ฮิล.

เพ็ญผกา กาญจโนภาส. (2560). การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วิทยานิพนธ์ ค.ม. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.

ไพศาล หวังพานิช. (2552). การวัดผลการศึกษา. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

ภิญโญ จูสี. (2558). การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วิทยานิพนธ์ ค.ม. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

โรงเรียนอนุบาลองค์การบริหารส่วนตำบลป่าหุ่ง. (2561). สรุปผลการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนอนุบาลองค์การบริหารส่วนตำบลป่าหุ่ง ประจำปีการศึกษา 2561. เชียงราย: โรงเรียนอนุบาลองค์การบริหารส่วนตำบลป่าหุ่ง.

วศิน โกมุท. (2557). การจัดการศึกษาท้องถิ่น. เข้าถึงได้จาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=การจัดการศึกษาท้องถิ่น. 8 มีนาคม 2563.

วัชรินทร์ จำปาทิพย์. (2557). ยุทธศาสตร์สู่ความสำเร็จในการจัดการศึกษาตามแนวปฏิรูปการศึกษาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 9(2), 163-169.

วัฒนา วงศ์เกียรติรัตน์ และคณะ. (2554). หลักการและแนวทางปฏิบัติในการวางแผนยุทธศาสตร์ของหน่วยงานภาครัฐในระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วันชัย มีชาติ. (2557). การบริหารองค์การ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมเดช สาวันดี. (2553). การนำเสนอรูปแบบการบริหารการศึกษาปฐมวัยในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต้นแบบ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 5. วิทยานิพนธ์ ค.ม. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี.

_______. (2552). แนวทางการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพร้อมรับการประเมินภายนอก. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.

สำนักประสานและพัฒนาการจัดการศึกษาท้องถิ่น. (2560). เครื่องมือประเมินมาตรฐานการบริหารงาน ด้านการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น.

สุพานี สฤษฎ์วานิช. (2553). การบริหารเชิงกลยุทธ์ : แนวคิดและทฤษฎี. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2548). ภาวะผู้นำ : ทฤษฎีและปฏิบัติ ศาสตร์และศิลป์สู่ความเป็นผู้นำที่สมบูรณ์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

เสาวภาคย์ ปฐมพฤกษ์วงษ์. (2558). ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนต่อการบริหารงานของโรงเรียนในอำเภอเขาสมิง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปฐมศึกษาตราด. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

อำไพ นงค์เยาว์. (2560). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนานักเรียนให้มีทักษะการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

Foster, C.V. (1998). Psychology for Life Adjustment. American Technical Society. Chicago.

Hodgetts, R. M. (1990). Management: Theory process and practice. (5th ed.). New York: Harcourt Brace Javanovich.

Schermerhorn. J. R. (1999). Management. (5th ed.). USA: John Wiley and Sons.