การพัฒนาชุดฝึกอ่านและต่อคำคล้องจองตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล ๑ วัดพระงาม (สามัคคีพิทยา)

Main Article Content

ณัฐชยานันต์ ทองธรรมจินดา

Abstract

บทคัดย่อ


               การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดฝึกอ่านและต่อคำคล้องจองตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่าน      คำคล้องจองของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ชุดฝึกอ่านและต่อคำคล้องจองตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน และเปรียบเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 80 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ด้านการต่อคำคล้องจองของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ชุดฝึกอ่านและต่อคำคล้องจองตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน และเปรียบเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 80 และ 4) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนต่อชุดฝึกอ่านและต่อคำคล้องจองตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่าง คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนเทศบาล ๑ วัดพระงาม (สามัคคีพิทยา) จำนวน 24 คน ที่ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 12 เรื่อง คำคล้องจอง จำนวน 17 ชั่วโมง และชุดฝึกอ่านและต่อคำคล้องจอง และ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การอ่านคำคล้องจองจำนวน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การต่อคำคล้องจอง แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนต่อชุดฝึกอ่านและต่อคล้องจอง และแบบสังเกตพฤติกรรมนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที


            ผลการวิจัยพบว่า


  1. ชุดฝึกอ่านและต่อคำคล้องจองตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพ 88.80/89.39 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80

  2. ผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านคำคล้องจองของนักเรียนโดยใช้ชุดฝึกอ่านและต่อคำคล้องจองตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  3. ผลสัมฤทธิ์ด้านการต่อคำคล้องจองของนักเรียนโดยใช้ชุดฝึกอ่านและต่อคำคล้องจองตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  4. ความคิดเห็นของนักเรียนต่อชุดฝึกอ่านและต่อคำคล้องจองตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน

 


คำสำคัญ : ชุดฝึกอ่านและต่อคำคล้องจอง, การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน


Abstract


The purposes of this research were : 1) to develop the Practice Package of the Reading and Creating Consonant Words by Brain-Based Learning (BBL) met the efficient criterion 80/80, 2) to compare the Practice Package of the Reading and Creating Consonant Words by Brain-Based Learning (BBL) met the criterion 80 percent and 3) to compare the creating skill of consonant words of students pretest and posttest by the Practice Package of the Reading and Creating Consonant Words by Brain-Based Learning (BBL) met the criterion 80 percent. And 4) to study the opinions of students about the Practice Package of the Reading and Creating Consonant Words by Brain-Based Learning (BBL). The sample were 24 grade 1 students of Tassaban 1 Watphrangam (Samukkeepittaya) School by cluster random sampling. The research instruments were 17 hours of consonant words lesson plan on twelve unit and reading and creating consonant words practice package and 2) the instruments for collect data were reading test of consonant words, the making consonant words test, questionnaires of students’ opinions toward the Practice Package of the Reading and Creating Consonant Words and Observation the behavior of students. The statistic were mean, percentage, Standard Deviation and t-test.


            The results of this research were as follow:


  1. The Practice Package of the Reading and Creating Consonant Words by Brain-Based Learning (BBL) were met the efficient criterion of 88.80/89.39.

  2. The achievement scores of reading skill the consonant words of students by the Practice Package of the Reading and Creating Consonant Words by Brain-Based Learning (BBL) posttest were higher than pretest and higher the 80 percent significantly at .05 level.

  3. The achievement scores of creating the consonant words of students by the Practice Package of the Reading and Creating Consonant Words by Brain-Based Learning (BBL) posttest were higher than pretest and higher the 80 percent significantly at .05 level.

  1. The opinions of students about the Practice Package of the Reading and

   Creating Consonant Words by Brain-Based Learning (BBL) was at the


   high level.


Keywords : The Practice Package of the Reading and Creating Consonant Words., Brain-Based Learning. (BBL)

Article Details

Section
บทความวิจัย