การพัฒนาอภิปัญญาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง การเจริญเติบโตและการตอบสนองของพืช สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

ผู้แต่ง

  • ศศิธร เยื่อใย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ธิติยา บงกชเพชร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ปราณี นางงาม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน, อภิปัญญา, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาวิธีการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาอภิปัญญาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่องการเจริญเติบโตและการตอบสนองของพืช โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน กลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียนจำนวน 41 คนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่
1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) ใบกิจกรรม 3) แบบประเมินตนเอง 4) แบบทดสอบเพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ และ 5) แบบสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา  

ผลการวิจัยพบว่า

การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาอภิปัญญาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ควรมีลักษณะดังนี้ ขั้นที่ 1 ครูนำเสนอสถานการณ์ปัญหา ขั้นที่ 2 นักเรียนระบุประเด็นสำคัญและประเด็นที่สงสัย ขั้นที่ 3 การระดมสมองเพื่อระบุเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง แนวทางการแก้ปัญหาที่เป็นไปได้ และเลือกวิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุดพร้อมอธิบายเหตุผล ขั้นที่ 4 การระบุประเด็นที่ทราบและประเด็นที่ต้องสืบค้น ขั้นที่ 5 การระบุวิธีการรวบรวมข้อมูลและวางแผนเพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหา ขั้นที่ 6 การสืบค้นข้อมูลและการติดตามการเรียนรู้ของตนเอง และขั้นที่ 7 การฝึกฝนการอภิปราย อภิปรายเพื่อหาข้อสรุป อธิบายขั้นตอนการดำเนินงาน ประเมินผลการดำเนินงานและวิธีการเรียนรู้ของตนเอง รวมถึงระบุผลการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น ผลการพัฒนาอภิปัญญาพบว่าหลังการจัดการเรียนรู้นักเรียนมีอภิปัญญาเพิ่มขึ้นทุกองค์ประกอบโดยมีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนและหลังเรียนเท่ากับ 3.64 และ 4.22 ตามลำดับ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์พบว่านักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้นโดยมีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนและหลังเรียนเท่ากับ 10.51 และ 13.34 ตามลำดับ

คำสำคัญ: การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน อภิปัญญา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์

References

ทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ, สถาบัน. รายงานประจำปี 2560. (ออนไลน์) 2560 (อ้างเมื่อ 6 ตุลาคม 2561). จาก http://www.niets.or.th/th/catalog/view/431

ธนาวุฒิ ลาตวงษ์ และคณะ. “ผลการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบ5Aที่มีต่ออภิปัญญาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3,” วารสารวิชาการ Veridian E-Journal บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. 9, 2 (กรกฎาคม 2559): 269-286.

บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น, 2545.

พาสนา จุลรัตน์. “เมตาคอกนิชันกับการเรียนรู้,” วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์. 14, 1 (มกราคม 2558): 1-17.

พิสณุ ฟองศรี. การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวิจัย. กรุงเทพฯ: บริษัท ด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด, 2554.

ภัทรลักษณ์ สังข์วงษ์. การพัฒนาความคิดอภิปัญญาโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญาเรื่องวิวัฒนาการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2556.

ศรัลยา วงเอี่ยม และคณะ. “การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์วิชาชีววิทยาเรื่องสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้
โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน,” วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 18, 2 (มิถุนายน 2559): 194-201.

ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, สถาบัน. การแก้ปัญหาแบบร่วมมือบทสรุปสำหรับผู้บริหาร. (ออนไลน์) 2561 (อ้างเมื่อ 6 ตุลาคม 2561). จาก https://library.ipst.ac.th/handle/ipst/6138

ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, สถาบัน. การวัดผลประเมินผลวิทยาศาสตร์. กรุงเทพ: ซีเอ็ดยูเคชัน, 2555.

ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, สถาบัน. รายงานผลการวิจัยโครงการTIMSS 2015. (ออนไลน์) 2558 (อ้างเมื่อ 6 ตุลาคม 2561). จาก http://timssthailand.ipst.ac.th/timss/reports

Alex Q. and Eleanor S. Metacognition and Self-regulated learning. (Online) 2018 (Cited 2018 Oct 08). Available from: https://educationendowmentfoundation.org.uk/tools/guidance reports/metacognition-and-self-regulated-learning/

Barrett, T. A New Model of Problem-based learning: Inspiring Concepts, Practice Strategies and Case Studies from Higher Education. Maynooth: AISHE, 2017.

Demore, W. Know Thyself: Using Student Self-Assessment to Increase Student Learning Outcomes. Masters of Natural Science in Middle Level Mathematics University of Wyoming, 2017.

DiDonato, N. C. “Effective self- and co-regulation in collaborative learning groups: An analysis of how students regulate problem solving of authentic interdisciplinary tasks,” Instructional Science. 41, 1 (2012): 25-47.

Downing, K. et al. “Problem-based-learning and the development of metacognition,” Higher Education. 57, 5 (May 2009): 609-621.

Greene, J. A. et al. “Fostering high-school students' self-regulated learning online and across academic domains,” The High School Journal. 99, 1 (Fall 2015): 88-106.

Haryani, S., Wijayati, N., and Kurniawan, C. “Improvement of metacognitive skills and students’ reasoning ability through problem-based learning,” In: Prof. Dr. Sutikno, S.T., M.T., editor Journal of Physics: Conference Series. ICMSE2018; 18-19 September 2017; Semarang, Central Java, Indonesia, 2018. pp. 1-5.

Husamah, H. “Blended project-based learning: Metacognitive awareness of biology education new students,” Journal of Education and Learning. 9, 4 (November 2015): 274-281.

KKathy D. The Importance of Student Self-Assessment. (Online) 2015 (Cited 2018 Nov. 8). vailable from: https://www.nwea.org/blog/2015/page5

Loyens, S. M., Jones, S. H., Mikkers, J., and Van Gog, T. “Problem-based learning as a facilitator of conceptual change,” Learning and Instruction. 38 (August 2015): 34-42.

Piramanayagam, M.M. and Kasirajan, V. “Impact of decision making ability on academic achievement of higher secondary school students,” GJRA. 6, 7 (July 2018): 27-28.

Schraw, G., and Dennison, R. S. “Assessing metacognitive awareness,” Contemporary educational psychology. 19, 4 (October 1994): 460-475.

Tanner, K. D. “Promoting Student Metacognition,” CBE Life Sci Educ. 11, 2 (June 2012): 113-120.

Velzen, J. V. Metacognitive Knowledge: Development, Application, and Improvement. Charlotte, NC: IAP., 2017

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-26

How to Cite

เยื่อใย ศ. . ., บงกชเพชร ธ. ., & นางงาม ป. . . (2020). การพัฒนาอภิปัญญาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง การเจริญเติบโตและการตอบสนองของพืช สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 15(2), 149–158. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Pitchayatat/article/view/244332