ยุทธศาสตร์การพัฒนาแนวทางการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ของสาขาการพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

Main Article Content

จันทนา ศรีวรสาร
จันทนา ศรีวรสาร

Abstract

ชื่อเรื่อง                   ยุทธศาสตร์การพัฒนาแนวทางการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ


                             ของสาขาวิชาการพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และ


                             สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร


ผู้วิจัย                     นางสาวจันทนา  ศรีวรสาร


กรรมการที่ปรึกษา     ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พุฑฒจักร  สิทธิ


                             และดร.ปทุมทิพย์  ม่านโคกสูง


ปริญญา                  ศศ.ม. (ยุทธศาสตร์การพัฒนา)


สถาบัน                   มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร


ปีการศึกษา              2560


 


บทคัดย่อ


 


             การจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาของประเทศไทย การผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง และการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษาที่จบออกไป จึงเป็นส่วนสำคัญของคุณภาพในการจัดการศึกษา ความมุ่งหมายของการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และแนวทางการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ของสาขาวิชาการพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนครและ 2) สร้างยุทธศาสตร์การพัฒนาแนวทางการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ของสาขาวิชาการพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนครและ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ประกอบด้วย นักศึกษาสาขาวิชาการพัฒนาชุมชน ชั้นปีที่ 4 ที่กำลังออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพการพัฒนาชุมชน ปีการศึกษา 2559 จำนวน 30 คน อาจารย์ประจำสาขาวิชาการพัฒนาชุมชน จำนวน 6 คน และพัฒนาการอำเภอหรือผู้ได้รับมอบหมายในการเป็นพี่เลี้ยงนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ (18 อำเภอ) จำนวน 18 คน รวมทั้งสิ้น 54 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ 2) การประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เพื่อหาข้อมูลในการสร้างยุทธศาสตร์การพัฒนา และการปรับปรุงยุทธศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


 


 


             ผลการวิจัยพบว่า


  1. 1. สภาพปัจจุบัน การฝึกประสบการณ์วิชาชีพของสาขาวิชาการพัฒนาชุมชน พบว่า 1) การจัดส่งนักศึกษาออกไปฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ณ สำนักงานพัฒนาชุมชนของ 18 อำเภอ เป็นเวลา 4 เดือน สำนักงานจัดดูแลมอบหมายงานการฝึกประสบการณ์ของนักศึกษา ภาระงานการฝึกงานในสำนักงาน คือ งานธุรการ และงานภายนอกสำนักงาน เพื่อเป็นการปฏิบัติงานโครงการในชุมชน เป็นต้น 2) การปฏิบัติงานในโครงการต่างๆที่เป็นภาระงานตามนโยบายรัฐบาล เช่น โครงการประชารัฐ โครงการที่เกี่ยวกับการพัฒนา OTOP3) การออกนิเทศนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ของอาจารย์ประจำสาขาวิชาการพัฒนาชุมชน โดยมีคำสั่งของมหาวิทยาลัย เพื่อให้อาจารย์ออกนิเทศนักศึกษา อย่างน้อย 1 ครั้ง ของภาคเรียนที่มีการส่งนักศึกษาไปฝึกงานพัฒนาชุมชน

  2. ปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันการฝึกประสบกาณ์วิชาชีพ มี 2 ระยะ คือ ปัญหาการเตรียมการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ และปัญหาขณะฝึกประสบการณ์วิชาชีพ พบว่า การบริหารจัดการ การวางแผนการเตรียมการก่อนฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ของสาขาวิชาการพัฒนาชุมชนขาดการประชุมที่ต่อเนื่อง ขาดการสรุปบทเรียน และปัญหาขณะการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ นักศึกษายังขาดทักษะในด้านงานธุรการ ด้านการใช้คอมพิวเตอร์ และปัญหาด้านขาดการจัดการนิเทศนักศึกษาที่ดี งบประมาณการนิเทศนักศึกษามีจำนวนจำกัด และขาดบุคลากรหรืออาจารย์ที่จะออกนิเทศนักศึกษา ในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

  3. การสร้างยุทธศาสตร์การพัฒนาแนวทางการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ผลการศึกษาได้ยุทธศาสตร์การพัฒนา ดังนี้ 1) ยุทธศาสตร์การพัฒนาแผนการเรียนการสอนในรายวิชาการเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพการพัฒนาชุมชน 2) ยุทธศาสตร์การพัฒนากระบวนการการฝึกประสบการณ์วิชาชีพด้านการพัฒนาชุมชน และ3) ยุทธศาสตร์การพัฒนาคู่มือการฝึกประสบการณ์วิชาชีพการพัฒนาชุมชน

  4. การถ่ายทอดและเผยแพร่ยุทธศาสตร์การพัฒนาแนวทางการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ของสาขาวิชาการพัฒนาชุมชน โดยการจัดทำบทสรุปสำหรับผู้บริหารยุทธศาสตร์การพัฒนาแนวทางการฝึกประสบการณ์วิชาชีพการพัฒนาชุมชน ให้แก่หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน

            


คำสำคัญ : ยุทธศาสตร์การพัฒนา, แนวทางการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ,


สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน


TITLE                         Strategy to Develop a Guideline for Professional Experience Training of the Community Development Program, Faculty of Humanities and Social Sciences, Sakon Nakhon Rajabhat University


AUTHOR                     Jantana  Srivorasan


ADVISORS                   Asst. Prof. Dr. BhuddhachakSitthi


                                 Dr. PratumtipMankoksung


DEGREE                      M.A. (Development Strategy)


INSTITUTION               Sakon Nakhon Rajabhat University


 


ABSTRACT


                                          In the production of prospective quality graduates in higher learning management of Thailand, professional experience training provided for them is an important part. The purposes of this study thus were: 1) to investigate the current state and problem and find a guideline for professional experience training of the community development program, Faculty of Humanities and Social Sciences, Sakon Nakhon Rajabhat University, and 2) to create a strategy to develop a guideline for professional experience training of the community development program, Faculty of Humanities and Social Sciences, Sakon Nakhon Rajabhat University. The samples used in the study as selected by purposive sampling were 30 senior students who were going to get trained in professional experience of community development in academic year 2016, 6 lecturers of the community development program, 18 chiefs of district development or persons assigned to be a mentor of students who got trained (18 districts), totaling 54 people. The instruments used in data collection were: 1) an interview guide, 2) participatory workshops for finding data in creating strategies and improving them. Statistics used were mean and standard deviation.


                                          The findings were as follows:


  1. The current state of professional experience training of the

community development program was found that: 1) the students were sent to get trained in the Office of Community Development of each of 18 districts for 4 months. The office of each district assigned them to do clerical work in the office and work outside the office for practice in some community projects. 2) They practiced in different projects according to the government policy such as the civil-state project, the OTOP development project. 3) The lecturers of the community development program were required to supervise students at least once for the practical training semester.


  1. The problems of professional experience training were found in 2

phases: problem in preparation of training, and problem while practicing the training. The former problem was found in management such as planning of the preparation lacking continuous meetings and lacking the conclusion of lessons learned. The latter problem was found that the trained students lacked skill in clerical work and in computer usage; and the operation of supervising students was inefficient since the budget was quite limited and lecturers for supervision of students that went to get fieldwork training were insufficient.


  1. The development of a guideline for profession experience training

of the community development program can be planned into 4 strategies: 1) strategy to develop the instructional plan in the professional experience training course, 2) strategy to develop the process of professional experience training in community development, and 3) strategy to develop a manual of training the professional experience in community development.


  1. The transmission and dissemination of the strategy in development

of a guideline for professional experience training of the community development program can be achieved by preparation of summary on a training guideline for strategy development administrators of all related agencies.


 


Keywords: Development Strategy, Guideline for Professional Experience Training, Community Development Program

Article Details

Section
บทความวิจัย