กระบวนการเผยแผ่หลักคำสอนของศาสนาเทนรีเคียวในบริบทสังคมวัฒนธรรมไทย

Main Article Content

นภาพร เตชธุวานันท์

Abstract

งานวิจัยเรื่องกระบวนการเผยแผ่หลักคำสอนของศาสนาเทนรีเคียวในบริบทสังคมวัฒนธรรมไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับศาสนาเทนรีเคียว 2. เพื่อศึกษากระบวนการเผยแผ่หลักคำสอนของศาสนาเทนรีเคียวในบริบทสังคมวัฒนธรรมไทย ผู้วิจัยได้ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้พื้นที่วิจัยจังหวัดมหาสารคามเป็นสถานที่เก็บข้อมูล


            ผลการวิจัยพบว่า องค์ความรู้เกี่ยวกับศาสนาเทนรีเคียวมีองค์ประกอบด้านศาสนาครบทั้ง 5 ด้าน อันได้แก่ 1) ด้านศาสดา คือ พระแม่ศาสดาเจ้าโอะยะซะมะ 2) ด้านคัมภีร์ ศาสนาเทนรีเคียวมี 3 คัมภีร์ ดังนี้ (1) โอะฟุเดะซะคิ (ปลายพู่กัน) คือ พระนิพนธ์ของพระแม่ศาสดาเจ้าโอะยะซะมะ ระหว่างปี พ.ศ. 2412 - 2425 มี 17 ภาค รวมเป็น 1,711 บท เป็นคัมภีร์หลักที่สำคัญที่สุดของศาสนาเทนรีเคียว  (2) มิคะงุระ - อุตะ คือบทเพลงที่พระแม่ศาสดาเจ้าโอะยะซะมะนิพนธ์ไว้สำหรับการปฏิบัติ จึโตะเมะ (3) โอะซะซิซุ                     คำชี้ขาดหรือคำชี้แนะสั่งสอนของพระผู้เป็นเจ้า 3) ด้านสาวก ผู้สืบต่อศาสนา ศาสนาเทนรีเคียวเรียกว่า“ซิมบะซิระ” ตั้งแต่เริ่มตั้งศาสนาด้วยกัน 4 ท่าน องค์ปัจจุบันนี้คือองค์ที่สี่ มีชื่อว่า ท่านเซ็งจิ  นะคะยะมะ 4) ศาสนสถาน คือ โบสถ์ศูนย์กลางของศาสนาเทนรีเคียว ตั้งอยู่ที่เมืองเทนริ จังหวัดนารา ประเทศญี่ปุ่น 5) สัญลักษณ์  คือเครื่องแสดงออกของศาสนาด้านพิธีกรรมและปูชนียวัตถุ สำหรับศาสนาเทนรีเคียวแล้ว จึโตะเมะเป็นพิธีกรรมที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นวิถีทางช่วยเหลือมนุษย์ให้หลุดพ้นและด้านกระบวนการเผยแผ่หลักคำสอนของศาสนาเทนรีเคียวในบริบทสังคมวัฒนธรรมไทย  มีดังนี้ 1) กระบวนการเผยแผ่หลักคำสอนโดยการบรรยายธรรม เป็นการบรรยายขั้นพื้นฐานซึ่งต้องเข้ารับฟังที่โบสถ์ประเทศญี่ปุ่น 2) กระบวน การเผยแผ่หลักคำสอนโดยการบำเพ็ญประโยชน์ ศาสนาเทนรีเคียวออกบำเพ็ญประโยชน์ไปยังโรงเรียนหรือหมู่บ้านที่ห่างไกลความเจริญ โดยการนำหลักธรรมคำสอนสอดแทรกในกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์  3) กระบวนการเผยแผ่หลักคำสอนโดยการรักษาผู้ป่วยด้วยการรำมือ (ซะซุเคะ) คือการรำมือรักษาผู้ป่วย ซึ่งพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้าโอะยะงะมิที่มุ่งไปช่วยเหลือมวลมนุษย์ที่จะช่วยมนุษย์ทุกคนทั่วโลกให้มีชีวิตอันผาสุกเบิกบานใจโดยเร็วที่สุด และ 4) กระบวนการเผยแผ่หลักคำสอนโดยการทำจึโตะเมะทุกต้นเดือนซึ่งการทำจึโตะเมะ หมายถึง วัตรปฏิบัติของศาสนิกชนศาสนาเทนรีเคียว


            ดังจะเห็นได้ว่ากระบวนการเผยแผ่คำสอนของศาสนาเทนรีเคียวส่วนใหญ่แล้วจะเป็นช่วยเหลือผู้คนในด้านต่างๆ ผ่านหลักธรรมคำสอนของพระผู้เป็นเจ้าซึ่งคำสอนของศาสนานี้คือ สอนให้ทำความดี ให้ช่วยเหลือคนอื่น การฟังคำสอนของศาสนาเทนรีเคียวก็ไม่ได้บังคับให้เปลี่ยนหรือหันมานับถือศาสนาเทนรีเคียวแต่อย่างใด เพียงแต่เป็นการรับฟังเพื่อให้เกิดจิตใจที่เบิกบานไปตามคำสอนและในอนาคตเมื่อเห็นว่าคำสอนของศาสนาเทนรีเคียวนั้นสามารถทำให้การดำรงชีวิตดีขึ้นสามารถหันมานับถือศาสนาเทนรีเคียวอย่างเต็มที่ได้  

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

กาญจนา สิงห์ศักดิ์ อุไร หัตกิจและอังศุมา อภิชาโต. (2550). ประสบการณ์ของผู้ป่วยมะเร็งในการใช้สมาธิเยียวยาตนเอง. สงขลา
นครินทร์เวชสาร. 25(1). มกราคม – กุมภาพันธ์ 2550.
กองเผยแผ่ศาสนาเทนรีเคียวในต่างประเทศ. (2539). หลักศาสนาเทนรีเคียว. เทนรี จิโฮเซียะ. นารา ญี่ปุ่น.
ศิริพงศ์ ผการัตน์สกุล. (2550). บิ๊กแบงภายในใจ. มปท.