การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู โรงเรียนส่องดาววิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23
Main Article Content
Abstract
กงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 2) หาแนวทางพัฒนาศักยภาพการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนส่องดาววิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 3) ศึกษาผลการพัฒนาศักยภาพครูผู้สอนด้านการทำวิจัยในชั้นเรียนของโรงเรียนส่องดาววิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (ActionResearch : AR) ดำเนินการ 2 วงรอบ แต่ละวงรอบประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) การวางแผน (Planning) 2) การปฏิบัติการ(Action) 3) การสังเกตการณ์ (Observation) และ 4) การสะท้อนกลับ (Reflection) กลุ่มเป้าหมายของการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้วิจัยและกลุ่มผู้ร่วมวิจัย จำนวน 12 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบทดสอบ แบบสอบถาม แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบประเมินผลการประชุมเชิงปฏิบัติการ แบบประเมินรายงานการวิจัยในชั้นเรียน แบบบันทึกแบบมีโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละความก้าวหน้าการตรวจสอบข้อมูลเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) จัดหมวดหมู่ของเนื้อหาและนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์ผลการวิจัยพบว่า1. ผลการศึกษาสภาพและปัญหาในการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนส่องดาววิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 จากการศึกษาปรากฏผลดังนี้1.1 สภาพ การทำวิจัยในชั้นเรียน พบว่า ครูขาดความรู้ความเข้าใจในการทำวิจัยในชั้นเรียน ตั้งแต่การกำหนดปัญหาการวิจัย การตั้งสมมติฐาน การออกแบบการวิจัย ตลอดจนการสร้างเครื่องมือหรือนวัตกรรม1.2 ปัญหา การทำวิจัยในชั้นเรียน พบว่า ครูมีปัญหาในการเขียนรายงานวิจัยในชั้นเรียน โดยเฉพาะการเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียนแบบเป็นทางการ เนื่องจากต้องใช้เวลามาก และขาดผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบความสมบูรณ์ และความถูกต้องของงานวิจัย2. แนวทางการพัฒนาศักยภาพในการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนส่องดาววิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ซึ่งประกอบด้วย1) การประชุมเชิงปฏิบัติการ2) การดำเนินการนิเทศ การวิจัยครั้งนี้ ใช้การนิเทศ 2 วิธี คือ การนิเทศภายใน และการนิเทศแบบให้คำชี้แนะ3. ผลการพัฒนาศักยภาพในการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนส่องดาววิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ปรากฏผลดังนี้3.1 ผลจากการประชุมเชิงปฏิบัติการ พบว่า กลุ่มผู้ร่วมวิจัย มีความรู้ความเข้าใจด้านการวิจัยในชั้นเรียนอยู่ในระดับพอใช้ ( = 65.38) โดยมีร้อยละความก้าวหน้า 40.61 3.2 ผลการดำเนินการนิเทศ3.2.1 ความสามารถในการทำวิจัยในชั้นเรียน โดยรวมจากการนิเทศภายใน ในวงรอบที่ 3 พบว่าอยู่ในระดับ ดี( = 4.07)3.2.2 การนิเทศภายในเพื่อติดตามการใช้กระบวนการวิจัยในชั้นเรียน การพัฒนาวิธีการหรือนวัตกรรม และนำวิธีการหรือนวัตกรรมไปใช้ในวงรอบที่ 1 พบว่า ผู้ร่วมวิจัยสามารถวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับผู้เรียนเป็นรายบุคคล และหาแนวทางการแก้ปัญหาได้ โดยการจัดทำเป็นสื่อการเรียนการสอน ชุดการสอน แบบฝึกเสริมทักษะการพัฒนาแผนการสอน การใช้วิธีการสอนแบบต่างๆ สามารถพัฒนานวัตกรรมการสอน มีการทดลองใช้นวัตกรรมกับนักเรียนและบันทึกผลเป็นระยะๆ แต่ผู้ร่วมวิจัย ส่วนใหญ่วิเคราะห์ข้อมูลยังไม่ถูกต้องสมบูรณ์ ใช้ภาษายังไม่ค่อยสละสลวย การสรุปผลการวิจัยยังไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ การดำเนินการนิเทศแบบชี้แนะ ในวงรอบที่ 2 พบว่า ผู้ร่วมวิจัยวิเคราะห์ข้อมูลได้ถูกต้องสมบูรณ์ ใช้ภาษายังสละสลวยขึ้น การสรุปผลการวิจัยสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การวิจัย3.2.3 การประเมินการเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียนของกลุ่มผู้ร่วมวิจัยในวงรอบที่ 1 พบว่า การเขียนรายงานการวิจัยโดยรวมอยู่ในระดับดี ( = 4.38) ในวงรอบที่ 2 อยู่ในระดับ ดีมาก ( = 4.63)3.2.4 การเขียนรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ ของกลุ่มผู้วิจัยในวงรอบที่ 2 มีความสมบูรณ์โดยรวมอยู่ในระดับดี( =4.28) ในวงรอบที่ 2 อยู่ในระดับดีมาก ( =4.61)
Article Details
Section
บทความวิจัย
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร