ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสืบเสาะหาความรู้(5E)ร่วมกับการอ่านอย่างกระตือรือร้น (Active Reading) หน่วยการเรียนรู้เรื่อง พลังงานแห่งแสง เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการอ่านและเจตคติทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการอ่าน (Active Reading) และ
เจตคติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสืบเสาะหาความรู้(5E) ร่วมกับการอ่านอย่างกระตือรือร้น (Active Reading) หน่วยการเรียนรู้เรื่อง พลังงานแห่งแสง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 1 ห้องเรียน ซึ่งได้จากการเลือกสุ่มแบบกลุ่ม (cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสืบเสาะหาความรู้ (5E)ร่วมกับการอ่านอย่างกระตือรือร้น (Active Reading) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ แบบประเมินความสามารถในการอ่าน แบบวัดเจตคติทางวิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิธีการทดสอบ t-test แบบ Dependent sample และการทดสอบ t-test แบบ One sample
ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสืบเสาะหาความรู้(5E) ร่วมกับการอ่านอย่างกระตือรือร้น (Active Reading) สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ความสามารถในการอ่าน สัปดาห์ที่ 3 มีความสามารถในการอ่านสูงกว่าสัปดาห์ที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และเจตคติทางวิทยาศาสตร์หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสืบเสาะหาความรู้(5E) ร่วมกับการอ่านอย่างกระตือรือร้น (Active Reading) สูงกว่าก่อนเรียนโดยมีค่าเฉลี่ย 3.50 ซึ่งอยู่ในระดับดี
This research aims to for using 5E inquiry learning cycle with Active Reading, this study aims to compare among learning achievement, ability to read, and scientific attitude of 4th grade students by conducting learning management with learning units of energy of light. The subjects used for this study are one classroom of 4th grade students that are recruited by performing cluster random sampling. The learning management plan of 5E inquiry learning cycle with Active Reading is used as research tool. In this regard, the Science Achievement Test, the Readability assessment, the scientific attitude test are used. The statistic tools used for analysis were average, percentage, standard deviation and analyzing data include Dependent Sample T-Test and One sample T-Test.
The findings were as follows the posttest score of learning achievement of 4th grade students who participate in learning management by using 5E inquiry learning cycle with Active Reading is statistically significantly higher than pretest score at .05. The learning achievement is statistically significantly higher than the set 70% criterion at .05. Ability to read at week 3 is statistically significantly higher than week 1 at .05. and Scientific attitude of 4th grade students who participate in learning management by using 5E inquiry learning cycle with Active Reading is higher than before participate in the learning management the average score was 3.50 in the good level.
Article Details
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร