ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ป่าชุมชนหัวฝายเชน้อย เมืองวิละบุลี แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Main Article Content

นายสุนทร เทพปัญญา

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพปัญหาของการดูแลป่าและความจำเป็นที่จะต้องให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่าชุมชนหัวฝายเชน้อย เมืองวิละบุลี แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 2) เพื่อสร้างยุทธศาสตร์การส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่าชุมชนหัวฝาย เมืองวิละบุลี แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 3) เพื่อศึกษาความรู้ในการอนุรักษ์ป่าชุมชน และพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่าชุมชน ก่อนและหลังการใช้ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่าชุมชนหัวฝายเชน้อย เมืองวิละบุลี แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กลุ่มตัวอย่าง 58 คน เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

            ผลการวิจัยพบว่า

                 1.  สภาพปัญหา สาเหตุของปัญหา ความต้องการแก้ปัญหาด้วยการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ป่าชุมชนหัวฝายเชน้อย เมืองวิละบุลี แขวงสะหวันนะเขต  สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พบว่า สภาพป่าชุมชนมีความแตกต่างจากในอดีตมากเพราะเมื่อในอดีตสภาพป่ามีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพันธุ์พืช สัตว์ป่า ของป่า สมุนไพรนานาชนิด ในปัจจุบันปัญหาและอุปสรรคในการดูแลรักษาป่าชุมชนมีการบุกรุกตัดไม้ทำลายป่าและจับจองพื้นที่เพื่อการเกษตร จึงจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือของประชาชนในชุมชนเข้ามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาเรื่องการสอดส่องดูแลป่า เพื่อป้องกันบุกคนมาบุกรุก และรายงานกองปราบปราม ป่าชุมชนมีปัญหาเกี่ยวกับความไม่ชัดเจนของเขตแนวและประชาชนยังขาดความตระหนักและการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่า การแก้ปัญหาป่าชุมชนของรัฐจึงจำเป็นต้องให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่าด้วย

                 2.  ยุทธศาสตร์ที่สร้างขึ้นเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่าชุมชนหัวฝายเชน้อย เมืองวิละบุลี
แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งใช้เทคนิคการมีส่วนร่วมแบบ AIC (Appreciation Influence Control) ประกอบด้วย 9 โครงการ ดังนี้ 1. โครงการสำรวจขอบเขตและศึกษาสภาพปัญหาของป่าชุมชน หัวฝายเชน้อย 2. โครงการวิเคราะห์พื้นที่และจัดทำแผนที่ป่าชุมชนหัวฝายเชน้อย 3. โครงการปักเขตแดนป่ชุมชนเชน้อย 4. โครงการปรับปรุงกฎระเบียบการคุ้มครองป่าชุมชนหัวฝายเชน้อย 5. โครงการเผยแพร่กฎระเบียบการคุ้มครองป่าสงวนหัวฝายเชน้อยและกฎระเบียบการคุ้มครองป่าชุมชน 6. โครงการเผยแพร่ระเบียบในราชกิจจานุเบกษา (ระดับเจ้าเมือง) 7. โครงการแต่งตั้งคณะกรรมการรับผิดชอบป่าสงวนหัวฝายเชน้อย (ระดับเจ้าเมือง) 8. โครงการติดป้ายป่าสงวนและประกาศใช้เป็นป่าชุมชนและอำเภอ 9. โครงการตรวจสอบและประเมินผล โดยห้องการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเมืองวิละบุลีการคุ้มครองป่าชุมชน

                 3.  การทดลองใช้ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่าชุมชนหัวฝายเชน้อย เมืองวิละบุลี แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในประเด็น ดังนี้ 3.1 สังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรมในการอนุรักษ์ป่าชุมชนหัวฝายเชน้อย เมืองวิละบุลี แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับปานกลาง 3 ด้าน และอยู่ในระดับมากที่สุด 1 ด้าน และ 3.2 ความรู้ของประชาชนในการอนุรักษ์ป่าชุมชนหัวฝายเชน้อย เมืองวิละบุลี แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01

Article Details

Section
บทความวิจัย