การพัฒนาการเรียนรู้ เรื่อง เศรษฐกิจประเทศไทย โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้ แบบร่วมมือเทคนิคจิกซอว์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและ วัฒนธรรมชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง เศรษฐกิจประเทศไทย โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคจิกซอว์ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้ตามเกณฑ์ที่กำหนด เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียนและศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้เรื่อง เศรษฐกิจประเทศไทย โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคจิกซอว์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/5 โรงเรียนธาตุนารายณ์วิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 23 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 36 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม(cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง เศรษฐกิจประเทศไทย โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคจิกซอว์ มีค่าความเที่ยงตรงระหว่าง 0.80 ถึง 1.00 แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีค่าความสอดคล้องระหว่าง 0.63 ถึง0.73 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.35 ถึง 0.60 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.83 และแบบสอบถามความพึงพอใจมีค่าความสอดคล้อง ระหว่าง0.80 ถึง 1.00 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่าความเที่ยงตรง ค่าความยาก ค่าอำนาจจำแนก ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที (t-test แบบ Dependent samples)
ผลการวิจัย พบว่า
1.ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคจิกซอว์ เรื่อง เศรษฐกิจประเทศไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเท่ากับ 85.83/84.81 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์80/80 ที่ตั้งไว้
2. ดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคจิกซอว์ เรื่อง เศรษฐกิจประเทศไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเท่ากับ 0.7851
3. ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนหลังการเรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคจิกซอว์เรื่อง เศรษฐกิจประเทศไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้ เรื่อง เศรษฐกิจประเทศไทย โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคจิกซอว์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร