การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพและปัญหา เปรียบเทียบการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารโรงเรียนและศึกษาแนวทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน 132 คน ครู 333 คน และบุคลากร 80 คน รวมทั้งสิ้น 545 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า
- สภาพและปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารโรงเรียนประถมศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
- การเปรียบเทียบการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 จำแนกตามสถานภาพ พบว่า โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า
ด้านการบริหารงานบุคคลมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำแนกตามประสบการณ์การทำงาน โดยภาพรวมพบว่า ไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการบริหารงานบุคคลมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อจำแนกตามขนาดโรงเรียน พบว่า โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน - แนวทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 ดังนี้
1. ด้านการบริหารงานวิชาการ โรงเรียนควรจัดหาสื่ออุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศให้เพียงพอต่อการใช้งานสำหรับครูและนักเรียนเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
2. ด้านการบริหารงานงบประมาณ โรงเรียนควรจัดหางบประมาณในการจัดซื้ออุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและโปรแกรมประยุกต์ใช้งานที่สะดวก ทันสมัย และมีความเหมาะสมกับโรงเรียน
3. ด้านการบริหารงานบุคคล โรงเรียนควรจัดอบรมพัฒนาบุคลากรด้านการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างต่อเนื่อง
4. ด้านการบริหารงานทั่วไป โรงเรียนควรวางแผนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานจัดหาสื่ออุปกรณ์ที่ทันสมัยและติดตั้งระบบอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงพร้อมทั้งจัดหาอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศให้เพียงพอ
Article Details
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
ชินกรณ์ แก้วรักษา. (2554). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัด
สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์,
ชุติกาญจน์ นกเด่น. (2554), การศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการบริหารสําหรับโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษาขอนแก่น เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2554). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร:เฮ้าส์ ออฟ เคอร์มิสท์.
พรทิพย์ สลุงอยู่. (2554). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการบริหารสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
รัชฎาพร มีอาษา. (2555). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา อําเภอเมืองสระแก้ว สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุทธา ชาติประสพ. (2557). สภาพการใช้เทคโนโลยีเพื่อการบริหารงานทั่วไปในโรงเรียน สังกัด สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. คู่มือการประเมินผลภายในของสถานศึกษาตามมาตรฐานศึกษาแห่งชาติ : การออกแบบวิธีการเก็บข้อมูล (ฉบับทดลองใช้) เล่ม 3 และเล่ม 4, หน้า 37.
อนุชา สีหาวัฒน์. (2553). การศึกษาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารสถานศึกษาของ สถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิ เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.