ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมความปลอดภัยในโรงเรียน สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนขยายโอกาส (ขนาดกลาง) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1
คำสำคัญ:
โปรแกรมส่งเสริมความปลอดภัย , ความปลอดภัยในโรงเรียนบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมความปลอดภัยในโรงเรียน ใช้รูปแบบการดำเนินการวิจัยกึ่งทดลอง ตัวอย่างคือ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 1 อุบลราชธานี ซึ่งมีทั้งหมด 17 แห่ง จำนวนนักเรียน 142 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บรวมรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนก่อนและหลังจัดโปรแกรมส่งเสริมความปลอดภัยในโรงเรียนโดยใช้การทดสอบที สำหรับหัวข้อในการจัดทำโปรแกรมส่งเสริมความปลอดภัยได้จากการทบทวนผลการประเมินการปฏิบัติงานตามมาตรการประกันความปลอดภัยของนักเรียน ตามคู่มือแนวทางปฏิบัติและมาตรการรักษาความปลอดภัยของสถานศึกษา ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2556 ประจำปีการศึกษา 2563 ของโรงเรียนทั้ง 17 แห่ง จัดโปรแกรมส่งเสริมความปลอดภัย จำนวน 5 ครั้ง ใช้ระยะเวลา 12 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
ผลการวิจัยพบว่า
การจัดโปรแกรมส่งเสริมความปลอดภัยในโรงเรียนทำให้นักเรียนมีความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยผลต่างระหว่างความความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมความปลอดภัยก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมความปลอดภัยมีค่าความแตกต่าง เท่ากับ 4.37, 0.68, 1.05 คะแนน ตามลำดับ ผลการวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่าการจัดโปรแกรมส่งเสริมความปลอดภัยในโรงเรียนช่วยเพิ่มความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมความปลอดภัยของนักเรียนซึ่งเป็นแนวทางในการป้องกันสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุนำไปสู่การลดอุบัติเหตุของนักเรียนได้
References
เกรียงศักดิ์ บุญมา. “การพัฒนาหลักสูตรอบรมความปลอดภัยในการปฏิบัติงานในสถานประกอบการ เพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัติงานที่ปลอดภัยของนักศึกษาด้านช่างอุตสาหกรรม ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สถานศึกษาด้านอาชีวศึกษาในภาคตะวันออก. การศึกษาและการพัฒนาสังคม. 14, 2 (มกราคม-มิถุนายน 2562): 124-135.
กลุ่มสารนิเทศประชาสัมพันธ์ สพฉ. “สพฉ.เปิดสถิติ 10 อันดับการเจ็บป่วยฉุกเฉินในเด็ก,” จดหมายข่าวสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. (มกราคม 2560): 8.
กลุ่มสารสนเทศ สนผ. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). Education Management Information System: EMIS. (ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 2 กรกฏาคม 2563). จาก https://data.bopp-obec.info/emis/
จารุวรรณ ไตรทิพย์สมบัติ. “การติดตามผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์ใช้ทฤษแรงจูงใจป้องกันโรคร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อการควบคุมระดับความดันโลหิตในประชากรกลุ่มเสี่ยง,” ศรีนครินทร์เวชสาร. 33, 6 (พฤศจิกายน-ธันวาคม 2561): 543-550.
ยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, กอง. รายงานประชากรกลางปี. (ออนไลน์). 2557. (อ้างเมื่อ 25 มิถุนายน 2563) จาก: http://bps.moph.go.th/new_bps/
ยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, กอง. สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2557-2561. (ออนไลน์). 2562 (อ้างเมื่อ 25 มิถุนายน 2563) จาก: http://bps.moph.go.th/new_bps/สถิติสาธารณสุข
วิฑูรย์ สิมะโชคดี และคณะ. วิศวกรรมและการบริหารความปลอดภัยในโรงงาน. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย ญี่ปุ่น), 2553: 51-53.
ศรัณยา บุญประกอบ. การศึกษาการจัดบริการความปลอดภัยในโรงเรียนอนุบาลเอกชน เขตวัฒนากรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2549.
สุรางค์ โค้วตระกูล. จิตวิทยาการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 8 . กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552.
อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์. Child Accident รู้ทันอันตราย ก่อนภัยถึงตัวเด็ก. กรุงเทพฯ: ฐานการพิมพ์, 2550.
Bandura, A. D. Ross and S. A. Ross. “Transmission of aggression through the imitation of aggressive models,” Journal of Abnormal and Social Psychology. 63 (1961): 575-582.
Bloom, BS. Handbook on formation and Summative Evaluation of Student Learning. New York: McGraw-Hill, 1971.
Collins, Robert L., “Heinrich and Beyond,” Process Safety Progress. 30, 1 (January 2011): 2–5.
Heinrich, H.W. Industrial Accident Prevention (6 ed.). McGraw-Hill, New york, 1969.
House, J. S et al. “Measure and conceps of social suport.” Soc support and health. (1985): 83-108.
Wold Health Organization [WHO]. International and regional child safety oranization. (online) 25 June 2510. (cited 20 June 2020) Available from: www.who.int/violence_injury_prevention/child_injuries/organizations/en/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกอย่างน้อย 2 คน ความคิดเห็นในวารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนมิใช่ความคิดเห็นของผู้จัดทำ จึงมิใช่ ความรับผิดชอบของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี และบทความในวารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี สงวนสิทธิ์ตามกฎหมายไทย การจะนำไปเผยแพร่ต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากกองบรรณาธิการ