การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาครูผู้ดูแลเด็กและลักษณะทางกายภาพตาม แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธของศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ ในวัดวัดทุ่ง อำเภออากาศอำนวยจังหวัดสกลนคร
Main Article Content
Abstract
การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาครูผู้ดูแลเด็กและลักษณะทางกายภาพตามแนวทางการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธของศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัดวัดทุ่ง อำเภออากาศอำนวยจังหวัดสกลนคร
ACTION RESEARCH TO DEVELOP THE EARLY CHILDHOOD TEACHERS AND PHYSICALPLANTS BASED ON THE BUDDHIST SCHOOL GUIDELINES OF WAT THUNG CHILD CAREDEVELOPMENT CENTER, AKAT AMNUAI DISTRICT, SAKON NAKHON PROVINCE
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาเกี่ยวกับครูผู้ดูแลเด็กและลักษณะทางกายภาพตามแนวทางการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธของศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด วัดทุ่ง 2) เพื่อหาแนวทางการพัฒนาครูผู้ดูแลเด็กและลักษณะทางกายภาพตามแนวทางการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธ 3) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาครูผู้ดูแลเด็กและลักษณะทางกายภาพตามแนวทางการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธ โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ 4 ขั้นตอนคือ การวางแผนการปฏิบัติการการสังเกตการณ์และการสะท้อนกลับผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัย 4 คนประกอบด้วย ครูผู้ดูแลเด็กและผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็กกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ20 คนประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาวิทยากร ผู้แทนผู้ปกครองนักเรียนชั้นอนุบาล 1 และอนุบาล 2 ในปีการศึกษา 2554 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์ แบบสังเกตและแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพดำเนินการโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพและปัญหาเกี่ยวกับครูผู้ดูแลเด็กและลักษณะทางกายภาพตามแนวทางการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธของศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด วัดทุ่ง อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร มีดังนี้
1.1 สภาพเกี่ยวกับครูผู้ดูแลเด็กและลักษณะทางกายภาพตามแนวทางการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธ พบว่า ครูผู้ดูแลเด็กไม่มีความรู้ความเข้าใจดีพอเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธทำให้การนำแนววิถีพุทธเข้ามาปรับใช้ในสถานศึกษาตามแนวนโยบายของผู้บริหารขาดทิศทางในการนำไปปฏิบัติและยังไม่เคยพัฒนาตามลักษณะทางกายภาพตามแนวทางการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธมาก่อน การพัฒนาอยู่ในลักษณะการปรับปรุงสภาพเดิมสิ่งที่มีอยู่เท่านั้น
1.2 ปัญหาเกี่ยวกับครูผู้ดูแลเด็กและลักษณะทางกายภาพตามแนวทางการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธ พบว่า ครูผู้ดูแลเด็กไม่เคยเข้ารับการพัฒนาเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธงบประมาณการพัฒนาบุคลากรไม่เพียงพอในการส่งครูผู้ดูแลเด็กทุกคนไปศึกษาหรือฝึกประสบการณ์ในโรงเรียนแนววิถีพุทธ ทำให้ครูผู้ดูแลเด็กขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและวิธีการจัดลักษณะทางกายภาพตามแนวทางการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธ
2. แนวทางในการพัฒนาครูผู้ดูแลเด็กและลักษณะทางกายภาพตามแนวทางการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธประกอบด้วย 1) การประชุมเชิงปฏิบัติการ 2) การศึกษาดูงาน 3)การปฏิบัติการพัฒนาลักษณะทางกายภาพ และ 4) การนิเทศภายใน
3. ผลการพัฒนาครูผู้ดูแลเด็ก และลักษณะทางกายภาพตามแนวทางการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธ พบว่า
3.1 ผลการพัฒนาครูผู้ดูแลเด็ก พบว่า การพัฒนาอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ครูผู้แลเด็กมีความเป็นกัลยาณมิตร มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดความเจริญงอกงามตามหลักไตรสิกขา และมีความเข้าใจถูกต้องในพระรัตนตรัย นับถือ ศรัทธาในพระพุทธศาสนาและการพัฒนาอยู่ในระดับมาก คือ ครูผู้ดูแลเด็กมีวิถีชีวิตสอดคล้องกับหลักพุทธธรรม (ลด ละ เลิกอบายมุข) ถือศีล 5 และปฏิบัติเป็นแบบอย่างที่ดี มีอุดมการณ์ในการพัฒนาตนเองและดำเนินชีวิตที่ดีงาม และมีความซื่อสัตย์จริงใจในการทำงาน
3.2 ผลการพัฒนาลักษณะทางกายภาพ พบว่า ผลการพัฒนาอยู่ในระดับมากที่สุด คือ สถานศึกษาจัดประดิษฐานพระพุทธรูปประจำสถานศึกษา จัดประดิษฐานพระพุทธรูปประจำห้องเรียน และปราศจากสิ่งเสพติด อบายมุข สิ่งมอมเมาทุกชนิด และการพัฒนาอยู่ในระดับมาก คือ สถานศึกษามีห้องจริยธรรม ห้องสมุดพระพุทธศาสนา มีป้ายนิเทศ ป้ายคติธรรม คำขวัญ คุณธรรมจริยธรรมโดยทั่วไปบริเวณสถานศึกษา มีอาคารเรียน สะอาด ปลอดภัย และจัดสภาพแวดล้อมภายในให้มีความร่มรื่น สวยงาม ใกล้ชิดธรรมชาติ
ABSTRACT
This research aimed to 1) investigate the current states and problems of the teachers and physicalplants based on the application of the Buddhism-oriented School in the child care development centers at WatThung Child Care development Center, 2) establish guidelines for developing the teachers and physical plantsbased on the application of the Buddhism-oriented School in child care development centers situated inmonastic areas, and 3) explore the development of the teachers and physical plants based on the BuddhismorientedSchool in the child care development centers. The action research involved four stages: planning,action, observation and reflection. The research group consisted of 4 teachers including and teachers assistant.20 respondents comprised school administrators, members of the school board, resource persons,representatives of parents/guardians of Kindergarten level 1 and 2 in the academic year 2011. Tools used tocollect data consisted of a form of interview, a form of observation and a set of questionnaires. Content Analysiswas employed to analyze qualitative data. The statistics used in analyzing quantitative data were percentage,mean, and standard deviation.
The findings were as follows:
1. The current states and problems of the development of the teachers and physical plants basedon the Buddhism-oriented School operation in child care development centers situated in monastic areasincluded that:
1.1 The states of the development of the teachers and physical plants based on the BuddhismorientedSchool were that the teachers lacked knowledge and understanding toward the operation of theBuddhism-oriented School. As a result, the application of the Buddhism-oriented School guidelines seemedmisleading the direction of putting into practice. In addition, the child care development centers’ physical plantshad never been implemented. The development was in forms of improving the existing conditions and it did notcover the physical plants of the Buddhism-oriented School operation.
1.2 In terms of the problems, The teachers have never attended a training session on theguidelines of the Buddhism-oriented School application. Because of insufficient budget, the teachers wereunable to study and seek for experiences at any model Buddhism-oriented Schools. In addition, the teacherslacked knowledge and understanding toward principles and methods of implementing the Buddhism-orientedSchool guidelines.
2. The guidelines of developing the teachers and physical plants based on the Buddhism-oriented Schoolwere composed of : 1) a workshops, 2) a study tours, 3) actual practice on the physical plants development, and 4)an internal supervision.
3. The effects of the development of the teachers and physicalplants based on the BuddhismorientedSchool revealed that:
3.1 The effects of the development of the teachers was at the highest level. The teachersbecame more friendly and ready to develop the children based on Trisikkha Principle, gained the knowledge ofTriple Gems/Ratnatraya, followed and had faith in Buddhism. In addition, the development of the teachers wasat a high level in terms of having a life consistent with the principles of Buddhism reduction, giving up andtermination of vices, accepted and practiced the five precepts of Buddhism. In addition, they had to be rolemodels for others in living an ideal life based on self-development and decent life. Moreover, they were honestand sincere in working.
3.2 The effects of the development of the Center physical plants were at the highest level interms of the presence of the Center’s Buddha Image, the classroom’ Buddha Image, the Center’ location wereabstinence from any types of intoxicants or narcotics, and tempted things. In addition, the developmentconsidering at a high level were the provision of the ethical room, the library of Buddhism, bulletin boards, Themoral signs, slogans of morality and ethics were displayed all around the Center premises. In addition, thebuildings in the Center were regarded as clean, safe along with the ambient and close to nature environmentmanaged.
Article Details
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร