ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสายการบินที่ให้บริการเต็มรูปแบบเส้นทางระหว่างประเทศในยุควิถีชีวิตใหม่ของกลุ่มเจนเนอเรชั่นวายและเจนเนอเรชั่นแซด

Main Article Content

พรวนัช โรจนเสน
ไชยรัช เมฆแก้ว

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลในกลุ่มเจนเนอเรชั่นวายและเจนเนอเรชั่นแซดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสายการบินที่ให้บริการเต็มรูปแบบเส้นทางระหว่างประเทศในยุควิถีชีวิตใหม่ 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเลือกใช้บริการสายการบินที่ให้บริการเต็มรูปแบบที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสายการบินที่ให้บริการเต็มรูปแบบเส้นทางระหว่างประเทศในยุควิถีชีวิตใหม่ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสายการบินที่ให้บริการเต็มรูปแบบเส้นทางระหว่างประเทศในยุควิถีชีวิตใหม่ งานวิจัยนี้ใช้วิธีการศึกษาเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถามออนไลน์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ค่าความถี่ ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติเชิงอนุมาน ซึ่งผลการวิจัยปรากฏดังนี้


            ผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 250 คน มีการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า จำนวน 258 คน มีอาชีพพนักงานหรือลูกจ้างบริษัทเอกชน จำนวน 133 คน และมีรายได้อยู่ที่ 15,001-30,000 บาท จำนวน 151 คน ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกันมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสายการบินที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) พฤติกรรมการเลือกใช้บริการสายการบินที่แตกต่างกันมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสายการบินที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสายการบินในแต่ละด้านอยู่ในระดับมากที่สุดทั้งหมด โดยสามารถเรียงระดับค่าเฉลี่ยได้ดังนี้ ด้านบุคลากร ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านกระบวนการในการให้บริการ ด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านราคา และด้านการส่งเสริมทางการตลาด ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลทิพย์ พูลผล. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้สายการบินไทยสมายล์เส้นทางระหว่างประเทศของผู้โดยสารชาวไทย. จาก http://dspace.bu.ac.th/bitstream/123456789/3052/3/kamontip_pool.pdf

จิตลดา ปิยะทัต. (2564). ความปกติแบบใหม่ทางการบิน. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 7(4) (เมษายน-มิถุนายน), 151-159.

ฉัตยาพร เสมอใจ. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น

ชิดชม กันจุฬา. (2564). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับธุรกิจการบิน. จาก https://elchm.ssru.ac.th/chidchom_ka/course/view.php?id=3

ธนกร ณรงค์วานิช. (2564). อุตสาหกรรมการบินจะผ่านไปอย่างไรกับโควิด -19. จาก https://www.spu.ac.th/activities/27300

มนสินี เลิศคชสีห์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการสายการบินการบินไทยสำหรับการให้บริการภายในประเทศ (Independent Study). จาก http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2015/TU_2015_5702031849_2857_1779.pdf

แม้นโชติ ศรีพรหมนิล. (2551). ปัจจัยทางด้านการตลาดที่มี อิทธิพลต่อลูกค้าในการตัดสินใจเลือกใช้บริการการบินของ บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงราย.

มนัสชัย ขวัญวงศ์ และ พัฒน์ พิสิษฐเกษม. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการซ่อมบำรุงอากาศยานระดับหน่วย และระดับกลางสำหรับ บ.ข.19/ก (F-16 AM/BM) สังกัดฝูงบิน403 กองบิน4 กองทัพอากาศไทย. จาก https://scholar.google.com/citations?view_op=list_works&hl=en&hl=en&user=wQE2w5oAAAAJ

รัชตะ จันทร์พาณิชย์. (2564). ผลกระทบและการปรับตัวของธุรกิจการบินจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 (COVID-19). จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/bruj/article/view/246656/168889

วชิรวัชร งามละม่อม. (2558). ทฤษฎีการมีส่วนร่วม. ปทุมธานี: สถาบันวิชาการไทยวิจัยพัฒนาการจัดการ TRDM.

สมพล ทุ่งหว้า. (2553). วิธีการวิจัยทางธุรกิจ และการวิจัยทางธุรกิจตามแนวแนะ. ในเอกสารการสอนชุดวิชาวิธีการวิจัยทางธุรกิจ และการวิจัยทางธุรกิจตามแนวแนะ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Kotler, P. (1997). Marketing Management: Analysis, Planning, Implementation and Control (14th ed.). NJ: Prentice-Hall.