ยุทธศาสตร์การพัฒนาพฤติกรรมในการปฏิบัติงานตามหลัก ธรรมาภิบาลของบุคลากร สังกัดสำนักงานเทศบาลตำบลดงมะไฟ ตำบลขมิ้น อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาพฤติกรรมในการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลของบุคลากร 2) สร้างยุทธศาสตร์การพัฒนาพฤติกรรมในการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลของบุคลากร 3) ศึกษาผลการพัฒนาพฤติกรรมในการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลของบุคลากร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ดำเนินการ 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การสำรวจสภาพปัญหา ขั้นตอนที่ 2 การสร้างยุทธศาสตร์ ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้ยุทธศาสตร์ และขั้นตอนที่ 4 การปรับปรุงและเผยแพร่ยุทธศาสตร์ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 69 คน ประกอบด้วย กลุ่มผู้บริหารและสมาชิกสภาเทศบาลตำบลดงมะไฟ จำนวน 17 คน และ บุคลากร สังกัดสำนักงานเทศบาลตำบลดงมะไฟ จำนวน 52 คน โดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย การวิจัยเชิงคุณภาพใช้การประชุมเชิงปฏิบัติ และการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ และค่าคะแนนเฉลี่ย
ผลการวิจัย สรุปได้ ดังนี้
1. สภาพปัจจุบัน ปัญหาการพัฒนาพฤติกรรมในการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลของบุคลากร สังกัดสำนักงานเทศบาลตำบลดงมะไฟ ตำบลขมิ้น อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 1) หลักการมีส่วนร่วม พบว่า ประชาชาชนไม่ให้ความร่วมมือในการแสดงความคิดเห็นต่อการเสนอแนวทางในการแก้ปัญหา 2) หลักความโปร่งใส พบว่า ในการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลของบุคลากรไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์อย่างตรงไปตรงมาด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย 3) หลักความเสมอภาค พบว่า เลือกปฏิบัติต่อประชาชน ประชาชนที่อยู่ในสถานภาพเดียวกันได้รับสิทธิเสรีภาพไม่เท่าเทียมกัน 4) หลักประชาธิปไตย พบว่า องค์กรไม่ยึดเสียงข้างมาก เป็นผู้ตัดสินปัญหา และไม่ปฏิบัติตามข้อเสนอที่ได้รับจากเสียงข้างมาก
ในที่ประชุม 5) หลักนิติธรรม พบว่า ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบ และข้อบังคับต่างๆ ที่กำหนดไว้ ไม่คำนึงถึงความเป็นธรรมและความยุติธรรม 6) หลักความรับผิดชอบ พบว่า ไม่ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามเป้าหมายขององค์กร ไม่บรรลุเป้าหมายที่ผู้นำองค์กรสร้างขึ้น 7) หลักคุณธรรม พบว่า ไม่ยึดมั่นในความถูกต้อง บุคลากรไม่ซื่อสัตย์จริงใจต่อหน่วยงานและเพื่อนร่วมงาน และ 8) หลักประสิทธิภาพและประสิทธิผล พบว่า มีความผิดพลาดในงานที่ได้รับมอบหมาย ไม่เที่ยงตรงในตัวเลข ประมาทจนทำให้เกิดความเสียหายแก่องค์กร
2. การสร้างยุทธศาสตร์การพัฒนาพฤติกรรมในการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลของบุคลากร สังกัดสำนักงานเทศบาลตำบลดงมะไฟ ตำบลขมิ้น อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ได้แก่ การอบรมเชิงปฏิบัติการ การศึกษาดูงาน
3. ผลการพัฒนาพฤติกรรมในการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลของบุคลากร สังกัดสำนักงานเทศบาลตำบลดงมะไฟ ตำบลขมิ้น อำเภอเมือง จังหวัดสกลนครหลังการใช้ยุทธศาสตร์การพัฒนาพฤติกรรมในการปฏิบัติงานตามหลัก
ธรรมาภิบาลของบุคลากร ในระยะเวลา 2 เดือน พบว่า อยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 96.92)
ABSTRACT
The purposes of this study were 1) to investigate the problem state of performance behavior based on good governance among the personnel, 2) to create a strategy to develop performance behavior based on good governance among the personnel, and 3) to examine the result of performance behavior development based on good governance among the personnel. This study was qualitative and quantitative and carried out into 4 steps: step 1 – surveying the problem state, step 2 – creating a strategy, stage 3 – implementing the strategy, and step 4 – improvement and dissemination of the strategy. A sample was 69 people, comprising a group of 17 administrators and members of Dong Mafai Sub-District Municipality Council and 52 personnel in the Office of Dong Mafai Sub-District Municipality selected by purposive sampling. The instrument for qualitative study was a workshop; while that for quantitative study was a questionnaire whose entire reliability was .99. Statistics used to analyze data were percentage and frequency.
The findings can be concluded as follows:
1. The current state and problem of performance behavior development based on good governance among personnel of the Office of Dong Mafai Sub-District Municipality, Khamin sub-district, Mueang district, Sakon Nakhon province were as follows: 1) in the participation principle, people did not participate in giving opinion on a way to problem solution; 2) in the transparency principle, personnel did not reveal useful information straightforward based on good governance with an easy understanding language; 3) in the equality principle, there was discrimination between the people. Their rights and freedom were not given equally; 4) in the democracy principle, the organization did not count on the majority vote and did not follow the majority proposal in the meeting; 5) in the legal principle, rules, regulations and law were not followed strictly with consideration of fairness and justice; 6) in the responsibility principle, the practice of personnel did not quite achieve the target of the organization; 7) in morality principle, personnel did not firmly believe in righteousness, had dishonest, insincere relations with their work unit and co-workers, and 8) in the efficiency and effectiveness principle, there were found mistakes and errors in the job assigned. It was inaccurate in number. There was negligence which caused damages to the organization.
2. The created strategy for performance behavior development among personnel of the Office of Dong Mafai Sub-District Municipality, Khamin sub-district, Mueang district, Sakon Nakhon province was a plan for workshop and study trip.
3. The result of performance behavior development based on good governance among the personnel of the Office of Dong Mafai Sub-District Municipality, Khamin sub-district, Mueang district, Sakon Nakhon province after implementation of the strategy for 2 months was found at the high level (96.92%).
Article Details
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร