การพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับ 5W1H ของนักศึกษาภาคการจัดการศึกษา สำหรับบุคลากรประจําการ

ผู้แต่ง

  • หนึ่งฤทัย บุญทวี ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการเรียนรู้และการสอน วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  • วราภรณ์ ไทยมา ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการเรียนรู้และการสอน วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำสำคัญ:

การอ่าน , ทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ , การเรียนรู้แบบร่วมมือ , เทคนิค STAD 5W1H

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับ 5W1H ที่ส่งเสริมความสามารถการอ่านจับใจภาษาอังกฤษ ของนักศึกษาภาคการจัดการศึกษาสำหรับบุคลากรประจําการ 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถการอ่านจับใจภาษาอังกฤษของนักศึกษาภาคการจัดการศึกษาสำหรับบุคลากรประจําการ ก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับ 5W1H และ 3) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของนักศึกษาภาคการจัดการศึกษาสำหรับบุคลากรประจำการ ที่ได้ผ่านการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับ 5W1H ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย นักศึกษาภาคการศึกษา  เพื่อพัฒนาบุคลากรประจำการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ภาคเรียนที่ 3 ปีการศึกษา 2565 สาขาวิชาภาษาไทยจำนวน 30 คน ซึ่งได้โดยคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับ 5W1H 2) แบบทดสอบวัดความสามารถก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับ 5W1H และ 3) แบบประเมินระดับความพึงพอใจของนักศึกษาที่ได้ผ่านการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับรูปแบบการสอน 5W1H สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที และค่าดัชนีความสอดคล้อง

ผลการวิจัยพบว่า

  1.  การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับ 5W1H ผู้เรียนมีความสามารถการอ่านจับใจภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้น มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.40 อยู่ในระดับมาก
  2. ความสามารถทางการอ่านจับใจภาษาอังกฤษของนักศึกษาภาคการจัดการศึกษาสำหรับบุคลากรประจําการ โดยกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับ 5W1H หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีีนัยสำคัญทางสถิติิที่่ระดับ .05
  3.  นักศึกษาภาคการจัดการศึกษาสำหรับบุคลากรประจำการ มีีความพึงพอใจการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับ 5W1H อยู่ในระดับมากที่่สุด

References

กมลลักษณ์ บุญขันธ์. การจัดการเรียนการสอนแบบเทคนิคการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด (Think pair Share) วิชาการ ประเมินผลการเรียนการสอนภาษาไทย. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2560.

ชนกพร สุริโย. การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้เทคนิค 5W1H ประกอบกับแบบฝึก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 2562.

ชรินทร์ญา หวังวัชรกุล. “การพัฒนาผลการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการกลุ่มแบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่องโครงสร้างข้อมูลแบบลิงก์ลิสต์ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี,” วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. 17, 1 (มกราคม-มิถุนายน 2566): 71–83.

ทิศนา แขมมณี. ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560.

บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น, 2560.

บุตรี เวทพิเชฐโกศล. “การพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี โดยใช้วิธีการอ่านแบบร่วมมือ,” วารสารวิชาการธรรมทรรศน์. 22, 2 (เมษายน-มิถุนายน 2565): 83–95.

วีรวิชญ์ บุญส่ง. “การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชา สศ 2211402 การจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาสังคมศึกษาชั้นปีที่ 4 ระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ STAD กับการจัดการเรียนรู้แบบ ปกติ,” วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ. 8, 1 (มกราคม–มิถุนายน 2565): 53–65.

อรรชนิดา หวานคง. “การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในศตวรรษที่ 21,” วารสารสถาบันวิจัย ญาณสังวร. 7, 2 (กรกฎาคม–ธันวาคม 2559): 304-314.

อรรชนิดา หวานคง. “การรับรู้และทัศนคติของนักศึกษาสาขาภาษาอังกฤษที่มีต่อการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย,” วารสารศึกษาศาสตร์์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลััย. 10, 1 (มกราคม–มิถุนายน 2565): 156–172.

อรษา เกมกาเมน. ผลการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาเศษส่วน ของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกันแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ผสาน กลวิธี STAR. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 2559.

Ahmadi, R. “The Relationship Between Students Reading Motivation and Reading Comprehension,” Journal of education and practice. 4, 18 (2013): 8-17.

Berzener, D. et al. “The Effect of Cooperative Learning on EFL Learners' Success of Reading Comprehension: An Experimental Study Implementing Slavin's STAD Method,” The Turkish Online Journal of Educational Technology. 20, 4 (October 2021): 90–100.

Herman, S. et al. “Teachers’ Attitude towards Minimum Competency Assessment at Sultan Agung Senior High School in Pematangsiantar, Indonesia,” Journal of Curriculum and Teaching. 11, 1 (2022): 1–14.

Johnson, R.T. and D.W. Johnson. Creativity and Collaborative Learning. Baltimore: Paul H. Brookes Publishing. 1994.

O'Malley, J.M. and A.U. C. Learning strategies in second language acquisition. Cambridge, UK: Cambridge University Press, 1990.

Sabat, S. et al. “The Effectiveness of Coopertative Learning (STAD and PBL type) on E-learning Sustainable Development in Higher Education,” Journal of Development Research. 4, 1 (May 2020): 53–61.

Shelly, R. Responding to Social Chang. Pensylvania: Dowder, 2009.

Yuanmalai, K. Reading for life. O.S.: Print Thinghouse in Thai, 1996.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-23

How to Cite

บุญทวี ห., & ไทยมา ว. . (2023). การพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับ 5W1H ของนักศึกษาภาคการจัดการศึกษา สำหรับบุคลากรประจําการ. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 18(3), 169–181. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Pitchayatat/article/view/263975