คุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • ชญาภา วังรัตนาศิริกุล บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี
  • ศุภกัญญา เกษมสุข คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี
  • ประนอม คำผา คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิตในการทำงาน , ความผูกพันต่อองค์การ , องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงาน 2) ศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน 3) เปรียบเทียบความผูกพันต่อองค์การจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลของพนักงาน   4) ศึกษาคุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีผลต่อความผูกพันองค์กรของพนักงาน ตัวอย่าง คือ ข้าราชการ พนักงานจ้างทั่วไปพนักงานจ้างประจำพนักงานจ้างตามภารกิจ รวมถึงพนักงานจ้างเหมาบริการ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 309 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบสะดวก ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย โดยสถิติใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ และเปรียบเทียบความคิดเห็น โดยใช้ค่าสถิติ t-test และ One-way ANOVA

            ผลการวิจัยพบว่า

  1.  ระดับความเห็นเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาพรวมมีความเห็นอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นในระดับมาก เรียงตามลำดับจากมากไปน้อย คือ ด้านลักษณะงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ด้านสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพ ด้านโอกาสในการพัฒนาศักยภาพด้านการบูรณาการทางสังคมและการทำงานร่วมกัน ด้านความสมดุลระหว่างชีวิตส่วนตัวกับการทำงาน ด้านสิทธิส่วนบุคคลและประชาธิปไตยในการทำงาน และด้านความก้าวหน้าและความมั่นคงในงาน ส่วนด้านเงินเดือนและค่าตอบแทนมีความเห็นอยู่ในระดับปานกลาง
  2.  ระดับความเห็นเกี่ยวกับความผูกพันต่อองค์การของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาพรวมมีความเห็นอยู่ในระดับมากในทุกด้าน
  3.  ผลการเปรียบเทียบความผูกพันต่อองค์การของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา รายได้ และอายุงานแตกต่างกันมีความเห็นเกี่ยวกับความผูกพันต่อองค์การทุกด้านไม่แตกต่างกัน ส่วนตำแหน่งงานต่างกัน มีความเห็นเกี่ยวกับความผูกพันต่อองค์การ ด้านการดำรงอยู่เป็นสมาชิกขององค์กรแตกต่างกัน
  4.  คุณภาพชีวิตในการทำงานมี 7 ด้านที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในทุกด้าน ได้แก่ ด้านเงินเดือนและค่าตอบแทน ด้านสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพ ด้านโอกาสในการพัฒนาศักยภาพ ด้านความก้าวหน้าและความมั่นคงในงาน ด้านการบูรณาการทางสังคมและการทำงานร่วมกัน ด้านความสมดุลระหว่างชีวิตส่วนตัวกับการทำงาน และด้านลักษณะงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม โดยสามารถนำมาพยากรณ์ความผูกพันต่อองค์การได้ถึงร้อยละ 62 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

References

จุฑามาศ นิ่มจิตต์ และโกวิทย์ กังสนันท์. “ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรของสำนักงานอัยการ จังหวัด นนทบุรี ที่มีผลมาจากการปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัล,” วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ. 9, 3 (กันยายน-ธันวาคม 2564): 36-50.

เทอดไท คงเพียรธรรม. ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการโรงเรียนทหารการสัตว์ กรมการสัตว์ทหารบก. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์, 2560.

นารีรัตน์ บุญมั่ง. ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตบางพระ จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560.

ประภารัตน์ พรมเอี้ยง และคณะ. “คุณภาพชีวิตในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลนครปฐม,” วารสารวิชาการสาธารณสุข. 24, 4 (กรกฎาคม–สิงหาคม 2558): 769–78.

มหาดไทย, กระทรวง. โครงการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมมาภิบาล. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช, 2546.

รัชนู นาจาน. ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การ ของบุคลากรศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนชายบ้านกรุณา. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย ราชภัฏธนบุรี, 2560.

ละเอียด ศิลาน้อย “การใช้มาตรประมาณค่าในการศึกษาวิจัยทางสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ การโรงแรม และการท่องเที่ยว,” วารสารบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 8, 15 (มกราคม-มิถุนายน 2562): 112-126.

วัชรพงษ์ อนันต์วรปัญญา. “คุณภาพชีวิตในการทำงานและคุณลักษณะของงานที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานธนาคารของรัฐแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร,” วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น. 17, 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2563): 244-253.

ส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นอำเภอเดชอุดม, สำนักงาน. ข้อมูลการโอนย้ายและการลาออก พ.ศ. 2562–2565. อุบลราชธานี: ที่ว่าการอำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี, 2565.

สมพงษ์ โมราฤทธิ์. “คุณภาพชีวิตในการทำงานและความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรสาธารณสุขในศูนย์อนามัยที่10 เชียงใหม่,” วารสารสาธารณสุขล้านนา. 10, 1 (มกราคม–เมษายน 2557): 34–52.

อัชราวดี ชูถนอม. คุณภาพชีวิตในการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการตำรวจ กองบังคับการอำนวยการ ตำรวจภูธรภาค 9. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2565

อุบลพรรณ แก่นจักร์. ความพึงพอใจต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากร ธุรกิจเอเยนซี่ออนไลน์ มาร์เกตติ้ง แห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล, 2560.

Allen, N.J. and J.P. Meyer. “The measurement and antecedents of affective continuance and normative to the organizations commitment to the organization,” Journal of occupational Psychology. 12, 63 (March 1990): 1-18.

Likert, R. New Pattern of Management. New York: McGraw-Hill, 1961.

Mowday, R.T., R.M. Steers and L.W. Porter. “The measurement of organizational commitment,” Journal of vocational behavior. 14, 2 (1979): 224-247.

Walton, R.E. “Quality of working life: Walton is it,” Sloan Management Review. 4, 7 (Fall 1973): 20-23.

Walton, R.E. “Improving the Quality of Working Life,” Harward Business Review. 19, 2 (1980): 11-24.

Yamane, Taro. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Ed. New York: Harper and Row Publications, 1973.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-30

How to Cite

วังรัตนาศิริกุล ช. ., เกษมสุข ศ. ., & คำผา ป. . (2024). คุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 19(2), 105–120. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Pitchayatat/article/view/267609