การพัฒนาระบบติดตามการเรียนรู้การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ออนไลน์
คำสำคัญ:
การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ออนไลน์ , ระบบติดตามการเรียนรู้บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาระบบติดตามการเรียนรู้การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ออนไลน์ และประเมินความพึงพอใจการใช้งานระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาระบบประกอบด้วย โปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ PHP HTML และ JavaScript ระบบฐานข้อมูลใช้ MySQL การพัฒนาระบบประกอบด้วย 4 โมดูล ประกอบด้วย โมดูลเขียนโปรแกรมออนไลน์ โมดูลให้ความช่วยเหลือ โมดูลประเมินผลการเขียนโปรแกรม และโมดูลรายงานการใช้งานระบบ เครื่องมือที่ใช้ประเมินความพึงพอใจการใช้งานระบบ คือ แบบสอบถามความพึงพอใจผู้ใช้งานระบบติดตามการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ตัวอย่าง ได้แก่ อาจารย์ผู้สอน จำนวน 5 คน และ นักศึกษาจำนวน 56 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิตและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ได้ผลการประเมินความพึงใจของผู้ใช้ระบบในระดับความพึงพอใจมาก (= 4.43, S = 0.43) แสดงว่าระบบที่พัฒนาขึ้นสามารถใช้ในการในการเรียนการสอนการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์แบบออนไลน์ได้ดี
References
วรการ ใจดี และนพณัฐ วรรณภีร์. “การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการสำเร็จการศึกษาตามแผนของนักศึกษา ระดับปริญญาตรี
โดยใช้เทคนิคการคัดเลือกคุณลักษณะบนชุดข้อมูลที่ไม่สมดุล,” สารสนเทศศาสตรและเทคโนโลยี. 10, 1 (2564): 75-84.
ศูนย์จัดการเรียนรู้การวิจัย. มาตรวัดของลิเคอร์ท (Likert scale). (ออนไลน์) 2559. (อ้างเมื่อ 15 ตุลาคม 2562). จาก http:// rlc.nrct.go.th/ewt_dl.php?nid=1239
สุชัญญา เยื้องกลาง. การพัฒนาระบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานโดยใช้เกมิฟิเคชั่นเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการ แก้ปัญหาและทักษะการเชื่อมโยงคณิตศาสตร์สู่ชีวิตจริงระดับประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2560.
Jeff, T. Software Quality Engineering. New Jersey: Wiley & Sons, 2005.
Stair, Ralph M. and George W. Raynolds. Principles of Information Systems Twelfth Edition. Boston: Cengage Learning, 2014.
Zinovyeva, Irina el al. (2021). “The use of online coding platforms as additional distance tools in programming education,” Journal of Physics: Conference Series. 1840. 012029. 10.1088/1742-6596/1840/1/012029.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกอย่างน้อย 2 คน ความคิดเห็นในวารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนมิใช่ความคิดเห็นของผู้จัดทำ จึงมิใช่ ความรับผิดชอบของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี และบทความในวารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี สงวนสิทธิ์ตามกฎหมายไทย การจะนำไปเผยแพร่ต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากกองบรรณาธิการ