การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาการบริหารจัดการงานอาคารสถานที่ของโรงเรียนคณะเทศบาลนครกรุงเทพ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้ใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) โดยมีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการงานอาคารสถานที่ของโรงเรียนคณะเทศบาลนครกรุงเทพ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร 2) หาแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการงานอาคารสถานที่ของโรงเรียน คณะเทศบาลนครกรุงเทพ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร 3) ติดตามผลการพัฒนาการบริหารจัดการงานอาคารสถานที่ของโรงเรียนคณะเทศบาลนครกรุงเทพ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร ใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) ดำเนินการ 2 วงรอบ แต่ละวงรอบประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นวางแผน (Planning) ขั้นการปฏิบัติการ (Action) ขั้นสังเกตการณ์ (Observation) ขั้นสะท้อนกลับ (Reflection) กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ คือ กลุ่มผู้ร่วมวิจัย จำนวน 16 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลเพิ่มเติม จำนวน 43 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต แบบบันทึกกิจกรรมและแบบบันทึกการประชุม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ตรวจสอบข้อมูลเชิงคุณภาพผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) จัดหมวดหมู่ของเนื้อหาและนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพและปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการงานอาคารสถานที่ของโรงเรียนคณะเทศบาลนครกรุงเทพ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร
1.1 สภาพการบริหารจัดการงานอาคารสถานที่ของโรงเรียนคณะเทศบาลนครกรุงเทพ 3 พบว่า ความรับผิดชอบในการพัฒนาการบริหารจัดการงานอาคารสถานที่ของโรงเรียนคณะเทศบาลนครกรุงเทพ 3 เป็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูที่รับผิดชอบงานอาคารสถานที่ และยังไม่มีการประชุมชี้แจงเกี่ยวกับการพัฒนาการบริหารจัดการงานอาคารสถานที่และมีสภาพการบริหารจัดการโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง
1.2 ปัญหาการบริหารจัดการงานอาคารสถานที่ของโรงเรียนคณะเทศบาลนครกรุงเทพ 3 พบว่า โรงเรียนยังขาดความร่วมมือจากชุมชน ขาดงบประมาณในการบริหารจัดการและครูไม่เข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตนเองในการบริหารจัดการงานอาคารสถานที่และมีปัญหาการบริหารจัดการโดยรวมอยู่ในระดับมาก
2. แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการงานอาคารสถานที่ของโรงเรียนคณะเทศบาลนครกรุงเทพ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร ประกอบด้วย 1) การประชุมเชิงปฏิบัติการ 2) การศึกษาดูงานโรงเรียนต้นแบบและ 3) การมอบหมายหน้าที่รับผิดชอบและการนิเทศภายในการดำเนินงานอาคารสถานที่
3. ผลการดำเนินการพัฒนาการบริหารจัดการงานอาคารสถานที่ของโรงเรียนคณะเทศบาลนคร-กรุงเทพ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร พบว่า
3.1 ผลการประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการพัฒนาการบริหารจัดการงานอาคารสถานที่ ทำให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนมีความสนใจและให้ความร่วมมือในการประชุม ซึ่งสามารถเข้าใจแนวทางในการพัฒนาการบริหารจัดการงานอาคารสถานที่ดีขึ้นและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
3.2 ผลการศึกษาดูงานโรงเรียนบ้านโพนสวาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร ซึ่งเป็นโรงเรียนต้นแบบในการบริหารจัดการงานอาคารสถานที่ ทำให้กลุ่มผู้ร่วมวิจัยได้รับความรู้และเรียนรู้วิธีการดำเนินงาน ตลอดจน ขั้นตอนการดำเนินงานพัฒนาการบริหารจัดการงานอาคารสถานที่ เนื่องจากได้เห็นสภาพแวดล้อมและภูมิทัศน์ของโรงเรียนต้นแบบ ทำให้มีความกระตือรือร้นในการพัฒนาและปรับปรุงงานอาคารสถานที่ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
3.3 ผลการนิเทศภายในการดำเนินงานอาคารสถานที่ หลังจากดำเนินการพัฒนาการบริหารจัดการงานอาคารสถานที่ในวงรอบที่ 1 พบว่า สภาพโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.88) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านคือ ด้านการใช้อาคารสถานที่ ด้านการบำรุงรักษาอาคารสถานที่ ด้านการควบคุมดูแลอาคารสถานที่ ด้านการประเมินผลการใช้อาคารสถานที่อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านย่อยการตกแต่งอาคารสถานที่ให้เอื้อต่อการเรียนการสอนและเหมาะสมเป็นแหล่งเรียนรู้ ผลการประเมินอยู่ในระดับปานกลาง( = 3.49) ส่วนปัญหาโดยรวมอยู่ในระดับน้อย ( = 2.05) และเมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า อยู่ในระดับน้อยทุกด้าน ส่วนปัญหาใช้อาคารไม่คุ้มค่า ใช้พื้นที่ไม่คุ้มค่า ผลการประเมินอยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.70 และ = 2.54 ตามลำดับ) จึงนำไปพัฒนาต่อในวงรอบที่ 2 โดยใช้แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการงานอาคารสถานที่แบบให้ประชุมระดมความคิด เพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้น และดำเนินการพัฒนาและปรับปรุงการบริหารจัดการงานอาคารสถานที่ของโรงเรียนคณะเทศบาลนครกรุงเทพ 3 ผลการพัฒนาในวงรอบที่ 2 พบว่า โดยผลการประเมินสภาพการตกแต่งอาคารสถานที่ให้เอื้อต่อการเรียนการสอนและเหมาะสมเป็นแหล่งเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 4.30) ส่วนปัญหาการใช้อาคารไม่คุ้มค่า และปัญหาใช้พื้นที่ไม่คุ้มค่ามีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับน้อย ( = 1.87 และ = 1.89 ตามลำดับ)
Article Details
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร