แนวทางการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารและการจัดการศึกษา ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19

Main Article Content

ดรัลรัตน์ ฮามพิทักษ์

Abstract

บทคัดย่อ


                    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการมีส่วนร่วม เปรียบเทียบสภาพการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19 จำแนกตาม ตำแหน่งหน้าที่ วุฒิการศึกษา  อาชีพและเพื่อพัฒนาแนวทางการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19  จำนวน 240 คน ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างโดยใช้เทคนิคการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามแบบปลายปิด ปลายเปิดและแบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .984 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ(Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) ด้วยสถิติเอฟ (F-test) และการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ โดยวิธีการของเชฟเฟ่ () และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา


               ผลการวิจัยปรากฏว่า


  1. 1. สภาพการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้านด้านมีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านการบริหารงานบุคคลรองลงมาคือ ด้านการบริหารทั่วไปส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือด้านการบริหารงบประมาณ

  2. 2. การเปรียบเทียบสภาพการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ วุฒิการศึกษา และอาชีพ พบว่า โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่ามีด้านการบริหารทั่วไปแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกนั้นไม่แตกต่าง

            3. แนวทางในการพัฒนาการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารและการจัดการศึกษาของโรงเรียน พบประเด็นสำคัญ 3 ประการคือ 1) ควรส่งเสริม สนับสนุนให้คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วม และบทบาทอย่างเต็มที่ตามกฎหมาย 2) ชุมชนควรมีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางระดมทรัพยากรต่างๆในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา และ3) ควรส่งเสริม สนับสนุนให้มีคณะทำงานที่ประกอบด้วยบุคคลหลายฝ่ายและสถานศึกษาต้องให้บริการกับชุมชนอย่างเสมอภาค


Abstract


                The objectives of the research were to study the conditions on participation of basic education committee under Secondary Educational Service Area Office 19, to compare the conditions on their participation, classified by administrative positions, educational levels and occupations, and to develop the guidelines on their participation. The research samples were totally 240 members of basic educational committee under Secondary Educational Service Area Office 19, selected by the stratified random sampling method. The research instrument was the closed-end and open-end questionnaire with the entire reliability of .984. The statistics used for data analysis were comprised of frequency, percentage, mean, standard deviation, T-test and one-way ANOVA with the F-test method. In case paired differences were found the Scheffé’s method was utilized. The qualitative data were analyzed by the content analysis.


               The research results were found as follows:


  1. The conditions on participation of basic education committee under Secondary Educational Service Area Office 19 were found to be overall at a high level and in each aspect. Considered in each aspect, they were found to be at a high level. The personmanagement was found to be at the highest level, followed by the general management, and the budget management was found to be at the lowest level.

  2. The comparison of conditions on participation of basic education committee under Secondary Educational Service Area Office 19, classified by administrative positions, educational levels and occupations, were found not to be overall different. Considered in each aspect, the general management was only found to be different at a statistically significant level of .05, but other aspects were not found to be different.

            3. The guidelines on the development of participation of basic education committee under Secondary Educational Service Area Office 19 were found three main issues: 1) basic educational committee and parents should be legally supported and encouraged to participate and play their roles, 2) the community should be participated in allotment of resources for education quality development, and 3) an ad hoc committee of personnel from several sectors should be promoted and the community should be provided with equal services.

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง
กระทรวงศึกษาธิการ. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2553 (ฉบับ
ที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2553.
_______. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศ
ไทย, 2552.
_______. แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: โรง
พิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2546.
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. แนวทางการดำเนินงานของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2543.
_______. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2542.
สำนักงานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. คู่มือปฏิบัติงานคณะกรรมการการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา, 2547.
_______. บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2546.
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พุทธศักราช 2546. (2546, 23 กรกฎาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่
127 ตอนที่ 45 ก. หน้า 4.
รุ่ง แก้วแดง. การจัดหลักสูตรการศึกษาเพื่อสอนองตอบความต้องการของผู้เรียนและความเหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น.
วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช, ปีที่ 3 (ฉบับที่ 3), หน้า 15-16. 2533.
กําจร เสมสว่าง. (2559). การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารโรงเรียนวัดเกาะสุวรรณาราม
สำนักงานเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ ค.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
จามจุรี อ่อนเย็น. (2558). การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาสุราษฎรธานี เขต 1 ในอำเภอเกาะสมุย. วิทยานิพนธ์ ค.ม. สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
จารุณี เหนือเกาะหวาย. (2556). การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในสถานศึกษาสังกัดเมืองพัทยา. กรุงเทพฯ:
มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.
ชาติชาย ฤทธิ์น้ำ. (2546). การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาระหว่างชุมชนและโรงเรียนสังกัดเทศเมืองเชียงราย. วิทยานิพนธ์ ค.ม.
เชียงราย: สถาบันราชภัฏเชียงราย.
ประพนธ์ กระแสพันธ์. (2554). การมีส่วนร่วมของคระกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารสถานศึกษา เขตคุณภาพ
กบินทร์บุรี 7 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. ชลบุรี: มหาวิทยาลัย
บูรพา.
ประสงค์ กลิ่นบรม. (2550). การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนในกลุ่มโรงเรียน
บ้านแซว อำเภอเชียงแสน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 3. การศึกษาอิสระ ค.ม. เชียงราย: มหาวิทยาลัย
ราชภัฏเชียงราย.
ราตรี พูลพัฒน์. (2553). การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารงานของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์เขต 3. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี.
วนาสวรรค์ ช่างเกวียน. (2552). บทบาทการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารจัดการศึกษาของ
สถานศึกษาในอำเภอด่านขนทด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 5. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. กรุงเทพฯ:
มหาวิทยาลัยเซนต์จอหน์.
วรพันธุ์ พลเดช. (2550). การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1. วิทยานิพนธ์ ค.ม. บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
ว่าที่ร้อยตรีถวิล เกษสุพรรณ์. (2552). การศึกษาสภาพการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารงาน
โรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานีเขต 5. วิทยานิพนธ์ ค.ม. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราช
ภัฎอุบลราชธานี.
วิกุล พรมโสภา. (2553). การปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามความคิดเห็นของผู้บริหารและ
ครูผู้สอนโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3. วิทยานิพนธ์ ค.ม. บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏ
บุรีรัมย์.
สามารถ จันหา.(2555). การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาในพื้นที่พิเศษเขต
อำเภอศรีสวัสดิ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ ค.ม. กาญจนบุรี:
มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.
สุชาติ ติ่งหมาย. (2546). ปัจจัยเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนมัธยม สังกัดกรมสามัญ
ศึกษา จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ ค.ม. เชียงราย: สถาบันราชภัฏเชียงราย.
หนูอาง สมสมัย. (2550). การศึกษาความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อการมีส่วนร่วมในการบริหารโรงเรียนของ
ผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 1. วิทยานิพนธ์ ค.ม. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราช
ภัฎอุบลราชธานี.