การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนโรงเรียนเต่างอยพัฒนศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23

Main Article Content

บรรลุ ชาไชย

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยมีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพ  และปัญหาเกี่ยวกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนโรงเรียนเต่างอยพัฒนศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 2) หาแนวทางการพัฒนาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของนักเรียน โรงเรียนเต่างอยพัฒนศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 และ 3) ติดตามผลการพัฒนาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของนักเรียน โรงเรียนเต่างอยพัฒนศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วยกลุ่มผู้ร่วมวิจัย 6 คน กลุ่มเป้าหมายในการพัฒนา 50 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล 44 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ 1) แบบบันทึกการศึกษาเอกสาร  2) แบบบันทึกการประชุม 3) แบบทดสอบ 4) แบบสัมภาษณ์ 5) แบบสังเกต 6) แบบสอบถาม  7) แบบประเมินความพึงพอใจของครู 8) แบบประเมินความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมาย สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ  การตรวจสอบข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content  Analysis) จัดหมวดหมู่ของเนื้อหาและนำเสนอผลการวิจัยเชิงพรรณนาวิเคราะห์

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของนักเรียน โรงเรียนให้ความสำคัญและให้การสนับสนุนสื่อ วัสดุอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพอย่างเพียงพอ พร้อมทั้งได้รับความร่วมมือ จากผู้บริหาร ครู เจ้าหน้าที่สาธารณสุขเป็นอย่างดี ปัญหาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของนักเรียน นักเรียนขาด การฝึกทักษะ กระบวนการคิด ทักษะการเป็นผู้นำ ไม่กล้าแสดงออกในทางสร้างสรรค์และนักเรียนบางส่วนยังไม่เห็นความสำคัญและไม่นำไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ ยังขาดการแนะนำ ติดตาม ให้ข้อเสนอแนะอย่างต่อเนื่อง

2. แนวทางการพัฒนาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของนักเรียน ประกอบด้วย 2 แนวทาง คือ 1) การจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ และ 2) การนิเทศภายใน

3. ผลการพัฒนาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนโรงเรียนเต่างอยพัฒนศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 จากกิจกรรมเผยแพร่ความรู้ด้านสุขภาพ กิจกรรมการตรวจสุขภาพเบื้องต้น กิจกรรมการพัฒนาสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน กิจกรรมการแข่งขันกีฬาและนันทนาการ กิจกรรมการรณรงค์ป้องกันอุบัติเหตุในโรงเรียน กิจกรรมรณรงค์ป้องกันสารเสพติดและปัญหาสังคมในโรงเรียน กิจกรรมอาหารปลอดภัย โดยรวมอยู่ในระดับมาก ผลการประเมินความพึงพอใจของครูต่อการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพทั้ง 7 กิจกรรมโดยรวมอยู่ในระดับมาก ผลการประเมินความพึงพอใจ ของกลุ่มเป้าหมายในการพัฒนาต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ 7 ด้าน โดยรวมอยู่ในระดับมาก ประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้โดยรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

Section
บทความวิจัย