การพัฒนาแนวทางการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดร้อยเอ็ด

Main Article Content

เตือนจิต มูลอินทร์
จิระพร ชะโน

Abstract

ความมุ่งหมายของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดของการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม 3) เพื่อพัฒนาแนวทางการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดร้อยเอ็ด การวิจัยแบ่งเป็น 3ระยะ ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดของการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน และเครื่องมือ คือ แบบประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบและตัวชี้วัด ระยะที่ 2 การศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครู โรงเรียนเรียนรวมสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดร้อยเอ็ด ปีการศึกษา 2560 จำนวน 377 คน และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม และระยะที่ 3 การพัฒนาแนวทางการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิในการสนทนากลุ่ม (Focus Group) จำนวน 7 คน และผู้ทรงคุณวุฒิประเมินแนวทาง จำนวน 7 คน โดยเลือกแบบเจาะจง และเครื่องมือ ได้แก่ 1) แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และ 2) แบบประเมินแนวทาง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีความต้องการจำเป็น (PNImodified).


            ผลการวิจัย พบว่า


1. องค์ประกอบและตัวชี้วัดของการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม พบว่า ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ 20 ตัวชี้วัด ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 การเตรียมการ มี 6 ตัวชี้วัด องค์ประกอบที่ 2 การสำรวจและการคัดแยกเด็ก มี 6 ตัวชี้วัด องค์ประกอบที่ 3 การจัดทำแผนการจัดการศึกษารายบุคคล (IEP) และแผนการสอนเฉพาะบุคคล (IIP) มี 2 ตัวชี้วัด องค์ประกอบที่ 4 การดำเนินการจัดการเรียนการสอน มี 2 ตัวชี้วัด และองค์ประกอบที่ 5 การประเมินผลการดำเนินการ มี 4 ตัวชี้วัด


2. สภาพปัจจุบันของการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด


3. แนวทางการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ 49 แนวทาง 51 กิจกรรม ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 การเตรียมการ มี 17 แนวทาง 17 กิจกรรม องค์ประกอบที่ 2 การสำรวจและการคัดแยกเด็ก มี 16 แนวทาง 16 กิจกรรม องค์ประกอบที่ 3 การจัดทำแผนการจัดการศึกษารายบุคคล (IEP) และแผนการสอนเฉพาะบุคคล (IIP) มี 4 แนวทาง 6 กิจกรรม องค์ประกอบที่ 4 การดำเนินการจัดการเรียนการสอน มี 5 แนวทาง 5 กิจกรรม และองค์ประกอบที่ 5 การประเมินผลการดำเนินการ มี 7 แนวทาง 7 กิจกรรม ผลการประเมินแนวทางการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม พบว่า โดยรวมมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด และมีความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2543). คู่มือการคัดแยกและส่งต่อคนพิการเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักนิเทศและพัฒนามาตรฐาน
การศึกษา.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กฤติญา บุญสินชัย. (2557). สภาพการบริหารโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมภายใต้โครงสร้างซีท สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษากระบี่. วิทยานิพนธ์ ค.ม. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
จาตุรงค์ เจริญนำ. (2558). การศึกษาสภาพการบริหารจัดการเรียนร่วมโดยใช้โครงสร้างซีท (SEAT) และแนวทางการพัฒนาการ
ดำเนินงานของโรงเรียนจัดการเรียนร่วมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9.
วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ณัชพร ศุภสมุทร์ และคณะ. (2557). การพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอน โดยใช้โครงสร้างซีท สำหรับเด็กที่มี ความ ต้องการพิเศษ ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. รายงานวิจัย. กรุงเทพฯ: สถาบันราชานุกูล
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.
พระราชบัญญัติการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2551. (2551, 5 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 125 ตอนที่ 28 ก.
หน้า 3 – 9.
เบญจา ชลธารนนท์. (2546). คู่มือการบริหารจัดการเรียนร่วมโดยใช้โครงสร้างซีท. กรุงเทพฯ: เพทายการพิมพ์.
ศุภณัฐ ทองฉายา. (2557). การบริหารจัดการเรียนร่วมตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูในโรงเรียนแกนนำ สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี. วิทยานิพนธ์ ค.ม. ลพบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต. (2557). คู่มือแนวทางการจัดการเรียนการสอน โดยใช้โครงสร้างซีท สำหรับเด็กที่มีความต้องการ
พิเศษเรียนร่วม ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ:
สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต.
สุรินทร์ ยอดคำแปง. (2542). สังคมศึกษาสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา. นครราชสีมา: โปรแกรมวิชาการศึกษา
พิเศษ คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏนครราชสีมา.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. กรุงเทพฯ: ภาควิชาวิจัยการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1. (2560). รายงานการนิเทศติดตามและประเมินผล การจัดการศึกษา
แบบเรียนรวม ปีการศึกษา 2559. ร้อยเอ็ด: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. (2560). รายงานการนิเทศติดตามและประเมินผล การจัดการศึกษา
แบบเรียนรวม ปีการศึกษา 2559. ร้อยเอ็ด: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3. (2560). รายงานการนิเทศติดตามและประเมินผล การจัดการศึกษา
แบบเรียนรวม ปีการศึกษา 2559. ร้อยเอ็ด: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27. (2560). รายงานการนิเทศติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาแบบเรียน
รวม ปีการศึกษา 2559. ร้อยเอ็ด: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27.
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2543). การประกันคุณภาพการศึกษาพิเศษโรงเรียนเรียนร่วม เล่ม 2. กรุงเทพฯ:
สำนักนิเทศและพัฒนามาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2548). การสังเคราะห์งานด้านการจัดการเรียนร่วมสู่ภาคปฏิบัติเพื่อนำนโยบายการจัด
การศึกษาอย่างมีคุณภาพสาหรับเด็กและเยาวชนพิการ. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2557). รายงานผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรวมในโรงเรียนต้นแบบการเรียนรวม
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สำนักการบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2545). การประกันคุณภาพการศึกษาพิเศษโรงเรียนเรียนร่วม เล่ม 2. กรุงเทพฯ:
สำนักนิเทศและพัฒนามาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ.
Chris F. et al. (2013). Inclusive Education for Students with Disability A Review of the Best Evidence in Relation
to Theory and Practice. The Australian Research Alliance for Children and Youth (ARACY) Australian.
Kaufman, M. J., Gottlieb, J., Agard, J. A., and Kukic, M. B. (1975). Mainstreaming : Toward and Application of the
Construct’ Focus on Exceptional Children. Bostob: The Council for Exceptional Children.
Lewis, R. B. and Doorlag, D. H. (1995). Teaching Special Student in the Mainstream. 4thed. Engle Wood Cleffs,
New Jersy: Merrill.
Tjokrowardogo, E. E. (1989). A Model for Community Participation in Local School District Decision Making.
Dissertation Abstract International, 42(4), 1481.
Wang, M. C., Reynolds, M. C. and Walberg, H. J. (1990). Special Education: Research and Practice: Synthesis and
Findings. Oxford: Pergamon Press.