ผลสัมฤทธิ์ของการนำนโยบายการจัดการศึกษาไปปฏิบัติ กรณีศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพิษณุโลก

Main Article Content

ฐิรญา หนองหารพิทักษ์
เพ็ญศรี ฉิรินัง
อรุณ รักธรรม
อุดมวิทย์ ไชยสกุลเกียรติ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ของการนำนโยบายการจัดการศึกษาไปปฏิบัติ (2) วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ของการนำนโยบายการจัดการศึกษาไปปฏิบัติ และ (3) เสนอแนวทางการนำนโยบายการจัดการศึกษาไปปฏิบัติ กรณีศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพิษณุโลก ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามกับครูและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนระดับประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษาในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 115 คน การวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์กับผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 5 คน และสนทนากลุ่มกับผู้บริหารสถานศึกษาและผู้แทนจากชุมชน จำนวน 66 คน ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลสัมฤทธิ์ของการนำนโยบายการจัดการศึกษาไปปฏิบัติของครูและบุคลากรทางการศึกษา อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ รองลงมาคือ ด้านการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ส่วนด้านการจัดการศึกษาเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ มีความคิดเห็นในระดับปานกลาง (2) ปัจจัยด้านประสิทธิภาพในการวางแผนและการควบคุมส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ของการนำนโยบายการจัดการศึกษาไปปฏิบัติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 อยู่ร้อยละ 66.80 และ (3) แนวทางการนำนโยบายการจัดการศึกษาไปปฏิบัติ ดังนี้ 1. จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ 2. พัฒนาทักษะการเรียนรู้ 5 กลุ่มวิชา 3. จัดอบรม ศึกษาดูงาน พัฒนาทักษะทางวิชาการสู่ยุคดิจิตอลให้กับครูและบุคลากรทางการศึกษา 4. จัดสรรงบประมาณ เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน อย่างเพียงพอและเหมาะสม 5. จัดสภาพแวดล้อมของสถานศึกษา โดยยึดหลัก 3 ประการคือ “มีความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน” และ 6. พัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และจัดทำรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) ในทุกปีการศึกษา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). มาตรฐานการศึกษาของชาติ 2561. กรุงเทพฯ: เซ็นจูรี่.

เกรียงไกร สันติวิริยกาญจน์ (2559). รูปแบบการบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อรองรับประชาคมอาเซียน

ศึกษาเฉพาะกรณีการจัดการศึกษาในจังหวัดหนองคาย. วารสารบัณฑิตศึกษา : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา,

(1), 483-494.

ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์. (2560). นโยบายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา. เข้าถึงได้จาก

http://www.ptt2.go.th/web/plan/images/file/plan/2561.pdf

นรรัชต์ ฝันเชียร. (2562). การส่งเสริมการศึกษาไทยเพื่อรับมือกับโลกยุค VUCA. เข้าถึงได้จาก

http://www.trueplookpanya.com/blog/content/76134/-blog-teaartedu-teaart

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). หลักการวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาส์น.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ, ชูชาติ พ่วงสมจิตร์, เก็จกนก เอื้อวงศ์ และนงเยาว์ อุทุมพร. (2553). รายงานการวิจัยประเมินผลการจัดการศึกษา

ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สมัชชาเครือข่ายปฏิรูปการศึกษา. (2558). ท้องถิ่นกับการจัดการศึกษา. เข้าถึงได้จาก

https://m.facebook.com/EducationReformAssemblyTH/posts/839503102794656

ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ. (2560). การจัดการศึกษาท้องถิ่น: สาเหตุพัฒนาการศึกษา. สยามรัฐ, 64(41), 10.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). นโยบายปฏิรูปการศึกษา.

กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก. (2561). จำนวนครูและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครอง

ส่วนท้องถิ่น จังหวัดพิษณุโลก. พิษณุโลก: องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก.

Erdfelder, E., Faul, F., Lang, A. G., & Buchner, A. (2007). G*Power 3: A Flexible Statistical Power Analysis

Program for the Social, Behavioral, and Biomedical Sciences.

Behavior Research Methods, 39, 175- 191.

Likert, R. (1979). The Method of Constructing and Attitude Scale. New York: Wiley and Son.