การแข่งขันนาฏศิลป์ ในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน

Main Article Content

อรรจมาภรณ์ ชัยวิสุทธิ์

Abstract

บทคัดย่อ

            การแข่งขันนาฏศิลป์ไทย ในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน คือ แข่งขันทางทักษะนาฏศิลป์ไทยจัดการแข่งขันครั้งแรกเมื่อปีการศึกษา 2552 โดยสำนักพัฒนากิจกรรมนักเรียน สังกัดคณะกรรมการการศึกษา เป็นผู้กำหนดเกณฑ์การแข่งขัน และได้แบ่งกิจกรรมการแข่งขันนาฏศิลป์ไทยออกเป็น 3 กิจกรรม คือ รำวงมาตรฐาน นาฏศิลป์ไทยอนุรักษ์ และนาฏศิลป์ไทยประยุกต์ เมื่อปีการศึกษา 2553 กิจกรรมนาฏศิลป์ไทยประยุกต์ได้ถูกยกออกจากการแข่งขันนาฏศิลป์ไทย โดยได้บรรจุกิจกรรมนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์เข้ามาแทนที่จนกระทั้งถึงปัจจุบัน (ปีการศึกษา 2555) การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทำให้เกิดความขันแย้ง และเป็นปัญหาในการแข่งขันนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์สืบมา

            ดังนั้นงานวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาและวิเคราะห์ให้เห็นถึงปัญหาด้านความเข้าใจในเกณฑ์การแข่งขันนาฏศิลป์ไทยประยุกต์กับนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ที่แตกต่างกัน ระหว่างกลุ่มผู้จัดงานกับกลุ่มผู้เข้าร่วมการแข่งขัน ตั้งแต่ปี
การศึกษา 2552-2554 พื้นที่วิจัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต 1 และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 25 อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างได้แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้จัดการแข่งขัน และกลุ่ม
ผู้เข้าร่วมการแข่งขัน  โดยวิธีการสัมภาษณ์ การตอบแบบสอบถาม และการสนมนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพแล้ว
นำเสนอผลการศึกษาในแบบพรรณนาวิเคราะห์ 

            ผลการวิจัยพบว่า  1) กิจกรรมการแข่งขันเปลี่ยน แต่เกณฑ์การแข่งขันยังคงคล้ายเดิม และยังไม่บ่งชี้คุณลักษณะเฉพาะของนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ จึงทำให้ผู้เข้าร่วมการแข่งขันและกรรมการการตัดสินในระดับเขตพื้นที่การศึกษาและระดับภูมิภาค ตีความถึงคุณลักษณะเฉพาะของนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ขึ้นมาเอง อันเป็นเหตุให้เกิดความขัดแย้งกันในกลุ่ม 2) การนำเสนอร่างเกณฑ์การแข่งขันนาฏศิลป์ไทยประยุกต์กับนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหาความเข้าใจไม่ตรงกันเกี่ยวกับเกณฑ์การแข่งขัน ต่อคณะกรรมการการประชุมเชิงปฏิบัติการปรับปรุงกิจกรรมและหลักเกณฑ์การแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน 3)  ผลของการนำเสนอร่างเกณฑ์การแข่งขัน ทางคณะกรรมการได้พิจารณาเห็นชอบให้มีการระบุคุณลักษณะเฉพาะของนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ในเกณฑ์การแข่งขันนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 62 ปีการศึกษา 2555 โดยกำหนดเป็นคำนิยามศัพท์  

            สรุปได้ว่างานวิจัยนี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางสำหรับการพัฒนาเกณฑ์การแข่งขันและส่งเสริมบทบาทการแข่งขันทางนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ อีกทั้งยังประโยชน์แก่ผู้เข้าร่วมการแข่งขัน โดยการเสนอการจัดประชุมชี้แจ้งและปรับความคิดเห็น ระหว่างกลุ่มผู้เข้าร่วมการแข่งขันกับกลุ่มผู้จัดการแข่งขันให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน 

ABSTRACT

Thai dance competition in the students’ handicraft fair is the Thai dance skill competition that was first held in the academic year 2009 by the Office of Student Activities Development under the Board of Education who set the criteria and has divided the competition into three activities; Thai standard dance, Thai classical dance, and applied Thai dramatic dance. Since then, the applied Thai dramatic dance activities were removed from a Thai dance competition list and have been replaced by the creative Thai dance until the present (2012). This change resulted in a ridiculous conflict and has become a problem in the creative Thai dance competition ever since. The objective of this research was to analyze and investigate into the problems of understanding the competition criteria between the applied Thai dramatic dance and the creative Thai dance, which has resulted in a different point of view among a bipartisan group, the organizers and the participants, since the academic years 2009-2011. A research area covered both the Khon Kaen Primary Educational Service Area Office 1 and the Secondary Educational Service Area Office 25, Khon Kaen district, Khon Kaen province. The samples were divided into two groups, the organizers and the participants. The study was a qualitative type of research conducted by way of interviews, questionnaires, and group conversations before presenting the results in a form of descriptive analysis. The results showed that: 1) only the competition activities had been changed but the competition criteria remained the same. Moreover, the specific features of the creative Thai dance had not been clearly identified. As a result, both the participants and the judges at the level of educational and regional areas had to interpret the definitions of unique features of such the dance by their own. This therefore caused conflicts among the groups, 2) the drafts of competition criteria of the applied Thai dramatic dance and the creative Thai dance presented to the Board of Workshop Committee for Activities Improvement and Competition Rules of the students’ handicraft fair, did not match the criteria for the competition, 3) for the drafts of the proposed competition criteria, the committee had approved to identify the creation of unique features of the creative Thai dance in the 62th students’ handicraft fair, academic year 2555, in a form of definitions. To summarize, this research could be used as a guideline for improving the competition criteria as well as promoting the role competition of the creative Thai dance. It also gave the participants a number of advantages such as proposing the meeting to clarify and attune the comments between the participants themselves and the organizers.

Article Details

Section
บทความวิจัย