การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนในสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2
คำสำคัญ:
การบริหารงานวิชาการ , ผู้บริหารสถานศึกษา , คุณภาพผู้เรียนบทคัดย่อ
การวิจัยในนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาและระดับคุณภาพผู้เรียนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 และ 2) ศึกษาการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 ตัวอย่าง ได้แก่ ข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 จำนวน 291 คน ได้มาจากการใช้ตารางสำเร็จรูปของแครซี่และมอร์แกน และใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า
- การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 ภาพรวมยู่ในระดับมาก และคุณภาพผู้เรียนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 ภาพรวมยู่ในระดับมาก
- การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนในสถานศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีค่าอำนาจการพยากรณ์ .618 แสดงว่าการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาสามารถพยากรณ์การบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาได้ร้อยละ 61.80 และผลการวิเคราะห์การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ดีที่สุดที่ส่งผลต่อระดับคุณภาพผู้เรียนในสถานศึกษา มีจำนวน 2 ตัว ได้แก่ การพัฒนาและการใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา () และการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ () สามารถเขียนเป็นสมการพยากรณ์คะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานได้ ดังนี้
ในรูปแบบคะแนนดิบ Y = 1.142 + . 416 (X5) + .241 (X3) + 111(X1) +.052 (X4) + .050 (X2) + (-.161) (X6)
ในรูปแบบคะแนนมาตรฐาน Z = .508 (X5) + .258 (X3) + 112(X1) +.065 (X4) + .056 (X2) + (-.176) (X6)
References
กีรติ ฉิมพุฒ, สุพัฒนา หอมบุปผา และสาธร ทรัพย์รวงทอง. “การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการกับคุณภาพผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชร,” วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. 5, 2 (พฤษภาคม–สิงหาคม 2565): 135-144.
นิรุทธ์ น่วมรัศมี และดำรงค์ เบญจคีรี. “การบริหารงานวิชาการที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1,” วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร. 13, 2 (กรกฎาคม–ธันวาคม 2565): 1-12.
นูรไลลา หลังปูเต๊ะ. การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศูนย์เครือข่ายทุ่งยางแดง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานีเขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 2565.
ปาริฉัตร โชติขันธ์. กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2560.
พรรษมน พินทุสมิต. การปฏิบัติงานด้านการบริหารวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาระดับ ประถมศึกษา ในจังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 2560.
เลขาธิการการศึกษา, สำนักงาน. การติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประเทศไทย, กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2564.
วราพร สินศิริ. “การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี,” วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 7, 3 (กันยายน–ธันวาคม 2564): 129-146.
ศึกษาธิการ, กระทรวง. แนวทางการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: เอ็น.เอ.รัตนะเทรดดิ้ง, 2561.
ศราวุธ สุวรรณวรบุญ และธีร หฤทัยธนาสันติ์. “ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการสอนของครูโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้,” วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 30, 3 (กันยายน–ธันวาคม 2562): 1-15.
สารินทร์ เอี่ยมครอง. แนวทางการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในจังหวัดชัยนาท สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 2561.
สุภาพร กล่อมมะโน และพรเทพ รู้แผ. “พฤติกรรมผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ของครูในสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1,” วารสารมหาจุฬาวิชาการ. 8, 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม 2564): 172-187.
สุกัญญา แช่มช้อย. การบริหารงานวิชาการที่ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคพลิกผัน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , 2565.
สุกัญญาโสภี ใจกล่ำ และณริศรา พฤกษะวัน. “ผลการเรียนรู้ของนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลายด้วยสื่อวีดิทัศน์เทคโนโลยี การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม รายวิชาศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม,” วารสารอักษราพิบูล. 3, 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2565): 81-98.
อังคณา มาศเมฆ. การบริหารงานวิชาการกับคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนเทศบาลกลุ่มการศึกษาท้องถิ่นที่ 5. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2557.
อุทัย บุญประเสริฐ. หลักสูตรและการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน. กรุงเทพฯ: เอสดีเพรส, 2557.
อภิชา พุ่มพวง. ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดสมุทรปราการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559.
Krejcie, R. V. and D. W. Morgan, “Determining size for research activities,” Educational and Psychological Measurement. 30, 3 (September, 1970): 607-610.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกอย่างน้อย 2 คน ความคิดเห็นในวารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนมิใช่ความคิดเห็นของผู้จัดทำ จึงมิใช่ ความรับผิดชอบของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี และบทความในวารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี สงวนสิทธิ์ตามกฎหมายไทย การจะนำไปเผยแพร่ต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากกองบรรณาธิการ