การพัฒนาชุดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้การเรียนรู้แบบเน้น ภาระงานสำหรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5
คำสำคัญ:
ชุดกิจกรรมการอ่านเพื่อความเข้าใจ , การเรียนรู้แบบเน้นภาระงานบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้การเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 และ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านเพื่อความเข้าใจ ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้ชุดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้การเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนนางาม (ผลแก้วอุปถัมภ์) และโรงเรียนบ้านโนนค้อลุคุ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 ที่ศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 40 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ ชุดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้การเรียนรู้แบบเน้นภาระงานสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 6 ชุด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านเพื่อความเข้าใจที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจำนวน 30 ข้อ ซึ่งมีค่าความยากง่ายระหว่าง .52 ถึง .78 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง .26 ถึง .41 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบที
ผลการวิจัยพบว่า
- ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้การเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 77.15/76.5
- ผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ ชุดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้การเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
จันทรกานต์ จรรยา. การพัฒนาบทเรียนเสริมผลสัมฤทธิ์การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนราชดำริ. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2559.
ทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ, สถาบัน. สรุปผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2564. (ออนไลน์) 2564 (อ้างเมื่อ 24 มีนาคม 2565). จาก http://www.newonetresult.niets.or.th
นพรัตน์ ทองมาก. การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เรื่องภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันโดยใช้รูปแบบปฏิบัติเป็นฐานการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี, 2558.
ปารวี งามอนันต์. การพัฒนาความสามารถทางการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจตามแนวคิดแบบเน้นภาระงานเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. การค้นคว้าอิสระการศึกาษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2564.
เพ็ญนภา ทัพพันธ์. การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2560.
มัฆวาน ศรีบุญลือ. การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ในวิชาภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมภาระงานเป็นฐาน. การค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2556.
ศิริญา ทางนะที. การพัฒนาทักษะการอ่านวิชาภาษาอังกฤษโดยการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน (TBL) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2555.
ศึกษาธิการ, กระทรวง. กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2546.
เอกรินทร์ สังข์ทอง. “ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ในสังคมพหุวัฒนธรรม: ทบทวนแนวคิดทฤษฎีและการปฏิบัติ,” วารสารคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. 20, 1 (พฤษภาคม-สิงหาคม 2555): 1-16.
Apriliah, R. Improving students' reading ability by using task-based learning of VII grade at SMP N 2 Ogodeide. Indonesia: Madako University, 2016.
Sayd, M. “The Study of Task-based Cycle: Case of Reading Comprehension Classes in Iran,” The International Journal of Language and Cultural. (serial online), 1 (March 2020): 22.
Willis, J. A Framework for Task-Based Learning. Edinburgh: Longman limited, 1996.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกอย่างน้อย 2 คน ความคิดเห็นในวารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนมิใช่ความคิดเห็นของผู้จัดทำ จึงมิใช่ ความรับผิดชอบของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี และบทความในวารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี สงวนสิทธิ์ตามกฎหมายไทย การจะนำไปเผยแพร่ต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากกองบรรณาธิการ