รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการส่งเสริมสุขภาพภาคประชาชนเชิงรุก ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

ผู้แต่ง

  • วีณาพร สำอางศรี ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา
  • ปรีชา สามัคคี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • ไกรเดช ไกรสกุล คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะ, การส่งเสริมสุขภาพภาคประชาชนเชิงรุก, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

บทคัดย่อ

         การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์และข้อมูลพื้นฐาน ด้านการส่งเสริมสุขภาพภาคประชาชนเชิงรุกของ อสม. 2) พัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการส่งเสริมสุขภาพภาคประชาชนเชิงรุกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และ 3) ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะฯ เป็นการวิจัยผสมผสานวิธีเชิงปริมาณและคุณภาพ ตัวอย่างได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน อสม.ที่เป็นตัวอย่างสำหรับทดลอง 15 คน และตัวอย่างสำหรับใช้รูปแบบ 20 คน โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่แบบสังเคราะห์เอกสาร แบบสอบถาม คู่มือการใช้รูปแบบ แบบทดสอบก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรม สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย

ผลการวิจัยพบว่า้อยละ

  1. สถานการณ์และข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพภาคประชาชนเชิงรุกของ อสม.พบว่าเป็นการดำเนินงานตามกรอบในการดำเนินงานของกระทรวงสาธารณสุข อสม.ส่วนใหญ่ต้องการได้รับการพัฒนาความรู้ “อย่างเข้าถึงที่สุด” ได้ลงมือปฏิบัติให้มากกว่าที่ทำอยู่ รู้เท่าทันเหตุการณ์  มีการพัฒนากระบวนการทำงาน  มีการทำงานเป็นทีมแบบเครือข่ายและมีการสร้างการมีส่วนร่วมด้วยการประชุมทบทวนกันต่อเนื่อง
  2. รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการส่งเสริมสุขภาพภาคประชาชนเชิงรุกของ อสม.เป็นรูปแบบกระบวนการอบรมปฏิบัติการ ประกอบด้วย 1) หลักการและเหตุผล 2) จุดมุ่งหมายในการพัฒนา 3) กรอบแนวคิดของรูปแบบ 4) เนื้อหาสาระ 5) ขั้นตอน กิจกรรม  6) สื่อประกอบการจัดกิจกรรม  และ 7) การประเมินผล และมีผลการทดลองพบว่ากลุ่มทดลองมีคะแนนก่อนเข้าร่วมกิจกรรมตามรูปแบบมีคะแนนเฉลี่ย 16.61 และหลังเข้าร่วมกิจกรรม มีคะแนนเฉลี่ย 18.54
  3. ประสิทธิผลของรูปแบบ พบว่า กลุ่มใช้จริงมีคะแนนการทดสอบก่อนเข้าร่วมกิจกรรมของรูปแบบมีคะแนนเฉลี่ย 15.57 และหลังเข้าร่วมกิจกรรมมีคะแนนเฉลี่ย 18.04 และมีคะแนนการประเมินสมรรถนะด้านการจัดทำแผน ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดและมีความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบอยู่ในระดับมาก

References

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข.การอบรมฟื้นฟูความรู้ อสม.ปีพุทธศักราช 2553. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย,2553.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข.คู่มือ อสม.ยุคใหม่. กรุงเทพ: โรงพิมพ์ ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, 2554.

โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์และคณะ.อาสาสมัครสาธารณสุข จิตอาสากับสุขภาวะไทย. กรุงเทพฯ: บริษัท มีดี กราฟฟิค, 2552.

คมสันต์ ธงชัยและสุชาดามณี บุญจรัส. “การปรับตัวของอาสาสมัครสาธารณสุขภายใต้บริบทการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่กึ่งเมืองกึ่งชนบทบ้านท่าบ่อ ตำบลแจระแม จังหวัดอุบลราชธานี,” วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่. 9, 3 (พฤษภาคม-มิถุนายน 2560): 206-220.

ณพสร สวัสดิบุญญา และคณะ. “รูปแบบการฝึกอบรมหัวหน้าแผนกวิชาเพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานในการจัดการเรียนการสอน,” วารสารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 21 (กุมภาพันธ์ 2554): 387-395.

ธนานันต์ ดียิ่ง.โปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานด้านการวัดและประเมินผลในชั้นเรียน. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2556.

มณลดา ศุขอร่าม. แนวทางการพัฒนาการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายทางสังคมเพื่อเพิ่มศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557.

ยุพิน หงษ์วะชินและคณะ. “การพัฒนาสมรรถนะของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการดำเนินงานสุขภาพจิตในชุมชน,” วารสารพยาบาลตำรวจ. 5, 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2556): 61-78.

อมร นนทสุต.แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์: เส้นทางสู่ความสำเร็จการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคของ รพ.สต..กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก, 2553.

อัจฉรา หล่อตระกูล. การพัฒนาสมรรถนะพนักงานมหาวิทยาลัยของรัฐ. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, 2557.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-08

How to Cite

สำอางศรี ว. . ., สามัคคี ป. ., & ไกรสกุล ไ. . (2020). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการส่งเสริมสุขภาพภาคประชาชนเชิงรุก ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 15(3), 187–198. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Pitchayatat/article/view/245992