ปัจจัยที่ส่งผลต่อความบกพร่องด้านสมาธิสั้นของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ ในช่วงการเรียนรู้ยุควิถีชีวิตปกติใหม่

ผู้แต่ง

  • ฐิตวันต์ หงษ์กิตติยานนท์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
  • บุญเลี้ยง ทุมทอง คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

คำสำคัญ:

การรับรู้ความสามารถของตนเอง, ภาวะซึมเศร้า, ความเครียด, ความบกพร่องด้านสมาธิสั้น, ยุควิถีชีวิตปกติใหม่

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการรับรู้ความสามารถของตนเอง ภาวะซึมเศร้า ความเครียด และความบกพร่องด้านสมาธิสั้นของนักศึกษา เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อความบกพร่องด้านสมาธิสั้นของนักศึกษา และหาตัวแปรที่มีอำนาจทำนายความบกพร่องด้านสมาธิสั้นของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาจำนวน 447 คน โดยการสุ่มหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบคัดกรองโรคสมาธิสั้นมีค่าความเชื่อมั่น .97 แบบสอบถามประเมินการรับรู้ความสามารถของตนเองมีค่าความเชื่อมั่น .85 แบบสอบถามประเมินความเครียดมีค่าความเชื่อมั่น .91 และแบบสอบถามเพื่อคัดกรองโรคซึมเศร้ามีค่าความเชื่อมั่น .83 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์การถดถอยพหุคุณแบบขั้นตอน
       ผลการวิจัยพบว่า

  1. นักศึกษามีการรับรู้ความสามารถของตนเองเพื่อป้องกันภาวะซึมเศร้าและโรคเครียดอยู่ในระดับมาก มีระดับความเครียดและภาวะซึมเศร้าอยู่ในระดับน้อย และยังมีความบกพร่องด้านสมาธิสั้นในระดับน้อย
  2. ความบกพร่องด้านสมาธิสั้นของนักศึกษามีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะซึมเศร้า ภาวะความเครียดของนักศึกษา และพบว่า ตัวแปรภาวะซึมเศร้ากับภาวะความเครียดมีค่าสัมพันธ์ทางบวกระหว่างกันและกัน
  3. ตัวพยากรณ์ที่ดีในการพยากรณ์ความบกพร่องด้านสมาธิสั้นของนักศึกษาได้แก่ ภาวะซึมเศร้า โดยสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของความบกพร่องด้านสมาธิสั้นของนักศึกษาได้ร้อยละ 56.88 มีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในการพยากรณ์เท่ากับ 27.93

References

คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. บทวิเคราะห์แนวทางการจัดทำข้อเสนอทิศทางการเรียนรู้สำหรับเยาวชน. (ออนไลน์) 2561 (อ้างเมื่อ 30 เมษายน 2563). จากhttp://www.nso.go.th/sites/2017/Lists/Activity/Attachments/120/A24-05-60.pdf

ฐิตวันต์ หงษ์กิตติยานนท์. การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 2562.

วิลาสลักษณ์ ชัววัลลี. ผลของรางวัลภายนอกและการรับรู้ความสามารถของตนที่มีต่อแรงจูงใจภายในของนักเรียน. กรุงเทพฯ: รายงานการวิจัยฉบับที่ 81 สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร, 2547.

เลขาธิการสภาการศึกษา, สำนักงาน. สมรรถนะการศึกษาไทยในเวทีสากล ปี 2562 (IMD 2019). กรุงเทพฯ: บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด, 2563ก.

เลขาธิการสภาการศึกษา, สำนักงาน. รายงานการเรียนออนไลน์ยุคโควิด-19: วิกฤตหรือโอกาสการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ, 2563ข.

เลขาธิการสภาการศึกษา, สำนักงาน. รายงานวิจัยการพัฒนาการศึกษาไทยกับการเตรียมความพร้อมสู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2557.

Bandura, A. “Self-efficacy: Toward a unifying theory of behavioral change,” Psychological Review. 84, 1 (1997): 191-215.

Metcalfe, J. and W. Mischel. “A hot/cool-system analysis of delay of gratification: Dynamics of willpower,” Psychological Review. 106, 1 (1999): 3-19.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-18

How to Cite

หงษ์กิตติยานนท์ ฐ. ., & ทุมทอง บ. . (2021). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความบกพร่องด้านสมาธิสั้นของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ ในช่วงการเรียนรู้ยุควิถีชีวิตปกติใหม่. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 16(2), 75–86. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Pitchayatat/article/view/248541