แนวทางการพัฒนาการบริหารโครงการธนาคารโรงเรียนที่มีประสิทธิผล

ผู้แต่ง

  • สุนทร ตั๋นสกุล ธนาคารออมสิน สาขามาบอำมฤต อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร 86210
  • อรุณ จุติผล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • สมาน อัศวภูมิ คณะคุรุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

แนวทางการพัฒนา, โครงการธนาคารโรงเรียน, ประสิทธิผล

บทคัดย่อ

        การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสร้างแนวทางการพัฒนาการบริหารโครงการธนาคารโรงเรียนที่มีประสิทธิผล แบ่งวิธีดำเนินการวิจัยออกเป็น 3 ตอน คือ 1) ศึกษาข้อมูลและลักษณะการบริหารโครงการธนาคารโรงเรียน 2) วิเคราะห์และสร้างแนวทางการพัฒนาการบริหารโครงการธนาคารโรงเรียนที่มีประสิทธิผล และ 3) ประเมินแนวทางการพัฒนาการบริหารโครงการธนาคารโรงเรียนที่มีประสิทธิผล ตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารธนาคาร พนักงานธนาคาร ครู และคณะกรรมการโครงการธนาคารโรงเรียน ในภาคใต้ฝั่งอันดามัน จำนวน 390 ตัวอย่าง โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

    ผลการวิจัยพบว่า

  1. ลักษณะการบริหารโครงการธนาคารโรงเรียน จะประกอบด้วยผู้ที่เกี่ยวข้องหลัก 5 ส่วนคือ ผู้บริหารธนาคาร พนักงานธนาคาร ผู้บริหารสถานศึกษา ครูที่ปรึกษา และนักเรียนที่เป็นคณะกรรมการธนาคารโรงเรียน ปัจจัยแห่งความสำเร็จคือ การบริหารแบบมีส่วนร่วม การบริหารเชิงระบบ การบูรณาการศาสตร์พระราชาเกี่ยวกับการออม
  2. ผลการวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาการบริหารโครงการธนาคารโรงเรียนที่มีประสิทธิผล ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก แนวทางการพัฒนาหลักที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดไปน้อยที่สุดคือ 1) ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการบริหารธนาคารโรงเรียน 2) การบริหารจัดการโครงการธนาคารโรงเรียนที่ดี 3) การมีแนวปฏิบัติที่ดีร่วมกัน 4) การบูรณาการกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 5) นโยบายการส่งเสริมการออมทรัพย์ที่ชัดเจน 6) ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน 7) เทคโนโลยี และ8) การสื่อสารภายในโรงเรียนที่ดี
  3. ผลการประเมิน โดยผู้ทรงคุณวุฒิ/ผู้เชี่ยวชาญ สรุปได้ว่าแนวทางการพัฒนาการบริหารโครงการธนาคารโรงเรียนที่มีประสิทธิผล มีความเหมาะสม เป็นไปได้ สอดคล้องและเป็นประโยชน์

References

กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์. เทคโนโลยีการศึกษาวิชาชีพ. กรุงเทพฯ: สินทรีการพิมพ์. 2552.

ศึกษาธิการ, กระทรวง. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ครั้งที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์, 2550.

ธนาคารออมสิน. วันออมแห่งชาติ 2560 ธนาคารออมสิน (Online) 2560 (18 มิถุนายน 2560). Available: http://www.gsb.co.th/

ธีระ รุญเจริญ. รูปแบบและองค์ประกอบของรูปแบบ. เอกสารประกอบการบรรยายรายวิชาสัมมนาการบริหารการศึกษา. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 2550.

ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม. ออมสินเพื่อปวงชน. กรุงเทพฯ: พิมพ์ไทย, 2557.

อภิวัฒน์ บุญนิธิภัทร. แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศในการจัดกิจกรรมธนาคารโรงเรียนบ้านท่าอุเทน อำเภอท่าอุเทนจังหวัดนครพนม. (Online) 2557 (10 กรกฎาคม 2557). Available: http://btu.thauthen.com/

อิงฟ้า เขมะวิชานุรัตน์. “องค์ประกอบความสำเร็จของโครงการธนาคารโรงเรียน ธนาคารออมสิน,” วารสารสมาคมนักวิจัย. 21, 2 (พฤษภาคม – สิงหาคม 2559): 32-47.

เอกชัย กี่สุขพันธ์. การบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล. (Online) 2559 (26 มกราคม 2559). Available: http://www.trueplookpanya.com/knowledge/content//

Balzarova, M.A.. “Key Success Factors in Implementation of process-based Management,” Business Process Management Journal. 10, 4 (2004): 387–399.

Cohen and Uphoff. Rural Development Participation: Concept and Measures for Project DesignImplementation and Evaluation. Rural Development Committee Center for International Studies, Cornell University, 1981.

Elloitt William and Sondra Bevery. School-Based Bank Savings Programs: Bringing Financial Education to Students. Community Affairs Department: Office of the Comptroller of the Currency. Washington. DC 20219, 2017.

Hoy,W.K, and C.G.Miskel. Educational Administration: Theory, Research, and Practice. (9th ed.) New York: McGraw-Hill, 2013.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-08

How to Cite

ตั๋นสกุล ส. ., จุติผล อ. ., & อัศวภูมิ ส. (2020). แนวทางการพัฒนาการบริหารโครงการธนาคารโรงเรียนที่มีประสิทธิผล. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 15(3), 219–231. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Pitchayatat/article/view/245995