การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาวิชาชีพบุคลากรทางการศึกษาสู่การเป็นผู้นำ ในการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
Main Article Content
Abstract
การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา ด้านการพัฒนาบุคลากร, การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาวิชาชีพบุคลากรทางการศึกษา สู่การเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาและตรวจสอบประสิทธิผลของโปรแกรมที่พัฒนาขึ้น ดำเนินการวิจัยเป็น 3 ระยะประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ สถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาทั้งหมด จำนวน 415 แห่ง จัดสุ่มแบบเป็นกลุ่ม (Area or Cluster Sampling)โดยจำแนกเป็นกลุ่มภูมิภาค 4 ภูมิภาค ได้กลุ่มสถานศึกษาตัวอย่าง 212 แห่ง สุ่มตัวอย่างแบบกำหนดสัดส่วน (Quota Sampling) และเจาะจง จากบุคลากรทางการศึกษาประกอบด้วย ผู้บริหาร ครูผู้สอนและเจ้าหน้าที่ จำนวน698 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ตรวจสอบโปรแกรมจากสถานศึกษา 3 แห่ง จากผู้เชี่ยวชาญ 6 คน และใช้สถานศึกษาทดลองภาคสนามจำนวน 1 แห่ง
ผลการวิจัยพบว่า
1. สถานศึกษาไม่ได้ดำเนินการอย่างเป็นระบบ บุคลากรขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา และต้องการการพัฒนาตนเอง
2. โปรแกรมพัฒนาวิชาชีพบุคลากรทางการศึกษาประกอบด้วยวัตถุประสงค์ของโปรแกรมและโครงการ, ผลที่คาดหวัง,กิจกรรมและทรัพยากรที่ใช้,ตัวบ่งชี้แสดงเวลาปริมาณและคุณภาพ,แหล่งข้อมูลและเงื่อนไขที่ทำให้บรรลุวัตถุประสงค์
3. ประสิทธิผลที่เกิดขึ้นจากการทดลองใช้โปรแกรมพัฒนาวิชาชีพบุคลากรทางการศึกษาในภาคสนาม พบว่า บุคลากรทางการศึกษา สามารถพัฒนาตนเอง จนเกิดทักษะเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา ส่งผลถึงการพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาและนักเรียน
Article Details
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร