สภาพ ความต้องการจำเป็น และแนวทางพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1

ผู้แต่ง

  • จุฑาทิพย์ ซาเสน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
  • รชฏ สุวรรณกูฏ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
  • วัชรี แซงบุญเรือง คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม

คำสำคัญ:

สภาพปัจจุบันและพึงประสงค์ , ความต้องการจำเป็น , แนวทางพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ 2) ประเมินความต้องการจำเป็น และ 3) พัฒนาแนวทางพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1  ตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 89 คน และผู้สอน จำนวน 341 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มีจำนวน 4 ฉบับ คือ 1) แบบสอบถามสภาพปัจจุบันของการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ  2) แบบสอบถามสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ 3) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และ 4) แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางพัฒนาของการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง (PNI Modified)

            ผลการวิจัยพบว่า

  1. สภาพปัจจุบันของการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
  2. ผลการประเมินความต้องการจำเป็นของการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ โดยเรียงลำดับความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย 2 อันดับแรก ได้แก่ ด้านการบูรณาการภายในชั้นเรียน และด้านการบูรณาการภายในกลุ่มสาระ
  3. แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ มีผลการประเมินแนวทางพัฒนาโดยรวมพบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄ = 4.55) และมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄ = 4.51)

References

กุลิสรา จิตรชญาวณิช. การจัดการเรียนรู้. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563.

เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1, สำนักงาน. คู่มือนวัตกรรม NKP TWO สู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษา. นครพนม: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1, 2565.

คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สำนักงาน. ภาวะสังคมไทยไตรมาสสี่และภาพรวมปี 2554. กรุงเทพฯ: สำนักงานฯ, 2555.

ชนาธิป พรกุล. กระบวนการสร้างความรู้ของครู กรณีการสอนบูรณาการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561.

บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สุวีริยสาสน์, 2560.

พรทิพย์ ศิริภัทราชัย. “STEM Education กับการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21,” วารสารนักบริหาร. 2, 2 (มกราคม-มีนาคม 2556): 49-56.

วไลพร คุโณทัย. ปฏิรูปการเรียนรู้ผู้เรียนสำคัญที่สุด. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2558.

สิริพัชร์ เจษภาวิโรจน์. การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2559.

สุพรรณี ชาญประเสริฐ. การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และทักษะที่จําเป็นในศตวรรษที่ 21. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). 42, 185 (กันยายน-ตุลาคม 2557): 10-13.

สุวิมล ว่องวาณิช. การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558.

สนธิ พลชัยยา. “สะเต็มศึกษากับการคิดขั้นสูง,” สสวท, 42, 189 (กันยายน-ตุลาคม 2557): 7-10.

อรทัย มูลคำ และคณะ. การบูรณาการหลักสูตรและการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: ที.พี.พริ้นท์, 2558.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31

How to Cite

ซาเสน จ. ., สุวรรณกูฏ ร. ., & แซงบุญเรือง ว. . (2023). สภาพ ความต้องการจำเป็น และแนวทางพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 18(2), 1–10. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Pitchayatat/article/view/261174