การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาการจัดบริการงานแนะแนว โรงเรียนบ้านคำแม่นาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษา สภาพและปัญหา เกี่ยวกับการจัดบริการงานแนะแนว 2) หาแนวทางการพัฒนาการจัดบริการงานแนะแนว และ 3) ติดตามและประเมินผลการพัฒนาการจัดบริการงานแนะแนว โรงเรียนบ้านคำแม่นาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 กระบวนการในการวิดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 การวางแผน (Planning) ขั้นที่ 2 การปฏิบัติการ (Action) ขั้นที่ 3 การสังเกตการณ์ (Observation) และขั้นที่ 4 การสะท้อนกลับ (Refection) ซึ่งมีการดำเนินการ 2 วงรอบ กลุ่มเป้าหมาย คือ กลุ่มผู้ร่วมวิจัย จำนวน 11 คน ประกอบด้วย ผู้วิจัย 1 คน ผู้ร่วมวิจัย 10 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ผู้อำนวยการ 1 คน กลุ่มตัวแทนนักเรียน 36 คน กลุ่มผู้นิเทศ 4 คน วิทยากร 1 คน จำนวน 42 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบทดสอบ แบบประเมิน แบบสังเกต และแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพและปัญหาเกี่ยวกับการจัดบริการงานแนะแนว โรงเรียนบ้านคำแม่นาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 พบว่า
1.1 ด้านสภาพ ครูขาดความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์ในการจัดบริการงานแนะแนว ครูไม่จบการศึกษาด้านแนะแนวโดยตรง ทำให้ไม่มีความมั่นใจในการจัดบริการงานแนะแนว และขาดการพัฒนาที่ต่อเนื่องในการจัดบริการงานแนะแนว
1.2 ด้านปัญหา การจัดบริการงานแนะแนวไม่เป็นไปตามมาตรฐานและเป้าหมายที่ตั้งไว้ ข้อมูลเอกสารไม่สามารถใช้ร่วมกันได้ การค้นหาข้อมูลนักเรียนทำได้ยาก ทำให้การจัดบริการงานแนะแนวไม่ตรงตามความต้องการของนักเรียน
2. แนวทางการพัฒนาการจัดบริการงานแนะแนว โรงเรียนบ้านคำแม่นาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 ประกอบด้วย 3 แนวทาง คือ การประชุมเชิงปฏิบัติการ การนิเทศการจัดบริการงานแนะแนว และการนิเทศแบบให้คำชี้แนะ
3. ผลการติดตามและประเมินผลการพัฒนาการจัดบริการงานแนะแนว โรงเรียนบ้านคำแม่นาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 พบว่า
3.1 ครูมีความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์ในการจัดบริการงานแนะแนวเพิ่มขึ้น มีมาตรฐานการใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลนักเรียน การจัดเก็บข้อมูลนักเรียนเป็นระบบ ทำให้การจัดบริการงานแนะแนวมีประสิทธิภาพตรงตามความต้องการของนักเรียน ครูและนักเรียนพึงพอใจในการจัดบริการงานแนะแนวอยู่ในระดับมากที่สุด
3.2 การจัดบริการงานแนะแนว ครูจัดบริการงานแนะแนว ได้อย่างมีคุณภาพ 5 บริการ คือ บริการรวบรวมข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคล บริการสนเทศ บริการให้คำปรึกษา บริการจัดวางตัวบุคคล และบริการติดตามประเมินผล ทำให้ทางโรงเรียนช่วยเหลือนักเรียนได้อย่างเหมาะสม สามารถดูแลนักเรียนได้อย่างใกล้ชิด สามารถพัฒนาศักยภาพนักเรียนได้ตามขั้นตอนของกระบวนการจัดบริการงานแนะแนวArticle Details
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร