ความคิดเห็นต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ความคิดเห็นต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

Main Article Content

อิสระพงศ์ ถนัดค้า

Abstract

วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ปีงบประมาณ 2558 จำนวน 148 คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.85 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test และค่า F-test และทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีของ LSD ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคลของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิที่เป็นกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 54.05 อายุ 30-39 ร้อยละ 63.51 ระดับการศึกษา ปริญญาตรี ร้อยละ 64.19 รายได้ต่อเดือน ตั้งแต่ 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 43.92 ระยะเวลาในการปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิตั้งแต่ 4-6 ปี ร้อยละ 32.43 2) ความคิดเห็นต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ลำดับแรกคือ ด้านงานที่ปฏิบัติ, ด้านความมั่นคงในการทำงาน, ด้านรายได้ค่าตอบแทน, ด้านการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร, ด้านโอกาสก้าวหน้าในการทำงาน และด้านสวัสดิการ 3) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า บุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน และระยะเวลาในการปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ                มีความคิดเห็นต่อการปฏิบัติงานในภาพรวมไม่แตกต่างกัน


The research aims to study and compare opinions on the practice of the personal in Chaiyaphum Rajabhat University. The sample are 148 persons in 2015 AD. The tools used for collecting data is questionnaire has the confidence equals to 0.85. The statistic used to analyze data is percentage, arithmetic mean, standard deviation, and the t-test, F-test used to compare the difference. To test the difference in LSD. Research result  1) The study opinions on the practice of the personal in Chaiyaphum Rajabhat University was female = 54.05 percent, age is 30-39 years old = 63.51 percent, Bachelor’s degree = 64.19 percent, income in 10,001-20,000 baht = 43.92 percent, time of work in 4-6 years old = 32.43 percent.          2)  The study opinions on the practice of the personal in Chaiyaphum Rajabhat University of total was moderate. When considered by aspect it was found that the highest opinion level was the practice, followed with personal resources and the lowest level was benefits. 3) The result of hypothesis is the personal in Chaiyaphum Rajabhat University towards personnel factors classified by gender, age, education, income, time of work and the type of personnel not difference.

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

(กองกลาง, งานการเจ้าหน้าที่, สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ. (2557).
คู่มือการปฏิบัติงาน การประเมินเพื่อปรับเปลี่ยนสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย
โครงสร้างขอบเขตภาระงานสำนักงานคณบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ. (2557).
คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์. http//faculty.cpru.ac.th/faculty2014/data/
002.pdf สืบค้นวันที่ 12 กันยายน 2557.
ความพึงพอใจหมายถึง?. (2559). สืบค้นจาก
https://www.im2market.com/2015/11/17/2049
สืบค้นวันที่ 10 ตุลาคม 2559.
จริยา สรสิทธิ์. (2552). ความคิดเห็นต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏ
นครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตสาขาการจัดการทั่วไป
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
ธีระ รุญเจริญ. (2553). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษา ยุคปฏิรูป
การศึกษาเพื่อปฏิรูปรอบ 2 และประเมินภายนอกรอบ 3. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ :
ห้างหุ้นส่วนจำกัดนวสาส์นการพิมพ์.
บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาสน์. 2545.
ประกาศสภามหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ. (20 ธันวาคม พ.ศ. 2555). เรื่องจัดตั้งส่วนราชการ
และส่วนงานภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ พ.ศ. 2555
พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ. พ.ศ. 2547 (มปป.). สืบค้นจาก
https://eoffice.kru.ac.th/krucouncil/upload
/doc/1-1.1-NSRU AC-3.pdf สืบค้นวันที่ 12 กันยายน 2557.
พรพิมล รักเหลือ. (2556). คิดเห็นต่อการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท ไทย มิคามิ จำกัด.
การค้นคว้าอิสระหลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ.
มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ. (2557). บทสรุปสำหรับผู้บริหารผลการประเมินคุณภาพ
ภายนอกเพื่อรับรองมาตรฐานการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ. สืบค้นจาก
https://www.onesqa.or.th//upload/AdvanceSchool/UploadFiles/39/39_2.pdf
สืบค้น 10 กันยายน 2557.
มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ คณะศิลปศาสตร์ (2558) หน่วยงานภายใน. สืบค้นจาก
https://fas.cpru.ac.th/2017/manager.html สืบค้นวันที่ 10 กันยายน 2558.
วิมล คำนวณ. (2554). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการศาลยุติธรรมและ
ลูกจ้าง:กรณีศึกษาศาลจังหวัดนครราชสีมา. รายงานผลงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการ
อบรมหลักสูตร “ผู้พิพากษาผู้บริหารในศาลชั้นต้น” รุ่นที่ 9 สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่าย
ตุลาการศาลยุติธรรม สืบค้นจาก
https://www.novabizz.com/NovaAce/Manage/การบริหารทรัพยากรมนุษย์.htm.
สืบค้นวันที่ 12 กันยายน 2557.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2542). การบริหาร หลักการ ทฤษฎี และประเด็นทางการศึกษา.
กรุงเทพฯ : อักษรพิพัฒน์.
วีระพันธ์ แก้วรัตน์. (2557). การฝึกอบรมและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. สืบค้นจาก
https://it.nation.ac.th/person/file/481009/การฝึกอบรมและพัฒนาทรัพยากร
มนุษย์.doc สืบค้นวันที่ 30 ตุลาคม 2557.
เสถียร เหลืองอร่าม. (2546). หลักมนุษย์สัมพันธ์ต่อการบริหารงานองค์การ.
กรุงเทพมหานคร : แพร่พิทยา.
สมเด็จ ขาวนาเข. (2552). ความคิดเห็นต่อการปฏิบัติงานของคณะกรรมการสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐาน ของสถานศึกษา ในเขตอำเภอบ้านม่วง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาสกลนคร เขต 3. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (2557). ความหมายและขอบเขตของคำว่า “สวัสดิการ”
สืบค้นจาก https://ftiweb.off.fti.or.th/intranet/file/banner/welfare.pdf
สืบค้นวันที่ 30 ตุลาคม 2557.
อนงสอน พรมมะจัน. (2549). ปัญหาในการปฏิบัติงานและความต้องการพัฒนาตนเองด้าน
ทักษะการปฏิบัติงานของพนักงานโครงการออกใบตาดิน. วิทยานิพนธ์ตามหลักสูตร
ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.