การกำหนดความรับผิดและโทษทางอาญา : ศึกษากรณีความผิดต่อชีวิตร่างกายของเด็ก
Main Article Content
Abstract
ในปัจจุบันมีการกระทำความผิดเกี่ยวกับชีวิตร่างกายต่อเด็กให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง ผู้เขียนจึงได้ศึกษาถึงการกระทำความผิดต่อเด็กตามประมวลกฎหมายอาญาของไทย ลักษณะ 10 หมวดชีวิตร่างกาย เมื่อศึกษาจากบทบัญญัติและอัตราโทษ พบว่า ไม่ได้มีการกำหนดความรับผิดกับบุคคลที่กระทำความผิดต่อเด็กไว้เป็นบทฉกรรจ์แต่อย่างใด อันทำให้ผู้กระทำความผิดไม่เกรงกลัวต่อบทลงโทษและมีโอกาสในการลงมือกระทำความผิดได้โดยไม่มีการยับยั้งชั่งใจก่อนลงมือกระทำความผิด นอกจากนั้นเมื่อบทลงโทษไม่มีความรุนแรงมากพอ ทำให้ผู้กระทำความผิดอาจไม่สำนึกในการกระทำของตน และอาจนำไปสู่การกระทำความผิดซ้ำซ้อนต่อไป
ด้วยเหตุนี้ ผู้เขียนจึงมีแนวความคิดเพื่อเพิ่มบทลงโทษและอัตราโทษสำหรับบุคคลที่กระทำความผิดเกี่ยวกับชีวิตร่างกายต่อเด็ก อันพิจารณาจากเหตุผลในด้านต่าง ๆ และพิจารณาฐานะระหว่างผู้กระทำความผิดกับผู้ถูกกระทำความผิด โดยเปรียบเทียบกับบทกฎหมายต่างประเทศ เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายต่อตัวเด็กและเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายในการป้องกันการกระทำความผิดต่อเด็กเพื่อให้ทัดเทียมนานาอารยประเทศ
Article Details
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
References
จิตติ ติงศภัทิย์, กฎหมายอาญาภาค 1,พิมพ์ครั้งที่ 9,(กรุงเทพมหานคร:สำนักอบรมกฎหมายเนติบัณฑิตยสภา,2536)
ณรงค์ ใจหาญ,กฎหมายอาญาว่าด้วยโทษและวิธีความปลอดภัย,(กรุงเทพฯ:วิญญูชน,2543)
ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ,คำอธิบายกฎหมายอาญาภาคความผิดและลหุโทษ,พิมพ์ครั้งที่ 6,(กรุงเทพฯ:วิญญูชน,2561)
ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ,ประมวลกฎหมายอาญา ฉบับอ้างอิง ,พิมพ์ครั้งที่ 31,(กรุงเทพ : วิญญูชน),2556
นพพร โพธิรังสิยากร,การใช้ดุลพินิจของศาลไทยในการลงโทษ,วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,(2524)
ประธาน วัฒนวาณิชย์, ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอาชญาวิทยา,(กรุงเทพ: ประกายพรึก,2546)
พจนานุกรมไทย ฉบับสมบูรณ์,2552
พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พุทธศักราช 2546
แสวง บุญเฉลิมวิภาส,ปัญหาเจตนาในกฎหมายอาญา,(วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,2524)
อิงอร จินตนาเลิศ,กลไกระหว่างประเทศเพื่อการปฏิบัติตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิเด็ก ค.ศ.1989,(วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,2541)
Kenneth Culp Davis Discretion Justice,(1969)
Revised Code of Washington.(1992).Section 9A.36.130,[Online], https://app.leg.wa.gov/ RCW/default aspx?cite=9A.36.130,2019(April,3).
Rollin M. และ Ronald Boyce,Criminal law, Third Edition, (New York,The Foundation Press,1982)
Texas Penal Code. Section 22.04 (c)(1),Page105-106,[Online], available URL: http://www. statutes.legis. state.tx.us/Docs/SDocs/PENALCODE.pdf,2019(April,3).
The German Penal Code of 1993.Section 225(1),Page 97,[Online], available URL: http:// www.legislationline.org/download/action/download/id/6115/file/Germany_CC_am2013_en. pdf,2019(April,3).
University of Cambridge(2005),Criminal Code of the French Republic Article 222-3,page 32- 33.[Online],availableURL:http://www.legislationline.org/documents/section/criminal-codes/ country/30,2019(April,3).