การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาการปฏิบัติงานการบริหาร ทั่วไป โรงเรียนบ้านนาดีวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครพนม เขต 2
Main Article Content
Abstract
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาการปฏิบัติงานการบริหารทั่วไป โรงเรียนบ้านนาดีวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2
PARTICIPATORY ACTION RESEARCH TO DEVELOP JOB PERFORMANCE OF THEGENERAL AFFAIRS SYSTEM IN BAN NADI WITTHAYA SCHOOL UNDER THENAKHON PHANOM PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 2
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) โดยมีความมุ่งหมายเพื่อ 1)ศึกษาสภาพและปัญหาการปฏิบัติงานการบริหารทั่วไป โรงเรียนบ้านนาดีวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 2) หาแนวทางพัฒนาการปฏิบัติงานการบริหารทั่วไป โรงเรียนบ้านนาดีวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 และ 3) ติดตามผลการพัฒนาการปฏิบัติงานการบริหารทั่วไป โรงเรียนบ้านนาดีวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 แนวทางการพัฒนาประกอบด้วย การศึกษาดูงาน การประชุมเชิงปฏิบัติการ และการนิเทศ โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มี 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย การวางแผน การปฏิบัติการ การสังเกตการณ์ และการสะท้อนกลับ กลุ่มเป้าหมายของการวิจัยครั้งนี้คือ กลุ่มผู้ร่วมวิจัยจำนวน 8 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบบทดสอบก่อนและหลังการประชุมเชิงปฏิบัติการ และแบบบันทึกสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละความก้าวหน้า
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพและปัญหาในการปฏิบัติงานการบริหารทั่วไป โรงเรียนบ้านนาดีวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 พบว่า 1) สภาพในการปฏิบัติงานการบริหารทั่วไป พบว่า ครูธุรการปฏิบัติงานไม่ประจำ มาปฏิบัติงานสัปดาห์เว้นสัปดาห์ การดำเนินงานไม่เป็นระเบียบเท่าที่ควร การส่งเอกสารทาง e-Office ค่อนข้างช้า และขาดตู้เก็บเอกสารผลการปฏิบัติงานกิจการนักเรียนยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร อาคารสถานที่และสภาพแวดล้อมยังต้องพัฒนาให้สะอาดร่มรื่น ขาดการดูแลรักษา เก้าอี้และโต๊ะชำรุด สภาพแวดล้อมไม่เอื้อต่อการเรียนรู้ และ 2) ปัญหาในการปฏิบัติงานการบริหารทั่วไป พบว่า ครูที่รับผิดชอบงานธุรการมีงานด้านการสอนมาก ครูธุรการปฏิบัติงานไม่ต่อเนื่องเพราะทำงาน 2 โรงเรียน การแจ้งเอกสารให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบยังไม่ดีเท่าที่ควร เครื่องคอมพิวเตอร์ขาดแคลนทำให้การดำเนินการด้านงานธุรการมีปัญหา นักเรียนขาดความรับผิดชอบในการให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ แต่งกายไม่ถูกระเบียบ มีพฤติกรรมเสี่ยง สภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวย อุปกรณ์การเรียนการสอน ห้องปฏิบัติการมีไม่เพียงพอ และอาคารเรียนบางอาคารไม่สามารถใช้เป็นห้องเรียนได้
2. แนวทางการพัฒนาการปฏิบัติงานการบริหารทั่วไป โรงเรียนบ้านนาดีวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 ประกอบด้วย การศึกษาดูงาน การประชุมเชิงปฏิบัติการ และการนิเทศ
3. ผลการพัฒนาการปฏิบัติงานการบริหารทั่วไป โรงเรียนบ้านนาดีวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 พบว่า 1) ด้านการดำเนินงานธุรการมีการแต่งตั้งบุคลากรในการดำเนินงานธุรการ จัดให้มีวัสดุอุปกรณ์ ครุภัณฑ์เอกสาร คู่มือการปฏิบัติงาน เช่นตู้เก็บเอกสาร แฟ้ม ทะเบียนรับ ทะเบียนส่ง มีการจัดเก็บหนังสือราชการอย่างเป็นระบบ ดำเนินงานธุรการให้ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน และติดตั้งระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง 2) ด้านงานกิจการนักเรียน พบว่า มีการควบคุมการแต่งกายการปฏิบัติตน ตลอดจนพฤติกรรมของนักเรียนให้เป็นไปตามกฎระเบียบของโรงเรียน และส่งเสริมสนับสนุนให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมอย่างหลากหลายตามความสนใจและความถนัดของนักเรียน และ 3) ด้านการดูแลอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อมพบว่า มีการกำหนดแนวทางวางแผนการบริหารจัดการอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม บำรุง ดูแล และพัฒนาอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อมให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้ มั่นคง ปลอดภัย และสวยงาม จัดทำป้ายบอกอาคารสถานที่ ตามอาคารต่างๆ ของโรงเรียนและติดตามและตรวจสอบการใช้อาคารสถานที่และสภาพแวดล้อมในโรงเรียน
ABSTRACT
The purposes of this Participatory Action Research (PAR) were 1) to investigate the states and problems ofdeveloping job performance of the general affairs system of Ban Nadi Witthaya School, 2) to determine theguidelines for developing job performance of the general affairs system at Ban Nadi Witthaya School, 3) to follow upand evaluate the development of job performance of the general affairs system in Ban Nadi Witthaya Schoolunder the Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 2. The guidelines used included workshops andsupervision. 2-spiral PAR with 4 steps comprising: planning, action, observation and reflection was applied. Thetarget group consisted of the researcher group- the researcher, and 7 co-researchers along with 15 respondents.Instruments used were composed of a form of observation, a form of interview, a set of questionnaires, tests beforeand after the workshops as well as a form of records. Statistics employed were percentage, mean, standard deviationand Percentage of Progress.
The findings of this study were as follows:
1. The effects of the states and problems of job performance on the general affairs system revealed that:
1) In case of the states of job performance on the general affairs system, it was found that theteachers in charge of the secretarial job came to work irregularly, that is, every other day. The job performancewas not quite systematic. The delivery of the in-coming and out-going documents via e-Office seemed to beretarded and slow. The effects of job performance on the student affairs was inefficient. The school physical plantsand environment were neglected to be left deserted. In fact, they should have been in a serene climate. Thedesks and chairs were left in the conditions of rubbles, for instance. The school environment was not conducive tolearning.
2) In terms of the problems of job performance on the general affairs system, it was determinedthat the teacher in charge of the secretarial job was overloaded with teaching. In addition, the teacher in charge hadto be responsible for this job in two schools simultaneously. The notification of the document arrivals and departuresto those concerned was not in a good condition. Because of a lack of sufficient computers, it caused a problem forthe secretarial job. The students faced a lack of responsibilities in participating on the activities provided. Theirdressing styles were against the school rules and regulations; their behaviors were at risk. The schoolenvironment was not conducive to learning activities. The shortage of the laboratories existed. Some schoolbuildings could not be used for learning activities.
2. The guidelines in developing the general affairs system at Ban Nadi Witthaya School included:study tours, workshops and supervision.
3. The effects of job performance of the general affairs system at Ban Nadi Witthaya Schoolindicated that:
1) There was an official appointment of the teacher in charge of the secretarial job. Materials,utensils and equipment, documents concerned, manuals on job performance were well equipped. Moreover,document cabinets, files, registration of out-going and in-coming documents, storage of official documents weresystematic, accurate and up to date. In addition, the high speed internet system was installed.
2) In case of the students affairs, the control and overseeing of the students, dressing, rule ofconduct in accordance with the school rules and regulations as well as the promotion of the students’participation in all activities provided were implemented.
3) In case of the maintenance of the school physical plants and environment, it was found thatthere was a plan on the management, maintenance, overseeing and development of the school physical plantsand environment to be in the conditions of being ready to be used, stable, safe and beautiful. The signs toinform the exact places in the school premise were provided. In addition,
Article Details
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร