ปัญหาและแนวทางการจัดการศึกษาปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดหนองบัวลำภู

Main Article Content

นิจรา สารีอาจ

Abstract

บทคัดย่อ


            การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาในการจัดการศึกษาปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดหนองบัวลำภู 2) เพื่อเปรียบเทียบปัญหาในการจัดการศึกษาปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดหนองบัวลำภู ตามความคิดเห็นของบุคลากรศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 3) เพื่อหาแนวทางการจัดการศึกษาปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดหนองบัวลำภู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างประชากรโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 280 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณได้แก่ ความถี่ (Frequency)  ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One -Way ANOVA) โดยใช้การทดสอบค่าเอฟ  (F-test) และหากพบการแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จะทำการทดสอบด้วยการวิเคราะห์เปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe) และสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)


            ผลการวิจัยพบว่า


            1) ปัญหาการจัดการศึกษาปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดหนองบัวลำภู โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ 1) ด้านการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2) ด้านบุคลากร 3) ด้านวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตร 4) ด้านส่งเสริมเครือข่ายการพัฒนาเด็กปฐมวัย 5) ด้านอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อม และความปลอดภัย และ6) ด้านการมีส่วนร่วมและการสนับสนุนจากทุกภาคส่วน


            2) ผลการเปรียบเทียบปัญหาการจัดการศึกษาปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดหนองบัวลำภู จำแนกตามระดับการศึกษา ตำแหน่งหน้าที่ ประสบการณ์ในการทำงานและหน่วยงานที่สังกัดโดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านตำแหน่งหน้าที่ จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน และหน่วยงานต้นสังกัด มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05


            3) แนวทางการจัดการศึกษาปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดหนองบัวลำภู สรุปได้ดังนี้ 1) ด้านการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ควรมีการกำหนดนโยบาย แผนและงบประมาณประจำปี จัดหาบุคลากรที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับตำแหน่ง มีการนิเทศ กำกับติดตามตรวจสอบการปฏิบัติงานของบุคลากรอย่างเป็นระบบ 2) ด้านบุคลากร ควรจัดหาบุคลากรทางการศึกษาให้มีจำนวนเพียงพอและสอดคล้องกับจำนวนเด็ก  มีคุณสมบัติและความเหมาะสมตรงตามตำแหน่งหน้าที่ 3) ด้านอาคารสถานที่สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย  ควรจัดทำแผนพัฒนา ปรับปรุงซ่อมแซมอาคารสถานที่สิ่งแวดล้อมให้มีความปลอดภัยและเพียงพอ 4) ด้านวิชาการ และกิจกรรมตามหลักสูตร ควรส่งเสริมให้บุคลากรมีความรู้เกี่ยวกับหลักสูตรและกระบวนการจัดการเรียนรู้มากขึ้น เช่นการจัดทำแผน การทำวิจัย การสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ การสอนแบบโครงงานและควรมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาประเมินการจัดการศึกษาให้ได้มาตรฐานตรงตามหลักสูตรแกนกลางที่กำหนด 5) ด้านการมีส่วนร่วม และการสนับสนุนจากทุกภาคส่วน ควรให้คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้นำชุมชน ผู้ปกครองนักเรียน ชุมชน นักเรียน มีส่วนร่วมมือในการจัดกิจกรรมต่างๆ มีการสร้างเครือข่ายหรือคณะกรรรมการศูนย์ฯเพื่อเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆอย่างต่อเนื่อง 6) ด้านส่งเสริมเครือข่ายการพัฒนาเด็กปฐมวัย  ควรมีการส่งเสริมให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีการสร้างเครือข่ายทั้งระดับตำบล อำเภอและจังหวัด มีการส่งเสริมให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กดำเนินงานอย่างมีคุณภาพและได้มาตรฐาน.


Abstract


            The objectives of this research were : 1) to study problems of early childhood educational management of the childhood development centers under local government organizations in Nong Bua Lum Phu Province 2) to compare the problems of early childhood educational management of the childhood development centers under local government organizations in Nong Bua Lum Phu Province  according to opinions of personnel in the  centers and 3) to investigated the guidelines of early childhood educational management of the childhood development centers under local government organizations in Nong Bua Lum Phu Province . The samples of this research were total 280 persons who were working in the centers, selected from a total population through the table of Krejecie and Morgan. The instrument of the research used to collect data was the rating-scale questionnaire with the entire validity of 0.981. The statistics used to analyze the data were comprised of frequency, percentage, mean, standard deviation. The t-test for independent samples and the one-way analysis of variance (ANOVA) by using F-test. In case paired differences were found, the Scheffe’s method was utilized. The data obtained from the interview were analyzed by content analysis.


            The research findings were found as follows:


  1. The problems of early childhood educational management of the childhood development centers under local government organizations in Nong Bua Lum Phu Province were overall found at moderate level. The problems were ranged in descending order by their mean values as follows: 1) the management of the Child Development Center 2) the personnel 3) the academic and curriculum activities 4) followed by the network to promote early childhood development 5) the building and environment and safety 6) participation and support of all sectors respectively.

  2. The comparison of the problems, classified by their educational levels, positions, working experiences, school type. The samples had no overall difference and in each aspect. However, considered each aspect, classified by school type and working experience was found to be different at a statistically significant level of .05.

  3. The guidelines of early childhood educational management as follows: 1) for the aspect of the center management, should provide a policy, annual plan and budgets and supervise and monitor the personnel’s performance systematically 2) for the aspect of the personnel, should provide a sufficient educational personnel and  appropriate to his position 3) for the aspect of   the building, should Provide a plan for developing and restoring the buildings and environment to be safe and enough to amount of the students 4) for aspect of  the environment and safety, should provide more knowledge  about educational curriculum and learning process such as making a plan, research ,innovation, project-based teaching to the personnel and  should be assessed by the related  education  agencies according to the core curriculum 5) for the aspect of  the academic , should give the school educational committees, community leaders, students’ parents and students have participation in the activities of the centers and 6) for the aspect of the curriculum activities, should encourage the child development center to create a network at the all levels: sub-district, districts and province .Encouraged the centers  to work with a  standardized quality.

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2553). มาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ:
กระทรวงมหาดไทย.
.(2548). คู่มือการติดตามและประเมินผลการจัดทำและแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติขององค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: กระทรวงมหาดไทย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติพุทธศักราช 2542 แกไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545.
กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
นภเนตร ธรรมบวร. (2544). การประเมินผลพัฒนาการเด็กปฐมวัย (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2535). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.
ล้วน สายยศและอังคณา สายยศ. 2543. เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่3. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ปฏิบัติหน้าที่สำนักงานเลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาราจักรไทย
พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: สำนักการพิมพ์สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.
ภรณี คุรุรัตนะ (2540). เด็กปฐมวัยในท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลง, วารสารการศึกษาปฐมวัย, 1(1), 43-51.
กิตติศัพท์ ใจทน. (2555). มาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอแม่สรวย จังหวัด
เชียงราย. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. (การบริหารการศึกษา). เชียงราย : สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.
จรรยา ชินสี. (2552). แนวทางพัฒนาการจัดการศึกษาระดับ ปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขต อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่.
การศึกษาค้นคว้าอิสระ ศษ.ม. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ธันย์ธิชา ใต้อุดม. (2556). การศึกษาปัญหาการจัดการศึกษาปฐมวัยตามมาตรฐานการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัด
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา). พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยราชภัฏ
พิบูลย์สงคราม.
เบญจวรรณ ศรศรี. (2556). การบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอวังทรายพูน จังหวัด
พิจิตร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต (การศึกษาปฐมวัย). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
รัชนี ธาดา. (2555). การบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตามมาตรฐานการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัด
อุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา). อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
วาสินี สารบรรณ. (2555). การศึกษาสภาพและปัญหาของการดำเนินการดูแลเด็กเล็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัด
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา). อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัย
ราชภัฏอุบลราชธานี.
สุดารัตน์ อึ้งสกุล. (2551). สภาพและปัญหาการจัดการศึกษาปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ปริญญา
ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สุนัน ขันทะสิทธิ. (2552). การศึกษาการจัดการศึกษาปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเลย.
ปริญญานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา). เลย : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
อุษารัตน์ สาบา .(2557). สภาพการจัดการศึกษาปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล ในจังหวัดยะลา.
วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-
2559). เข้าถึงได้จาก https:// www.nesdb.go.th/ Default.axpx? tabid395 วันที่ค้น 1 ตุลาคม 2560.