การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมสมรรถนะในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ สำหรับนักศึกษาปฐมวัย วิทยาลัยพิชญบัณฑิต

Main Article Content

ละดา ดอนหงษา

Abstract

บทคัดย่อ


            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ 2)  ศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ ดังนี้ 2.1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านสมรรถนะการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ปฐมวัยหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 75  2.2) ศึกษาสมรรถนะในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ปฐมวัย หลังเรียน


2.3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาปฐมวัยที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้  ดำเนินการวิจัยและพัฒนา (R and D) เป็น 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การวิจัย (Research : R1) โดยการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน (Analysis : A) ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา (Development : D1) เป็นการออกแบบและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน (Design and Development) : D and D) ตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้โดยผู้เชี่ยวชาญขั้นตอนที่ 3 การวิจัย (Research : R2)  เป็นการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอน (Implementation : I) กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาสาขาปฐมวัยชั้นปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 30 คน  ขั้นตอนที่ 4 การพัฒนา (Development : D2) เป็นการศึกษาผลการประเมินและปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอน (Evaluation : E) เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์สภาพปัญหาและความต้องการพัฒนารูปแบบ รูปแบบการเรียนการสอน แบบประเมินรูปแบบ แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินสมรรถนะการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ปฐมวัย แบบสอบถามความพึงพอใจ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยหา ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ ชื่อว่า “2P-CRA Model”  ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ คือ1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการเรียนการสอน 5 ขั้น ได้แก่ ขั้นวางแผนการเรียนรู้ (Plan : P) ขั้นเรียนรู้และฝึกปฏิบัติ (Practice : P) ขั้นสร้างความรู้ (Construction : C ) ขั้นสะท้อนผล (Reflect : R) และ ขั้นนำความรู้ไปใช้ (Applying : A) 4) เนื้อหาของรูปแบบ 5) การวัดและประเมินผลรูปแบบ 6) เงื่อนไขการนำรูปแบบการเรียนการสอนไปใช้ รูปแบบและแผนการสอนตามรูปแบบมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอน พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักศึกษาสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สมรรถนะการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ปฐมวัยหลังเรียนอยู่ในระดับมาก และ ความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอนอยู่ในระดับมาก


 


คำสำคัญ : รูปแบบการเรียนการสอน,  สมรรถนะการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ปฐมวัย, ความพึงพอใจ


Abstract


            The objective of this research were to 1) develop the instructional model  based on constructivist theory 2) study the results of using the instructional model based on constructivist theory which includes  2.1) compare the post-test with 75% criteria competency achievement of early childhood learning management an experience 2.2) study competency  early childhood learning management an experience after using with the instructional model  based on constructivist theory 3) study the early students’ satisfaction toward instructional model  based on constructivist theory. The research design was research and development (R and D) was conducted in 4 steps as follows : Step 1) Research (R1) study and analysis of basic data (Analysis : A); Step 2) Development (D1) design and develop the instructional model  to examine the model’s suitability by concerned experts ;  Step 3) Research (R2) was using the model (Implementation: l) was implement with sample was 30 third year early students in the 2nd semester of academic year 2017;  Step 4) Development (D2) study of evaluation results and development instructional model (Evaluation : E). The research instruments were consisted; the interview form to problem and need of develop the instructional model, the instructional model, the evaluation form of instructional model, the competency achievement of early childhood learning management an experience test, the competency evaluation form, the satisfaction questionnaire form.  The data were analyzed by percentage, mean, standard deviation and t-test. The results of research found that:


the instructional model based on constructivist theory was name “2P-CRA Model” which consisted of 6 components: 1) principles 2) objectives 3) instructional process were comprised of 5 steps namely; Planning : P Practice : P Construction : C Reflect : R and Applying : A 4) content 5) evaluation 6) conditions for implementation,


the suitability of instructional model and lesson plan were at the highest level, the results of using the instructional model found that : the competency achievement of early childhood learning management an experience after learning were significantly higher than 75% at the .05 level; the competency of early childhood learning management an experience after learning was the high level and the early students’ satisfaction toward instructional model  was the high level.


Keywords:  instructional model, competency early childhood learning management an experience,


                 the satisfaction.               

Article Details

Section
บทความวิจัย