วัฒนธรรมการสื่อสารบนพื้นที่สาธารณะในยุคไซเบอร์สเปซ

Main Article Content

จักรีรัตน์ แสงวารี

Abstract

ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ส่งผลให้ทำให้เกิดวัฒนธรรมทางการสื่อสารขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่สาธารณะที่อินเตอร์เน็ตเข้าถึง เป็นการเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถทำการสื่อสารขึ้นได้ในทุกเพศ ทุกวัย ในทุกๆ ช่วงเวลา ถือได้ว่าเป็นช่องทางเปิดโอกาสในการแสดงความคิดเห็นสาธารณะ ทั้งแบบเปิดเผยตัวตนและปิดบังตัวตนซึ่งช่องทางพื้นที่สาธารณะนี้ส่งผลทั้งทางบวกและทางลบทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาให้ความเหมาะสมของแต่ละบุคคล เพื่อสร้างวัฒนธรรมทางการสื่อสารที่ดีภายใต้โลกที่ได้ชื่อว่าเป็นยุคของไซเบอร์สเปซ

 

วัฒนธรรมการสื่อสาร

วัฒนธรรม (Culture) คือการดำเนินชีวิตหรือวิถีชีวิตที่มนุษย์สร้างขึ้นมาร่วมกันในสังคม อาจกล่าวได้ว่า วัฒนธรรมเป็นเรื่องเกี่ยวกับวิถีชีวิตของผู้คน (Ways of Life) เป็นเรื่องราวของทุกสิ่งทุกอย่างทั้งหลายของมนุษย์ ซึ่งสามารถจำแนกออกเป็น 3 ประเด็นดังนี้ (จุฆาพรรธ์ ผดุงชีวิต. 2551 : 5-6)

1. มรดกทางวัฒนธรรม (Culture Heritage) เช่นโบราณสถาน อนุสรณ์สถาน โบราณวัตถุ เครื่องมือ เครื่องใช้ จารึก เอกสาร หนังสือโบราณ สมุดข่อย เป็นต้น

2. วัฒนธรรมร่วมสมัย (Living or Contemporary Culture) อันได้แก่

2.1 เรื่องการทำมาหากิน อาทิ รูปแบบการดำรงชีพ การประมง การล่าสัตว์ การเพาะปลูก วัฒนธรรมการบริโภคอาหารของคนท้องถิ่นในภาคต่างๆ การแต่งกาย งานศิลปะ ที่อยู่อาศัย เป็นต้น

2.2 เรื่องของภาษา การพูด การอ่าน และการเขียน การแสดงออกถึงกิริยามารยาท บุคลิกภาพนิสัยใจคอ ฯลฯ

2.3 เรื่องของศาสนา ความเชื่อทางพิธีกรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ค่านิยม คุณธรรม หลักปฏิบัติต่างๆ

2.4 เรื่องศิลปะการละเล่นหรือสุนทรียศาสตร์ทางด้าน นาฎศิลป์ ดนตรี กีฬา การละเล่นพื้นบ้านและพื้นเมือง

2.5 เรื่องเกี่ยวข้องกับสถาบันทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง

3. ภูมิปัญญาและเทคโนโลยี (Wisdom and Technology) อาทิ ระบบความเชื่อ ระบบคุณค่า ระบบการดำรงชีวิต ระบบการให้การศึกษา ระบบภาษาและวรรณกรรม ซึ่งเป็นเครื่องมือถ่ายทอดความรู้ทางวัฒนธรรม

Article Details

Section
บทความวิจัย