ยุทธศาสตร์การพัฒนาการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับกองทุนหมุนเวียนเพื่อการกู้ยืมแก่เกษตรกรและผู้ยากจน อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา การประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับกองทุนหมุนเวียนเพื่อการกู้ยืมแก่เกษตรกรและผู้ยากจน อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร และ 2) สร้างยุทธศาสตร์การพัฒนาการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับกองทุนหมุนเวียนเพื่อการกู้ยืมแก่เกษตรกรและผู้ยากจน อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา โดยใช้การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง 2) การสร้างยุทธศาสตร์การพัฒนา โดยใช้ การประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 3) การปรับปรุงยุทธศาสตร์การพัฒนา และ 4) การเผยแพร่ยุทธศาสตร์การพัฒนาพัฒนาการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับกองทุนหมุนเวียนเพื่อการกู้ยืม แก่เกษตรกรและผู้ยากจน อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
- ผลการศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับกองทุนหมุนเวียนเพื่อการกู้ยืมแก่เกษตรกรและ ผู้ยากจน อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร พบว่า ปัจจุบันมีการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับกองทุนหมุนเวียนเพื่อการกู้ยืมแก่เกษตรกรและผู้ยากจน ผ่านสื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์ 3 ด้าน ได้แก่ สื่อบุคคล สื่อเฉพาะกิจ และสื่อกิจกรรม และจากการศึกษาสื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์ดังกล่าวข้างต้น พบว่ามีสภาพปัญหา ดังนี้ 1) ด้านสื่อบุคคล พบปัญหา คือ บุคลากรขาดความรู้ความสามารถในการดำเนินงานประชาสัมพันธ์และจำนวนบุคลากรไม่เพียงพอต่อภาระงานการประชาสัมพันธ์ในปัจจุบัน 2) ด้านสื่อเฉพาะกิจ พบปัญหา คือ แผ่นพับและป้ายไวนิล มีรายละเอียดเนื้อหายาก มีภาษาเฉพาะ ยากต่อการเข้าใจ นอกจากนี้ยังพบว่าจำนวนแผ่นพับที่แจกจ่ายไม่เพียงพอต่อการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของเกษตรกรและผู้ยากจน และ 3) ด้านสื่อกิจกรรม พบปัญหาคือ สื่อกิจกรรมไม่เพียงพอต่อการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของเกษตรกรและผู้ยากจน สถานที่และช่วงเวลาในการประชาสัมพันธ์ไม่เหมาะสม
- การสร้างยุทธศาสตร์การพัฒนาการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับกองทุนหมุนเวียนเพื่อการกู้ยืมแก่เกษตรกรและผู้ยากจน อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1) ยุทธศาสตร์การพัฒนาประสิทธิภาพสื่อประชาสัมพันธ์ 2) ยุทธศาสตร์การพัฒนาการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้าง ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกองทุนหมุนเวียนเพื่อการกู้ยืมแก่เกษตรกรและผู้ยากจน 3) ยุทธศาสตร์การพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถด้านการประชาสัมพันธ์ และ 4) ยุทธศาสตร์การพัฒนาความร่วมมือเครือข่ายทุกภาคส่วน ในการสนับสนุนการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับกองทุนหมุนเวียนเพื่อการกู้ยืมแก่เกษตรกรและ ผู้ยากจน ส่วนการประเมินยุทธศาสตร์การพัฒนาการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับกองทุนหมุนเวียนเพื่อการกู้ยืมแก่เกษตรกรและผู้ยากจน อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร โดยรวมผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด
คำสำคัญ: ยุทธศาสตร์การพัฒนา, การประชาสัมพันธ์, กองทุนหมุนเวียนเพื่อการกู้ยืมแก่เกษตรกรและผู้ยากจน
ABSTRACT
This study aimed: 1) to investigate the current state and problem of public relations of the revolving loan fund for farmers and the poor in Mueang Sakon Nakhon district, Sakon Nakhon province, and 2) to create a strategy to develop public relations of the revolving loan fund for farmers and the poor in Mueang Sakon Nakhon district, Sakon Nakhon province. The study process was divided into 4 steps: 1) studying the current state and problem by using semi-structured interview, 2) creating a development strategy by using a participatory workshop, 3) improving the development strategy, and 4) disseminating the strategy to develop public relations of the revolving loan fund for farmers and the poor in Mueang Sakon Nakhon district, Sakon Nakhon province. Statistics used in the study were mean and standard deviation.
The findings were as follows:
- The results of studying the current state and problem of public relations of the revolving loan fund for farmers and the poor in Mueang Sakon Nakhon district, Sakon Nakhon province found that a public relations exercise concerning the revolving loan fund for farmers and the poor was currently undertaken through the 3 aspects of public relations media, namely personal media, specialized media, and activity media. From the study of public relations media mentioned above, the problems were as follows: 1) Personal media. The problem found was that the staff lacked knowledge and ability of a public relations exercise and the number of them were not enough for the current public relations workload. 2) Specialized media. The problem found was that brochures and vinyl banners had difficult content details, and a specialized language was difficult to understand. It also found that the number of brochures distributed was insufficient for the information perception of farmers and the poor. 3) Activity media. The problem found was that activity media were insufficient for the information perception of farmers and the poor, and the location and time in public relations were not appropriate.
- The creation of strategy to develop public relations of the revolving loan fund for farmers and the poor in Mueang Sakon Nakhon district, Sakon Nakhon province comprised 4 strategies : 1) strategy to develop efficiency of the public relations media, 2) strategy to develop public relations for creating knowledge and understanding of the revolving loan fund for farmers and the poor, 3) strategy to develop the staff to be knowledgeable and competent in public relations, and 4) strategy to develop cooperation in all sectors of the network for support of public relations of the revolving loan fund for farmers and the poor. The assessment of strategy to develop public relations of the revolving loan fund for farmers and the poor in Mueang Sakon Nakhon district, Sakon Nakhon province as a whole by experts showed its appropriateness at the highest level.
Keywords: Development Strategy, Public Relations, Revolving Loan Fund for Farmers and the Poor
Article Details
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร