ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการบริหารอาคารสถานที่ของโรงเรียนมัธยมศึกษา ขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี

ผู้แต่ง

  • อารักษ์ ทันใจชน การบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ
  • นิวัตต์ น้อยมณี การบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจ , การบริหารอาคารสถานที่

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการบริหารอาคารสถานที่ของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี และ 2) เปรียบเทียบความพึงพอใจของนักเรียนต่อการบริหารอาคารสถานที่ของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี จำแนกตามเพศและระดับชั้น ตัวอย่างเป็นนักเรียน จำนวน 374 คน ซึ่งได้มาจากวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที

            ผลการวิจัยพบว่า

  1.  นักเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี มีความพึงพอใจต่อการบริหารอาคารสถานที่ของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ อยู่ในระดับมาก  (x̄ = 3.51, S.D. = .70)
  2.  นักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรีที่มีเพศต่างกันและมีระดับชั้นแตกต่างกัน มีความพึงพอใจต่อการบริหารอาคารสถานที่ของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี, สำนักงาน. รายงานผลการดำเนินงานประจำปี 2565. (ออนไลน์) 2566 (อ้างเมื่อ 2 กันยายน 2566). จาก https:// www.sesaok.go.th/wp- content/uploads/2023/06/7.pdf

จุฑารัตน์ โพศิริ. การศึกษาสภาพแวดล้อมทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนหลวงพ่อปานคลองด่านอนุสรณ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560.

ชมนภัส แก่นจำปา. ความพึงพอใจของครูที่มีต่อการบริหารงานอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนหอวังสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2560.

ชัชริน เจริญศร. การศึกษาสภาพแวดล้อมทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียน เกาะจันทร์พิทยาคาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560.

ภารดี เกรียงทวีชัย. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา สุวินทวงศ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. (ออนไลน์) 2556 (อ้างเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2566). จาก http://www.edu-journal.ru.ac.th/AbstractPdf/2559-2-1_1475663171_12.5714470257.pdf

โรงเรียนท่าม่วงราษฎร์บำรุง. รายงานผลการดำเนินงานประจำปี 2565. (ออนไลน์) 2566 (อ้างเมื่อ 5 สิงหาคม 2566). จาก https://drive.google.com/file/d/1e66U2SPGF FofwgaZhdApNjd2upoVIRN9/view

โรงเรียนแม่เจดีย์วิทยาคม, รายงานผลการดำเนินงานประจำปี 2565. (ออนไลน์) 2566 (อ้างเมื่อ 5 สิงหาคม 2566). จาก /www.thaischool1.in.th/_files_school/5710089 5other/ita_57100895_1_20200831-095345.pdf

เลขาธิการสภาการศึกษา, สำนักงาน. การติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตของ ประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2564.

วิรุฬห์ มีภักดี. สภาพแวดล้อมทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียนบ้านโคกสะอาด สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561.

สภาการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สำนักงาน. สำนักงานสภาการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. “ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (2561-2580). (ออนไลน์) 2566 (อ้างเมื่อ 10 สิงหาคม 2566). จาก http://nscr.nesdc.go.th/wp-content/uploads/2023/06/NS_PlanOct2018.pdf

อารียา สตารัตน์. การจัดสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัด กรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตราชเทวี. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2556.

อภิสิทธิ์ พรหมศิริ, อานนท์ เมธีวรฉัตร และวินัย ทองมั่น. “แนวทางการบริหารงานอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม ตามหลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดอุทัยธานี,” วารสารวิจัย วิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 5, 3 (พฤษภาคม-มิถุนายน 2565): 93-106.

Akomolafe, Comfort, Adesua Olufunke and Veronica Olubunm. “The Impact of Physical Facilities on Students' Level of Motivation and Academic Performance in Senior Secondary Schools in South West Nigeria,” Journal of Education and Practice. 7, 4 (April 2016): 38-42.

Yamane, Taro. Statistic: an Introductory Analysis. New York: Harper & Row, 1970.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-30

How to Cite

ทันใจชน อ. . ., & น้อยมณี น. . (2024). ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการบริหารอาคารสถานที่ของโรงเรียนมัธยมศึกษา ขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 19(2), 137–147. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Pitchayatat/article/view/267976