การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาภาวะผู้นำของบุคลากร สำนักการศึกษา สังกัดเทศบาลนครสกลนคร

Main Article Content

อโณทัย ทัศคร
ไชยา ภาวะบุตร
สุรัตน์ ดวงชาทม

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหา และความต้องการพัฒนาภาวะผู้นำของบุคลากรสำนักการศึกษา 2) หาแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำของบุคลากรสำนักการศึกษา 3) ติดตามผลการพัฒนาภาวะผู้นำของบุคลากรสำนักการศึกษากลุ่มผู้ร่วมในการวิจัยครั้งนี้เป็นบุคลากรในสำนักการศึกษา สังกัดเทศบาลนครสกลนคร จำนวน 9 คน จำแนกเป็นนักวิชาการศึกษา จำนวน 5 คน นักสันทนาการ จำนวน 1 คน เจ้าพนักงานธุรการ จำนวน 2 คน เจ้าพนักงานพัสดุ จำนวน 1 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (MEAN) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (STANDARD DEVIATION)

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพปัญหาและความต้องการพัฒนาภาวะผู้นำของบุคลากรสำนักการศึกษา สังกัดเทศบาลนครสกลนคร ด้านสภาพพบว่า บุคลากรสำนักการศึกษา สังกัดเทศบาลนครสกลนคร ยังขาดความรู้ ความเข้าใจ เทคนิค วิธีการพัฒนาภาวะผู้นำ ไม่เห็นความสำคัญของการพัฒนาภาวะผู้นำ ด้านปัญหาพบว่า บุคลากรไม่ได้เข้ารับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการพัฒนาภาวะผู้นำเพื่อให้เกิด การพัฒนาภาวะผู้นำในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลทำให้บุคลากรสำนักการศึกษาขาดความรู้ ความเข้าใจและเทคนิค วิธีการพัฒนาภาวะผู้นำที่ถูกต้อง และด้านความต้องการพัฒนาภาวะผู้นำของบุคลากรในสำนักการศึกษา บุคลากรเกิดความเข้าใจ ปัญหา เห็นความสำคัญของการมีภาวะผู้นำที่ส่งผลทำให้การทำงานเกิดประสิทธิภาพ จึงมีความต้องการที่จะพัฒนาภาวะผู้นำ เพื่อ นำไปปรับใช้ในการพัฒนาตนเองและพัฒนาการทำงานในหน้าที่ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

2. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำของบุคลากรสำนักการศึกษา สังกัดเทศบาลนครสกลนคร ในวงรอบที่ 1 ใช้แนวทางการพัฒนา 2 แนวทาง คือ 1) การอบรมแบบประชุมเชิงปฏิบัติการ และ 2) การพัฒนาตนเอง ในวงรอบที่ 2 ใช้แนวทางการพัฒนาโดยการนิเทศแบบให้คำชี้แนะ (COACHING)

3. ผลการพัฒนาภาวะผู้นำของบุคลากรสำนักการศึกษา สังกัดเทศบาลนครสกลนคร ในวงรอบที่ 1 พบว่า สามารถพัฒนาบุคลากรสำนักการศึกษาให้มีความรู้ ความเข้าใจในเทคนิควิธีในการพัฒนาภาวะผู้นำ บุคลากรสามารถนำไปปรับใช้ในการพัฒนาตนเองและพัฒนางานที่รับผิดชอบได้ดี ผลการประเมินภาวะผู้นำของบุคลากรสำนักการศึกษาอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก คือ ด้านมนุษยสัมพันธ์ ด้านบุคลิกภาพ และด้านการติดต่อสื่อสาร อยู่ในระดับปานกลาง คือ ด้านการ ทำงานเป็นทีม ซึ่งยังไม่เป็นที่น่าพอใจของผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัยจึงได้นำไปพัฒนาเพิ่มเติมในวงรอบที่ 2 พบว่า บุคลากรสำนักการศึกษา สามารถพัฒนาการทำงานเป็นทีมเป็นที่น่าพอใจ กลุ่มผู้ร่วมวิจัยทุกคนให้ความร่วมมือในการแก้ปัญหา ช่วยกันระดมความคิดเห็นเพื่อ หาทางแก้ปัญหาร่วมกัน ทุกคนได้พูดคุยในปัญหาและร่วมกันแก้ปัญหาร่วมกัน ช่วยทำให้ทุกคนสามารถปรับตัวเพื่อให้สามารถร่วมงาน กับเพื่อนร่วมงานได้เป็นอย่างดี ทุกคนมีความพึงพอใจ มีความสุขในการทำงานและทุกคนเห็นความสำคัญในการร่วมกันทำงานเป็น ทีม และร่วมกันทำงานและร่วมกันแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นทำให้งานสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

ABSTRACT

The purposes of this research were: 1) to investigate the current states, problems and needs on the development of the personnel in the Division of Education, 2) to follow up the development of leadership of the personnel in the Division of Education, 3) to monitor the results of leadership development of the personnel in the Division of Education. The research group consisted of 5 educators, 1 recreation personnel, 2 administrative officers, 1 procurement officer, and 5 respondents. The instruments used for collecting the data were questionnaires, and interview forms. Statistics used for analyzing the collected data were mean, and standard deviation.

The results of this research were as follows ะ

1. The current states, problems and needs on the leadership development of the personnel in the Division of Education under Nakhon Sakon Nakhon Municipality were found that the personnel in the Division of Education lacked knowledge, understanding, techniques of leadership development. They were unaware of the importance of leadership development. On problems: Since the personnel had not attended and training session on leadership development to obtain working with efficiency, it made the personnel in the Division of Education lack knowledge, understanding and techniques to develop the leadership correctly. Regarding the needs on the leadership development of the personnel in the Division of Education. The personnel understand the problems and the importance of the leadership that effected job performance with officiency. Thus, there was a necessity on developing the leadership in order to apply with self-development and develop the tasks under their responsibilities more efficiently.

2. The guidlines for leadership development in the Division of Education under Nakhon Sakon Nakhon Municipality in the first spiral were composed of 2 means : 1) Workshops, and 2) self-development. For the second spiral, coaching supervision was employed.

3. The results of leadership development of the personnel in the Division of Education under Nakhon Sakon Nakhon Municipality in Spiral 1 revealed that the personnel gained more knowledge and understanding about the techniques of developing leadership. Most personnel were able to apply with self­development and develop the tasks under their responsibilities quite well. The results of evaluating leadership of the personnel in the Division of Education were at the high level. When each aspect was considered, it was found that the following 3 aspects were at the high level: human relationship, personality and communication. The teamwork aspect was at the moderate level which caused dissatisfaction among the reacher and co-­researchers. Therefore, the researcher decided to have this facet developed in the second spiral. The further development in the second spiral indicated that the personnel in the Division of Education were able to work in group satisfactorily. All co-researchers were able to work in group, help one another to solve the problems, do all activities together efficiently and successfully in specified purposes. All were satisfied with, and happy in working. เท addition, all were aware of the importance of teamwork. They helped one another to work and to solve the problems encountered and made their works accomplished eventually.

Article Details

Section
บทความวิจัย