ปัจจัยที่ส่งผลต่อความยั่งยืนทางการเกษตรของเกษตรกรชาวไร่อ้อย
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความยั่งยืนทางการเกษตรของเกษตรกรชาวไร่อ้อย โดยการวิเคราะห์แบบจำลองสมการเชิงโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM) และเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างครัวเรือนเกษตรกรชาวไร่อ้อยขนาดเล็กมีพื้นที่ปลูกอ้อยไม่เกิน 60 ไร่ต่อครัวเรือน ของจังหวัดอุดรธานี จำนวน 422 ครัวเรือน
ผลการศึกษา พบว่า โมเดลเชิงสาเหตุปัจจัยที่ส่งผลต่อความยั่งยืนทางการเกษตรของเกษตรกรชาวไร่อ้อยมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่าสถิติ/ค่าดัชนีความสอดคล้อง (Goodness of fit) ได้แก่ c2 = 64.108, c2/df = 1.282,
df = 50, p = .087, RMSEA = .026, RMR = .023, GFI = .980, CFI = .992, NFI = .968 และ TLI = .984 ส่วนการวิเคราะห์อิทธิพล พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความยั่งยืนทางการเกษตรของเกษตรกรชาวไร่อ้อยเรียงจากมากไปน้อย คือ การสนับสนุนและส่งเสริมการเกษตรจากภาครัฐและภาคเอกชน การบริหารการเงิน การบริหารจัดการในไร่อ้อย และตัวเกษตรกร ค่าอิทธิพลรวม (total effect) เท่ากับ .737, .385, .363 และ .316 ตามลำดับ แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของภาครัฐและภาคเอกชนที่มีส่วนผลักดันให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยเกิดความยั่งยืนทางการเกษตร ได้แก่ การสนับสนุนจากภาครัฐในการประกันราคาโดยการกำหนดราคาอ้อยขั้นต้นและราคาอ้อยขั้นสุดท้าย การสนับสนุนปัจจัยการผลิต ตลอดจนการส่งเสริมการเกษตรในการจัดอบรมให้ความรู้ด้านการผลิตแก่เกษตรกร รวมถึงการสนับสนุนและส่งเสริมการเกษตรของภาคเอกชน โดยเฉพาะเงินทุนในการทำไร่อ้อยและเทคโนโลยีการผลิตสมัยใหม่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
Article Details
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2556). การวิเคราะห์สมการโครงสร้าง (SEM) ด้วย AMOS. กรุงเทพฯ: สามลดา.
ทัตสัณฑ์ชัย ตรีสัตย์ และจำนง จุลเอียด. (2556). สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจ และปัญหาการปลูกอ้อยของเกษตรกร ในอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. Princess of Naradhiwas University Journal, ฉบับพิเศษ, 28-37.
ธัญชนก ขันศิลา, วิรงรอง มงคลธรรม และเพ็ญประภา เพชระบูรณิน. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกปลูกอ้อยของเกษตรกรในอำเภอ นํ้าพอง จังหวัดขอนแก่น. เข้าถึงได้จาก http://gsbooks.gs.kku.ac.th/57/grc15/files/pmp6.pdf. 9 พฤษภาคม 2559.
ธันวา จิตต์สงวน. (2543). การพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืน: บทวิเคราะห์จากปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคม. ใน รายงานการสัมมนาระบบเกษตรแห่งชาติ ครั้งที่ 1. 15-17 พฤศจิกายน 2543. เข้าถึงได้จาก http://www.mcc.cmu.ac.th/Seminar/pdf/657.pdf. 7 มิถุนายน 2559.
นิภาพร ศรีวงษ์ และอุไรวรรณ อินทร์ม่วง. (2556). ผลกระทบต่อสุขภาพจากการทำไร่อ้อยของเกษตรกรชาวไร่อ้อย ตำบลหนองกุง อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์, 6(2), 14-21.
ประสิทธิ์ ใจศิล. (2557). เอกสารประกอบการฝึกอบรม “โครงการจัดทำต้นทุนผลผลิตและถ่ายทองความรู้เพื่อลดต้นทุนการผลิตอ้อยของเกษตรกร ในปีเพาะปลูก 2557/58”. เข้าถึงได้จาก http://www.sugarzone.in.th/cane/cost_cane5758.pdf. 22 มีนาคม 2559.
มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (2558). รายงานฉบับสมบูรณ์ “โครงการจัดทำต้นทุนผลผลิตและถ่ายทอดความรู้เพื่อลดต้นทุนการผลิตอ้อยของเกษตรกร ในปีเพาะปลูก 2557/58”. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
รัชนีกร กระจงกลาง และกาญจนา นาถะพินธุ. (2555). สถานการณ์คุณภาพอากาศในพื้นที่อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัย มข., 12(1), 80-91.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2550). สถิติประยุกต์สำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สร้อยฟ้า เสริฐแก้ว. (2546). การประเมินความยั่งยืนทางเศรษฐกิจของระบบวนเกษตร: กรณีศึกษาเครือข่ายอินแปง จังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ วท.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สำนักงานเกษตรจังหวัดอุดรธานี. (2558). สถิติการเพาะปลูกพืช จังหวัดอุดรธานี. เข้าถึงได้จาก http://www.udonthani.doae.go.th/index2.html. 25 มีนาคม 2559.
สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย. (2557). รายงานพื้นที่ปลูกอ้อยปีการผลิต 2556/2557. เข้าถึงได้จาก http://www.ocsb.go.th/upload/journal/fileupload/923-9193.pdf. 7 กันยายน 2559.
สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย. (2558). FAQ พระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 มีเนื้อหาโดยสรุปอย่างไร. เข้าถึงได้จาก http://www.ocsb.go.th/th/faq/index.php?gpid=10. 11 พฤษภาคม 2558.
สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย. (2561). รายงานการผลิตอ้อยของประเทศไทย ประจำปีการผลิต 2560/2561. เข้าถึงได้จาก http://www.ocsb.go.th/upload/journal/fileupload/923-3254.pdf. 15 กุมภาพันธ์ 2562.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2554). แผนพัฒนาการเกษตรในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555 - 2559). เข้าถึงได้จาก http://www.oae.go.th/download/document_plan/planAgi11_Sep55.pdf. 10 มีนาคม 2559
สุนทรียา การดี. (2557). ความชุกและการพัฒนาแนวทางการปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยโรคหนังเน่าในโรงพยาบาลหนองบัวลำภู. วารสารสาธารณสุขล้านนา, 10(1), 83-99.
สุพจน์ บุญแรง. (2552). คุณภาพและความปลอดภัยทางอาหารของผักอินทรีย์สดพร้อมบริโภค. เชียงใหม่: โรงพิมพ์แสงศิลป์.
สุภมาศ อังศุโชติ, สมถวิล วิจิตรวรรณา และรัชนีกูล ภิญโญภานุวัฒน์. (2554). (พิมพ์ครั้งที่ 3). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์: เทคนิคการใช้โปรแกรม LISREL. กรุงเทพฯ: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.
สุวิมล ติรกานันท์. (2555). การวิเคราะห์ตัวแปรพหุในงานวิจัยทางสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวิมล ติรกานันท์. (2557). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Benidir, M., Ghozlane, F., Bousbia, A. & Belkheir, B. 2013. The use of a critical analysis of a multicriterion method (IDEA) for assessing the sustainability of sedentary sheep rearing systems in the Algerian steppe areas. African Journal of Agricultural Research, 8(9), 804–811.
Grenz, J., Thalmann, C., Stämpfli, A., Studer, C. & Häni, F. (2009). RISE-a method for assessing the sustainability of agricultural production at farm level. Rural Development News, 1, 5–9.
Hair, J.F., Black, W.C., Babin, B.J., & Anderson, R.E. (2014). Multivariate Data Analysis. Seventh edition. USA: Pearson Education.
Meul, M., van Passel, S., Nevens, F., Dessein, J., Rogge, E., Mulier, A. & van Hauwermeiren, A. (2008). MOTIFS: A monitoring tool for integrated farm sustainability. Agronomy for Sustainable Development, 28, 321-332.
Parent, D., Bélanger, V., Vanasse, A., Allard, G. & Pellerin, D. (2010). Method for evaluation of farm sustainability in Quebec, Canada. In The social aspect. European IFSA Symposium. 4-7 July 2010. Vienna: Austria. Retrieved from http://ifsa.boku.ac.at/cms/fileadmin/Proceeding2010/2010_WS2.1_Parent.pdf. May 3, 2016.
Praneetvatakul, S., Janekarnkij, P., Potchanasin, C. & Prayoonwong, K. (2001). Assessing the sustainability of agriculture a case of Mae Chaem catchment, northern Thailand. Environment International, 27, 103–109.
Statistics calculators. (2015). Retrieved from http:// www.danielsoper.com/statcalc3/calc.aspx?id=89 November 28, 2015.
Talisa, N., Rungsarid, K. & Chakrit, P. (2014). Evaluating the sustainability of agricultural by indicator that appropriate to the area of Ban Phaeo District, Samut Sakorn Province, Thailand. International Journal of Biological, Food, Veterinary and Agricultural Engineering, 8(7), 711-714.
Tatsanee Muangkaew. (2006). Sustainable livelihood: an analysis of rice-based farming system in Southern Thailand. Thailand:. Asian Institute of Technology.
Waney, N.F.L., Soemarno, Yuliaty, Y. & Polii, B. 2014. Developing indicators of sustainable agriculture at farm level. Journal of Agriculture and Veterinary Science, 7(2), 42–53.