การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพครูในการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายสะพานมิตรภาพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร

Main Article Content

นพมาศ บุพศิริ

Abstract

การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา  1)  ศึกษาสภาพและปัญหาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย  2)  หาแนวทางการพัฒนาศักยภาพครูในการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย  3)  ติดตามและประเมินผลการพัฒนาศักยภาพครูในการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย  โรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายสะพานมิตรภาพ  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร  กระบวนการในการดำเนินการวิจัยประกอบด้วย  4  ขั้น  คือ  ขั้นที่  1  การวางแผน  (Planning)  ขั้นที่  2  การปฏิบัติการ  (Action)  ขั้นที่  3  การสังเกตการณ์  (Observation)  ขั้นที่  4  การสะท้อนกลับ  (Reflection)  กลุ่มเป้าหมาย  คือ  กลุ่มผู้ร่วมวิจัย  จำนวน  15  คน  และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลจำนวน  43  คน  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล  ได้แก่  แบบทดสอบก่อนและหลังการอบรมเชิงปฏิบัติการ  แบบสัมภาษณ์  แบบสังเกตพฤติกรรม แบบประเมินแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้  และแบบประเมินการจัดประสบการณ์การเรียนรู้  การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐานในการวิเคราะห์  ได้แก่ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ

ผลการวิจัยพบว่า

1.  สภาพการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

1.1  สภาพการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย  พบว่า  การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของครูส่วนใหญ่ไม่ปรับเปลี่ยนแนวคิด  และวิธีการสอน  การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ไม่ได้เน้นให้ผู้เรียน  ได้รู้จักการวางแผนในการแก้ปัญหา  การคิดวิเคราะห์ด้วยตนเอง

1.2  ปัญหาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย  พบว่า ครูขาดความรู้ความเข้าใจในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย  และการเขียนแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยยังไม่ดีเท่าที่ควร

2.  แนวทางการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย  โรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายสะพานมิตรภาพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร  ในวงรอบที่ 1 ใช้แนวทางการพัฒนา คือ การอบรมเชิงปฏิบัติการ และการนิเทศภายใน  วงรอบที่  2  ใช้แนวทางการพัฒนาโดยการนิเทศแบบให้คำชี้แนะการเขียนแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของครูปฐมวัย

3.  จากผลการติดตามและประเมินการพัฒนาศักยภาพครูในการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย  โรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายสะพานมิตรภาพ  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร  ผลปรากฏดังนี้

3.1  ด้านความรู้ความเข้าใจ  พบว่า  หลังจากได้รับการพัฒนาด้วยการอบรมเชิงปฏิบัติการ  กลุ่มผู้ร่วมวิจัยมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนพัฒนา  ทั้งรายบุคคลและโดยรวม

3.2  ด้านการเขียนแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ พบว่า ผลการประเมินในวงรอบที่ 1  อยู่ในระดับ ปานกลาง  ซึ่งยังไม่เป็นที่น่าพอใจของผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัย  จึงนำไปพัฒนาการเขียนแผน การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในวงรอบที่  2  พบว่า  ผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัยมีความรู้ความสามารถในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น  สามารถเขียนแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพ  โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี

3.3  ด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้  พบว่า  ครูปฐมวัยมีความมั่นใจ  สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ส่งผลให้เด็กปฐมวัยมีความสุขสนุกสนาน  และมีส่วนร่วมในการร่วมกิจกรรม

Article Details

Section
บทความวิจัย