การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดฮาโลโมเดล วิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
คำสำคัญ:
กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดฮาโลโมเดล, ทักษะการคิดวิเคราะห์, วิชาวิทยาศาสตร์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดฮาโลโมเดล 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดฮาโลโมเดล ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนอนุบาลอุบลราชธานี รวมจำนวน 35 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ รายวิชาบ้านนักวิทย์น้อย ประถมศึกษา ปีที่ 2 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของฮาโลโมเดล 2) แบบทดสอบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดฮาโลโมเดล สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที
ผลการวิจัยพบว่า
- ผลการเปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์ก่อนและหลังเรียนของนักเรียน พบว่า คะแนนหลังเรียน
สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 - นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดฮาโลโมเดลอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด
References
กมล โพธิเย็น. “Active Learning: การจัดการเรียนรู้ที่ตอบโจทย์การจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21,” วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 19, 1 (มกราคม-มิถุนายน 2564): 11-28.
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. โครงการยกระดับคุณภาพผู้เรียนด้านการอ่าน การเขียน และการคิดวิเคราะห์ สำหรับผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. อุบลราชธานี: คณะครุศาสตร์, 2562.
ณีรนุช นรินทร์. ความพึงพอใจในการปฏิบัติงนของข้าราชการครูกลุ่มโรงเรียนศรีเมือง สังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา, 2557.
ดวงใจ บุญประคอง. การพัฒนาผลการเรียนรู้ เรื่อง การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่จัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2549.
ทิศนา แขมมณี. ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 22.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561.
บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น, 2553.
ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. การพัฒนาการคิด. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง, 2556.
ปิยะธิดา พลพุทธา. การพัฒนาการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตโดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้สมองเป็นฐานร่วมกับผังมโนทัศน์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 2564.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์. การจัดการเรียนในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557.
วัชรา เล่าเรียนดี. ศาสตร์การนิเทศการสอนและการโค้ช : การพัฒนาวิชาชีพ ทฤษฎี กลยุทธ์สู่การปฏิบัติ.
พิมพ์ครั้งที่ 12. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2556.
ศศิธร บุญไพโรจน์. “การพัฒนาความสามารถในการเขียนสะกดคำโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ HALO Model สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2,” วารสารครุทรรศน์ (Online). 1, 1 (พฤษภาคม-สิงหาคม 2564): 43-51.
ศูนย์ดำเนินงาน PISA แห่งชาติ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. ผลการประเมิน PISA 2018 การอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.), 2564.
เศวตาภรณ์ ตั้งวันเจริญ. “ผลการจัดการเรียนรู้ภายใต้รูปแบบ HALO Model สำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูชั้นปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ในสถานการณ์ COVID-19,” วารสารวิจัยและประเมินผลอุบลราชธานี. 10, 1 (มกราคม-มิถุนายน 2564): 21-30.
สุดาวรรณ รัตนาแพง. การพัฒนาบทปฏิบัติการที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 2564.
สุมณฑา ศักดิ์ชัยสมบูรณ์. “ความสำคัญของเพลงในการสอนภาษาไทยให้ชาวต่างชาติ,” มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. 16, 1 (มกราคม-มิถุนายน 2565): 86-124.
สุรีรัตน์ อักษรกาญจน์. “การคิดวิเคราะห์ : การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบแวดวงวรรณกรรมร่วมกับการใช้คำถามระดับสูง,” วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี. 7, 1 (มกราคม–มิถุนายน 2563): 62-35.
สุวิทย์ มูลคำ. กลยุทธ์การสอนวิเคราะห์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์, 2550.
อรชา เอี่ยมบู, ไพศาล หวังพานิช และสงวนพงศ์ ชวนชม. “การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้นร่วมกับเทคนิคการใช้คําถามกระตุ้นการคิดระดับสูง,” สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์. 7, 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2563): 41-51.
Bloom, B.S. Taxonomy of Educational Objectives, the Classification of EducationalGoals-Handbook 1: Cognitive Domain. New York: David MacKay Company, 1976.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกอย่างน้อย 2 คน ความคิดเห็นในวารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนมิใช่ความคิดเห็นของผู้จัดทำ จึงมิใช่ ความรับผิดชอบของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี และบทความในวารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี สงวนสิทธิ์ตามกฎหมายไทย การจะนำไปเผยแพร่ต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากกองบรรณาธิการ