การพัฒนาการอ่านและการเขียน เรื่องช้างน้อยน่ารัก โดยใช้แบบฝึก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Semi-experimental research) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างและพัฒนาแบบฝึกการอ่านและการเขียน เรื่อง ช้างน้อยน่ารัก ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลตามเกณฑ์ที่กำหนด เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการอ่านและการเขียนระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียนและศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการพัฒนาการอ่านและการเขียน เรื่อง ช้างน้อยน่ารัก กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านโคกมะนาว ภาคเรียนที่ 2 จำนวน 21 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบฝึกการอ่านและการเขียนเรื่องช้างน้อยน่ารัก แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที (t-test แบบ Dependent samples)
ผลการวิจัย พบว่า ประสิทธิภาพของแบบฝึกการอ่านและการเขียน เรื่องช้างน้อยน่ารัก มีค่าเท่ากับ 81.77/80.79 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ ดัชนีประสิทธิผล มีค่าเท่ากับ 0.6340 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนหลังการพัฒนาการอ่านและการเขียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการพัฒนาการอ่านและการเขียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
Article Details
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร