การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงวัฏจักรธุรกิจกับ ราคาอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงวัฏจักรธุรกิจกับราคาอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย ซึ่งทำการศึกษาในสถานะเศรษฐกิจขยายตัว และสถานะเศรษฐกิจตกต่ำ ข้อมูลที่ใช้เป็นข้อมูลอนุกรมเวลารายเดือน ได้แก่ ข้อมูลราคาอสังหาริมทรัพย์ ผลิตภัณฑ์มวลรอบในประเทศ และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ตั้งแต่เดือนมกราคม ปี พ.ศ. 2552 ถึงเดือนธันวาคม ปี พ.ศ. 2561 รวมทั้งหมด 127 ค่าสังเกต โดยใช้แบบจำลองมาร์คอฟ-สวิตชิง เวกเตอร์ออโตรีเกรสซีพ
ผลการศึกษาพบว่า
- สถานะเศรษฐกิจขยายตัว อัตราดอกเบี้ยเงินกู้มีผลต่อราคาอสังหาริมทรัพย์ในทิศทางเดียวกัน แต่ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศมีผลต่อราคาอสังหาริมทรัพย์ในทิศทางตรงข้าม ในทางกลับกันราคาอสังหาริมทรัพย์มีผลต่ออัตราดอกเบี้ยเงินกู้และผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศในทิศทางเดียวกัน
- สถานะเศรษฐกิจตกต่ำพบว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศส่งผลต่อราคาอสังหาริมทรัพย์ในทิศทางเดียวกัน แต่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ส่งผลต่อราคาอสังหาริมทรัพย์ในทิศทางตรงข้าม ในทางกลับกันราคาอสังหาริมทรัพย์ส่งผลต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศในทิศทางตรงกันข้ามแต่ส่งผลอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในทิศทางเดียวกัน
คำสำคัญ: วัฏจักรธุรกิจ ราคาอสังหาริมทรัพย์ มาร์คอฟสวิชชิง
References
ชัยวุฒิ ชัยพันธุ์. หลักและทฤษฎีเศรษฐศาสตร์พื้นฐาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547.
วันรักษ์ มิ่งมณีนาคิน. หลักเศรษฐศาสตร์มหภาค. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไทยวัฒนพานิช จำกัด, 2543.
เลี่ยนถิง เซิง. ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่มีผลต่อราคาอสังหาริมทรัพย์ในเขตเมืองในสาธารณรัฐประชาชนจีน. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2555.
อนงค์นภางค์ ชื่นจิตต์. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีราคาอสังหาริมทรัพย์และปัจจัยที่สำคัญทางเศรษฐกิจตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 ถึงปี พ.ศ. 2555. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2556.
Asli Yuksel. “The relationship between stock and real estate prices in Turkey:Evidence around the global financial crisis,” Central Bank Review. 16 (2016): 33-40.
Bojan Gruma, Darja Kobe Govekar. “Influence of Macroeconomic Factors on Prices of Real Estate invarious Cultural Environments: Case of Slovenia, Greece, France,Poland and Norway,” Procedia Economics and Finance. 39 (2016): 597–604.
Carlos A. Yépez. “Financial intermediation and real estate prices impact on business cycles: A Bayesian analysis,” North American Journal of Economics and Finance. 45 (2018): 138–160.
Ellis, Dennies F. and valentine. Lloyd. Business Cycle and Forecast. Ohio: U.S.A.South-Ewstem Publishing Co, 1991.
Qing He, Fangge Liu, Zongxin Qian, Terence Tai Leung Chong. “Housing prices and business cycle in China: A DSGE analysis,” International Review of Economics and Finance, 52 (2017): 246–256.
Rosen Azad Chowdhury, Duncan Maclennan. “Regional house price cycles in the UK, 1978-2012: a Markov switching VAR,” Journal of European Real Estate Research. 7, 3 (2014): 345-366.
Vasilios Plakandaras, Rangan Gupta, Constantinos Katrakilidis, Mark E. Wohar. Time-varying role of macroeconomic shocks on house prices in the US and UK: evidence from over 150 years of data. (online) 23 October 2018 (cited 12 January 2019). Available https://link.springer.com/article/10.1007%2Fs00181-018-1581-x
Yanbing Zhang, Xiuping Hua, Liang Zhao. “Exploring determinants of housing prices: A case study of Chinese experience in 1999–2010,” Economic Modelling. 29 (2012): 2349–2361.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกอย่างน้อย 2 คน ความคิดเห็นในวารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนมิใช่ความคิดเห็นของผู้จัดทำ จึงมิใช่ ความรับผิดชอบของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี และบทความในวารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี สงวนสิทธิ์ตามกฎหมายไทย การจะนำไปเผยแพร่ต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากกองบรรณาธิการ