แรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรภายในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ
คำสำคัญ:
แรงจูงใจ, ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรภายในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ และ 2) ศึกษาแรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรภายในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรภายในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 276 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ คือ สถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน การวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ โดยใช้วิธี Enter และวิธี Stepwise
ผลการวิจัยพบว่า
1. แรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรภายในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมาก
ไปหาน้อย ได้แก่ ด้านความสำเร็จของงาน ด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติ ด้านสถานะของอาชีพ ด้านความรับผิดชอบ
ด้านความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน ด้านความมั่นคงในงาน ด้านสภาพการทำงาน
ด้านนโยบายและการบริหาร ด้านการปกครองบังคับบัญชา ด้านสวัสดิการ ด้านการยอมรับนับถือ ด้านความก้าวหน้า
ด้านโอกาสที่จะได้รับความก้าวหน้าในอนาคต ด้านความเป็นอยู่ส่วนตัว และด้านเงินเดือน ตามลำดับ
2. ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า แรงจูงใจด้านความสำเร็จของงาน ด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติ ด้านนโยบายและการบริหาร ด้านความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน ด้านความมั่นคงในงาน และด้านสภาพการทำงาน ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน และสามารถร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรภายในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ ได้ร้อยละ 63 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
References
เกศณรินทร์ งามเลิศ. แรงจูงใจที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน และลูกจ้าง องค์การคลังสินค้า. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2559.
ขวัญชีวา พันธ์ภูโต. ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารกสิกรไทยในเขตจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด, 2560.
ณัฐวัตร เป็งวันปลูก. ปัจจัยจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน ของข้าราชการทหารประจำสังกัดกองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 7. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, 2560.
ปวีณรัตน์ สิงหภิวัฒน์. แรงจูงใจที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดลำปาง. ลำปาง: มหาวิทยาลัยเนชั่น, 2557.
เพ็ญรุ่ง แก้วทอง. แรงจูงใจกับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ธุรการศาลยุติธรรม:กรณีศึกษา ศาลอุทธรณ์ภาค 1. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกริก, 2559.
ศุภจิรา จันทร์อารักษ์. ความคิดเห็นของข้าราชการที่มีต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานในเทศบาลเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี. ชลบุรี: รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา, 2551.
ส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น, กรม. แบบประเมินประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (LPA) ประจำปี 2563. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย, 2563.
อนุจิตร ชิณสาร. นวัตกรรมการบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา, 2557.
Aibievi, S. Training as an Essential Tool for Increasing Productivity in Organization: Uniben in Focus. Nigeria: University of Benin, 2014.
Bawa, M. A. Employee Motivation and Productivity: A review of Literature and Implications for Management Practice. Delta State, Nigeria: Petroleum Training Institute, 2017.
Domjan, M. The Principles of Learning and Behavior. Belmont, CA: Thomson/Wadsworth, 1996.
Emerson, H. The twelve principles of efficiency. New York: The Engineering Magazine, 1913.
Herzberg, F. et al. The Motivation to work. New York: John Wiley and Sons, 1959.
Kinicki, A. and Brian Williams. Management a Practical Introduction. New York: McGraw-Hill, 2006.
Loudon, D. L. and Albert Bitta. Consumer Behaviour: Concept and Applications. 3rded. New York: McGraw Hill, 1988.
Vroom, V. H. Management and Motivation. Baltimore: Penguin, 1964.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกอย่างน้อย 2 คน ความคิดเห็นในวารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนมิใช่ความคิดเห็นของผู้จัดทำ จึงมิใช่ ความรับผิดชอบของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี และบทความในวารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี สงวนสิทธิ์ตามกฎหมายไทย การจะนำไปเผยแพร่ต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากกองบรรณาธิการ