กลยุทธ์การส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนสองภาษา ในภาคใต้ฝั่งอันดามัน

ผู้แต่ง

  • ชลธิชา แก้วรักษ์ ร.ร.อำมาตย์พานิชนุกูล อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ 81000
  • อรุณ จุติผล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • สมาน อัศวภูมิ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

กลยุทธ์, สมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู, โรงเรียนสองภาษา

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกลยุทธ์การส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนสองภาษาในภาคใต้ฝั่งอันดามัน แบ่งขั้นตอนในการวิจัยออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษากลยุทธ์การส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนสองภาษา จากโรงเรียนที่มีโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษหรือโรงเรียนสองภาษา ได้แก่ ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ ผู้ดูแลโครงการ English Program และครูผู้สอนโครงการ English Program โดยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 6 โรงเรียน รวมทั้งสิ้น 24 คน 2) สร้างเนื้อหากลยุทธ์ เก็บข้อมูลจากผู้ทรงคุณวุฒิทางการบริหารการศึกษา จำนวน 12 คน 3) สร้างกลยุทธ์ ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการหัวหน้าโครงการ English Program และครูผู้สอนโครงการ English Program ของโรงเรียนสองภาษาภาคใต้ฝั่งอันดามัน จำนวน 104 คน จาก 26 โรงเรียน ที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง และ 4) ตรวจสอบและประเมินกลยุทธ์ ตัวอย่างได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ/ผู้เชี่ยวชาญ ด้านการบริหารการศึกษาทั้งองค์การจากหน่วยงานภาครัฐและหรือเอกชน จำนวน 5 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ/ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งเป็นผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนสองภาษา จำนวน 2 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบประเมินกลยุทธ์ โดยจัดการสัมมนาอิงผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อพิจารณาในด้านความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ด้านความสอดคล้อง และความเป็นประโยชน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการสังเคราะห์เนื้อหา 

                ผลการวิจัยพบว่า

  1. ผลการสร้างกลยุทธ์การส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนสองภาษา พบว่า กลยุทธ์การส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนสองภาษา ประกอบด้วย 9 กลยุทธ์ ดังนี้ 1) การพัฒนานักเรียนให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ 2) การพัฒนาหลักสูตรและการสอน Thailand 4.0 3) ภาวะผู้นำของผู้บริหาร 4) การบริหารจัดการโดยใช้เครือข่ายการมีส่วนร่วม 5) การบริหารเชิงระบบเพื่อออกแบบการจัดการเรียนรู้ 6) การจัดโครงสร้างการบริหาร 7) การพัฒนาครูในศตวรรษที่ 21 8) การใช้สื่อเทคโนโลยีในการสอน และ 9) การกระตุ้นให้นักเรียนเกิดการพึ่งพาตนเอง
  2. ผลการตรวจสอบและประเมินกลยุทธ์การส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนสองภาษา โดยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ มีความสอดคล้อง และมีความเป็นประโยชน์ ทุกกลยุทธ์

References

กล้าศักดิ์ จิตต์สงวน. รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์สำหรับผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา.(ออนไลน์)
2555 (อ้างเมื่อ 20 เมษายน 2562). จาก http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36159

กัญญาพัชร พงษ์ดี. “กลยุทธ์การบริหารแบบมีส่วนร่วมของไตรภาคีในการยกระดับคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนพื้นที่สูงภาคเหนือตอนบน,”วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
10, 1 (มกราคม–มิถุนายน 2559): 162-179.

คณะกรรมการข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา, สำนักงาน. หลักเกณฑ์และวิธีการพัฒนาข้าราชการครูให้มีหรือเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษและเชี่ยวชาญ. กรุงเทพฯ: ปัญญามหาชน, 2549.
ณรงค์วิทย์ แสนทอง. MULTI-FLEX STRUCTURE : กลยุทธ์การจัดโครงสร้างองค์กรยุคใหม่. (ออนไลน์) 2545 (อ้างเมื่อ 20 เมษายน 2562). จาก https://www.hrcenter.co.th/file/columns/hr_f_20170512_103635.pdf

ธนนท์ วีรธนนท์. “การพัฒนาระบบองค์การเพื่อความมีประสิทธิผลของศูนย์การศึกษาพิเศษสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ,”วารสารฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 10, 2 (พฤษภาคม – สิงหาคม 2560): 878–895.

ธีระ รุญเจริญ. รูปแบบและองค์ประกอบของรูปแบบ. เอกสารประกอบการบรรยายรายวิชาสัมมนาการบริหารการศึกษา. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี, 2550.

นภดล เลือดนักรบ. “ICT: เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง,” วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์. 9, 1 (มกราคม - มิถุนายน 2560): 70-80.

พิมพ์พธู สุตานันต์. “กลยุทธ์การบริหารหลักสูตรแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมทักษะการดำรงชีวิตในศตวรรษที่21 สำหรับ
สถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น,” “วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ,” 13, 1 (มกราคม – มิถุนายน 2561): 141-161.

แพรวนภา เรียงริลา. “การจัดการเรียนการสอนเพื่อการพึ่งพาตนเอง: กรณีศึกษาโรงเรียนสัมมาสิกขาปฐมอโศก,” วิทยาสารกําแพงแสน. 7, 3 (2552). 28-42.

วิจารณ์ พานิช. การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสยามกัมมาจล, 2556.เลขาธิการสภาการศึกษา, สำนักงาน.สมรรถนะครูและแนวทางการพัฒนาครูในสังคมที่เปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ: พริกหวาน
กราฟฟิค, 2555.

ศึกษาธิการ, กระทรวง. การพัฒนาสมรรถนะของครูเพื่อให้ตอบสนองกับการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของกระทรวงศึกษาธิการ. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ: องค์การค้า คุรุสภา, 2553.

สุกัญญา แช่มช้อย. การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. พิษณุโลก: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2561.

สุทธิวรรณ ตันติรจนาวงศ์. “ทิศทางการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21,” Veridian E-Journal Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 10, 2 (พฤษภาคม – สิงหาคม 2560): 2843 –
2854.

สุรพล พิมพ์สอน. “กลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41,” วารสารครุศาสตร์. 42, 3 (กรกฎาคม-กันยายน 2557): 56-73.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-07

How to Cite

แก้วรักษ์ ช. ., จุติผล อ. ., & อัศวภูมิ ส. . (2020). กลยุทธ์การส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนสองภาษา ในภาคใต้ฝั่งอันดามัน . วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 15(3), 61–71. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Pitchayatat/article/view/245968