ประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4
คำสำคัญ:
ประสิทธิภาพ, การบริหารงานวิชาการบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพ เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพ และศึกษาปัญหาและแนวทางในการบริหารงานวิชาการของของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้เป็นผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 343 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบปลายเปิด สถิติที่ใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีและการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
ผลการวิจัยพบว่า
- ประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา รองลงมา คือ ด้านการจัดเรียนการสอนในสถานศึกษา และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการนิเทศการศึกษา
- ผลการเปรียบเทียบประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4 โดยจำแนกตาม เพศ ตำแหน่ง ระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และขนาดของสถานศึกษา พบว่า โดยภาพรวม ทุกด้านไม่แตกต่างกัน
- ผลการศึกษาปัญหาและแนวทางในการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4 พบว่า ผู้บริหารและครูโดยส่วนมากเสนอปัญหาเกี่ยวกับ 1) ครูไม่ครบชั้นเรียน ทำให้การจัดครูเข้าสอนต้องให้ครูที่ไม่ถนัดมาสอนแทน ดังนั้นครูจึงสอนไม่ตรงวิชาเอก 2) โรงเรียนมีสื่อ และเทคโนโลยีที่ไม่ทันสมัย ไม่เพียงพอต่อความต้องการของนักเรียน และ 3) การนิเทศติดตามไม่เป็นระบบและขาดความต่อเนื่องในการนิเทศ และเสนอแนวทางในการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการเกี่ยวกับ (1) การจัดสรรบุคลากรให้ครบและตรงตามวิชาเอก เพื่อให้มีการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ (2) ให้มีการจัดหางบประมาณ จัดหาสื่อ และเทคโนโลยีที่ทันสมัยให้เพียงพอกับจำนวนนักเรียน และ (3) ผู้บริหารควรมีการวางแผนการนิเทศติดตามให้เป็นระบบและมีความต่อเนื่อง
References
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4, สำนักงาน. แผนปฏิบัติการประจำปี. ศรีสะเกษ: สำนักงานฯ, 2563.
จันทรานี สงวนนาม. ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: บุ๊คพอยท์, 2553.
เจริญพงศ์ คงทน. ประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 2558.
ญตินันท์ แก้วงาม. การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 2556.
ธีรพงษ์ สำเร. ประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มโรงเรียนมิตรภาพ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 2553.
นรินทร์ แสนแก้ว. ประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนระดับประถมศึกษาในเขตอำเภอปลาปาก
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศึกษานครพนม เขต 1. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหาร การศึกษา มหาวิทยาลัยนครพนม, 2554.
ปรีชา โล่ชัย. การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายะลา เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 2552.
พงษ์ไท วานิชพงษ์พันธุ์. ประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรังสิต, 2556.
มุสลิม หะยีสามะ. ประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนในฝัน อำเภอบันนังสตา สำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา, 2555.
วัชราภรณ์ วิจารณ์. การบริหารงานวิชาการในโรงเรียนเอกชนที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 2550.
ศึกษาธิการ, กระทรวง. คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การค้ารับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ), 2546.
อับดุลรอแม ตอเละ. ประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในสถานศึกษาอำเภอกรง ปินัง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายะลา เขต 1 ตามทัศนะของครู. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2550.
Krejcie, R. V. and D. W. Morgan. Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 1970.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกอย่างน้อย 2 คน ความคิดเห็นในวารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนมิใช่ความคิดเห็นของผู้จัดทำ จึงมิใช่ ความรับผิดชอบของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี และบทความในวารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี สงวนสิทธิ์ตามกฎหมายไทย การจะนำไปเผยแพร่ต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากกองบรรณาธิการ