ยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในพื้นที่คุ้มครองแห่งชาติหินหนามหน่อ : กรณีศึกษาถ้าน้ำลอดเซบั้งไฟบ้านหนองปิง เมืองบัวละพา แขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Main Article Content

นายสีสมพร สุดทิจัก

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการและแนวทางการพัฒนา 2) สร้างยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในพื้นที่คุ้มครองแห่งชาติหินหนามหน่อ : กรณีศึกษาถ้าน้ำลอดเซบั้งไฟ

บ้านหนองปิง เมืองบัวละพา แขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กลุ่มเป้าหมาย 15 คน เลือกแบบเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 2 ประเภท ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพปัญหา ความต้องการและแนวทางการพัฒนาพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในพื้นที่คุ้มครองแห่งชาติหินหนามหน่อ : กรณีศึกษาถ้าน้ำลอดเซบั้งไฟ บ้านหนองปิง เมืองบัวละพา แขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พบว่า ด้านการตลาด พบว่า ประชาชนยังไม่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องของการตลาดเพราะว่าไม่มีหน่วยงานเข้าไปส่งเสริมอย่างจริงจัง ทาให้ประชาชนไม่รู้ว่าจะผลิตอะไรเพื่อมาขายให้กับนักท่องเที่ยว 2) การส่งเสริมของภาครัฐขาดความต่อเนื่องทำให้ประชาชนไม่ให้ความสำคัญต่อหน่วยงานรัฐบาล 3) การทำงานของภาครัฐยังขาดการประสานงานระหว่างหน่วยงาน 4) ประชาชนมีความต้องการให้รัฐเข้ามาส่งเสริมผลิตภัณฑ์สินค้าที่มีความหลากหลาย ด้านสถานที่ท่องเที่ยว พบว่า 1) ด้านให้บริการไม่เพียงพอต่อนักท่องเที่ยว 2) ด้านไฟฟ้าไม่มีใช้ในหมู่บ้าน 3) ด้านอุปกรณ์ ยังมีไม่เพียงพอต่อนักท่องเที่ยว 4) เส้นทางคมนาคม ยังเป็นปัญหาสำคัญที่สุดต่อการพัฒนาแหล่งการท่องเที่ยวป่าสงวนแห่งชาติ ด้านการบริหารจัดการ พบว่า 1) การบริหารจัดการของคณะกรรมการยังขาดความรู้ความเข้าใจ 2) การรักษาสิ่งแวดล้อม เช่น ขาดการจัดการกับขยะมูลฝอย ขาดการดูแลรักษาน้ำ ขาดการจัดการในถ้ายังไม่มีรูปแบบในการบริหารจัดการที่ชัดเจน 3) การบริหารจัดการในด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับนักท่องเที่ยวที่พักในเขตป่าสงวนแห่งชาติหินหนามหน่อยังไม่มี 4) การบริหารจัดการในด้านการรักษาพยาบาลในกรณีเกิดอุบัติเหตุ ด้านการให้บริการ พบว่า 1) ประชาชนยังไม่รู้หนังสือ 2) ขาดการส่งเสริมสนับสนุนในด้านวัสดุอุปกรณ์ 3) ด้านการประกอบอาหารที่ถูกสุขลักษณะอนามัย 4) ขาดไกด์นาเที่ยว 5) ขาดที่พักสำหรับรองรับนักท่องเที่ยว ด้านกิจกรรม พบว่า 1) ไม่มีรูปแบบที่ชัดเจนของกิจกรรมต่างๆ 2) ไม่มีการสำรวจเส้นทางเดินป่าเพื่อบอกว่ากี่กิโลเมตร แล้วมีกิจกรรมอะไรบ้าง 3) ไม่จุดส่งเสริมการขายในแต่ละกิจกรรมเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน

2. การสร้างยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในพื้นที่คุ้มครองแห่งชาติ หินหนามหน่อ : กรณีศึกษาถ้าน้ำลอดเซบั้งไฟบ้านหนองปิง เมืองบัวละพา แขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ที่ 1 เสริมสร้างระบบสาธารณูปโภค-สาธารณูปการ และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่คุ้มครองแห่งชาติ หินหนามหน่อ เพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืน ยุทธศาสตร์ที่ 2 ส่งเสริมศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศและการตลาดท่องเที่ยวเชิงคุณภาพอย่างยั่งยืน และยุทธศาสตร์ที่ 3 เสริมสร้างคุณภาพชีวิตและความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในพื้นที่คุ้มครองแห่งชาติ หินหนามหน่อ

3. ผลการตรวจสอบความเหมาะสมเป็นไปได้และประโยชน์ในการปฏิบัติยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในพื้นที่คุ้มครองแห่งชาติ หินหนามหน่อ : กรณีศึกษาถ้าน้ำลอดเซบั้งไฟบ้านหนองปิง เมืองบัวละพา แขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พบว่า โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน

Article Details

Section
บทความวิจัย